google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

Topic วันนี้ “ ลงพื้นที่ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อตามพื้นที่เสี่ยงต่างๆในตำบลท่าอิฐ ”

Topic วันนี้ “ ลงพื้นที่ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อตามพื้นที่เสี่ยงต่างๆในตำบลท่าอิฐ ”

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565
เวลา 10.00 น. นายปรีดา เชื้อผู้ดี (ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี/นายก อบต.ท่าอิฐ) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ทีมฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ อบต.ท่าอิฐ และเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ท่าอิฐ ลงพื้นที่ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อตามพื้นที่เสี่ยงต่างๆในตำบลท่าอิฐ ดังนี้
– บริเวณชุมชนวากัฟ หมู่ 6 และหมู่ 9 ตำบลท่าอิฐ

– บริเวณหมู่ 6 ตำบลท่าอิฐ
-บริเวณหมู่ 10 ตำบลท่าอิฐ
– บริเวณหมู่ 3 ตำบลท่าอิฐ
– บริเวณหมู่บ้านพลอย หมู่ 9 ตำบลท่าอิฐ
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามนโยบายของนายปรีดา เชื้อผู้ดี ไม่ทอดทิ้งประชาชน ณ ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Topic วันนี้ “ เตรียมความพร้อมเปิดศูนย์พักคอย อบต.ท่าอิฐ (Community Isolation) พร้อมซ้อมการรับผู้ป่วยเข้าศูนย์

Topic วันนี้ “ เตรียมความพร้อมเปิดศูนย์พักคอย อบต.ท่าอิฐ (Community Isolation) พร้อมซ้อมการรับผู้ป่วยเข้าศูนย์


วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565
เวลา 09.30 น. นายปรีดา เชื้อผู้ดี (ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี/นายก อบต.ท่าอิฐ) พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ อบต.ท่าอิฐ เตรียมความพร้อมเปิดศูนย์พักคอย อบต.ท่าอิฐ (Community Isolation)

พร้อมซ้อมการรับผู้ป่วยเข้าศูนย์ เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีความประสงค์แยกตัวออกจากชุมชนระหว่างรอเข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาล ณ ศูนย์พักคอย องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ (Community Isolation) ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ร่วมถวายภัตตาหารเพล และสิ่งของพระราชทาน แด่พระภิกษุ สามเณร ในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครั้งหลัง ประจำปี 2565

“ร่วมถวายภัตตาหารเพล และสิ่งของพระราชทาน แด่พระภิกษุ สามเณร ในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครั้งหลัง ประจำปี 2565”

วันที่ 28 ก.พ. 65 เวลา 1000 สัสดีจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้แทน ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 และจัดกำลังพลจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมถวายภัตตาหารเพล และสิ่งของพระราชทาน แด่พระภิกษุ สามเณร ณ วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบูรณ์

โดยมี รองผู้ว่าจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นประธานในพิธี
ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันดารแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID)-19 อย่างเคร่งครัด

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 ร่วม จิตอาสา 904 หลักสูตรพื้นฐาน ภาค 3 รุ่น 1/65 หน่วยงานในจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมพิธีถวายภัตตาหารเพล และสิ่งของพระราชทานแด่พระภิกษุ สามเณร ในการทดสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครึ่งหลัง ประจำปี พ.ศ. 2565

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 ร่วม จิตอาสา 904 หลักสูตรพื้นฐาน ภาค 3 รุ่น 1/65 หน่วยงานในจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมพิธีถวายภัตตาหารเพล และสิ่งของพระราชทานแด่พระภิกษุ สามเณร ในการทดสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครึ่งหลัง ประจำปี พ.ศ. 2565

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานมณฑลทหารบกที่ 31, จิตอาสา 904 หลักสูตรพื้นฐาน ภาค 3 รุ่น 1/65, ส่วนราชการ, หน่วยงาน , จิตอาสา 904 กองบิน 4 , จิตอาสา 904 ตำรวจภูธรภาค 6 และประชาชนจิตอาสา ร่วมพิธีถวายภัตตาหารเพล และสิ่งของพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ถวายภัตตาหารเพล

และสิ่งของพระราชทานแด่พระภิกษุ สามเณร ในการทดสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครึ่งหลัง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 26 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 ณ วัดนครสวรรค์ (พรอารามหลวง) อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นาง พรเพชร เขมวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธาน

ทั้งนี้ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขและปฎิบัติตามมาตรการสาธารณสุข D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด

ราชเลขานุการในพระองค์ฯ ติดตามความก้าวหน้าคลองแม่ข่า

ราชเลขานุการในพระองค์ฯ ติดตามความก้าวหน้าคลองแม่ข่า

ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และคณะ ประชุมติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการจัดการที่อยู่อาศัยและการปรับภูมิทัศน์ริมสองฝั่งคลอง

พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะ ประชุมติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ และลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการจัดการที่อยู่อาศัยชุมชนบริเวณร่องกระแจะ (ด้านหลังวัดโลกโมฬี) การปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณสะพานแม่ข่า รัตนโกสินทร์ การเตรียมพื้นที่ที่อยู่อาศัย บริเวณโรงฆ่าสัตว์ เทศบาลนครเชียงใหม่ และการปรับภูมิทัศน์ ถนนระแกงถึงประตูก้อม โดยมีนายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยส่วนราชการ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมชี้แจงและลงพื้นที่รายงานผลการปฏิบัติงาน ที่หอประชุมเตชะตุงคะ กองบิน 41 อำเภอเมืองเชียงใหม่

โดยในปี 2565 จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการดำเนินงานใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้วยการขุดลอกเพื่อเปิดทางน้ำ และกำจัดวัชพืชตลอดคลองแม่ข่า มีโครงการปรับระดับคลองแม่ข่าใต้สะพานทางหลวงหมายเลข 11 (หน้าโรงพยาบาลลานนา) ถึงประตูน้ำเซนต์ปีเตอร์ พร้อมขุดลอก และโครงการระบบผันน้ำจากคลองซอย 18 ฝั่งซ้าย ถึงคลองสายใหญ่เข้าแจ่งหัวรินและคลองแม่ข่า ความยาว 2,394 เมตร 2.ด้านการจัดการน้ำเสีย ดำเนินการขุดลอกตะกอนดินบริเวณคลองดาดคอนกรีต จุดชุมชนอุ่นอารีย์ ถึงสะพานช้างม่อย ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียสองฝั่งคลองแม่ข่าพร้อมปรับภูมิทัศน์ ระยะที่ 1 ตั้งแต่ถนนระแกง ถึงประตูก้อม ดำเนินการแล้ว 84 % และเทศบาลนครเชียงใหม่กำลังดำเนินโครงการก่อสร้างท่อรับน้ำเสียคลองแม่ข่า สะพานอัษฎาธร

3.ด้านการปรับปรุงภูมิทัศน์ ได้จัดทำฝายชะลอน้ำ บริเวณคลองแม่ข่า ถนนรัตนโกสินทร์ เพื่อดักตะกอนและเติมอากาศ พร้อมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำลำเหมืองร่องกระแจะ และ 4. ด้านการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึก ได้สร้างการรับรู้และให้ประชาชน รวมทั้งนักศึกษาเข้ามีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมรณรงค์และลงพื้นที่ศึกษาฐานเรียนรู้ต่าง ๆ ในคลองแม่ข่า สร้างจิตสำนึกและทำให้คลองแม่ข่ามีความสวยงามตลอดทั้งปี

ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการบูรณาการการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า โดยการน้อมนำหลักการตามโครงการจิตอาสาพระราชทาน “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาปัญหาคลองแม่ข่า อันเป็นวาระสำคัญอย่างยิ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้มาตรการเร่งด่วน Quick Win 3 ประเด็นคือ การจัดการให้มีน้ำต้นทุนไหลในคลองแม่ข่า การศึกษาและออกแบบระบบบำบัดและรวบรวมน้ำเสียเพิ่มเติม และการปรับปรุงสภาพคลองและภูมิทัศน์ตลอดแนว รวมทั้งการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยของชุมชนที่รุกล้ำลำน้ำ โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการตามแผนแม่บทคลองแม่ข่า และได้จัดทำแผนปฏิบัติการ หรือ ไทม์ไลน์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการกำกับ ติดตาม และขับเคลื่อนการทำงานให้มีความต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

จิตอาสามณฑลทหารบกที่ 32 พร้อมหน่วยงานป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ ร่วมกิจกรรมวันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า สวนรุกขชาติ อุทยานเขลางค์บรรพต

จิตอาสามณฑลทหารบกที่ 32 พร้อมหน่วยงานป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ ร่วมกิจกรรมวันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า สวนรุกขชาติ อุทยานเขลางค์บรรพต

พลตรี อโณทัย ชัยมงคล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32/ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานมณฑลทหารบกที่ 32 มอบหมายให้ วิทยากรจิตอาสา 904 พร้อมด้วยกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน มณฑลทหารบกที่ 32 ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดลำปาง, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลำปาง, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง, หน่วยงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ในพื้นที่จังหวัดลำปาง, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง, สถานีตำรวจเขลางค์นคร,

ชุดปฏิบัติการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน มณฑลทหารบกที่ 32 และเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกิจกรรมวันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า โดยร่วมกันทำแนวกันไฟ และบริหารจัดการเชื้อเพลิง และสร้างความตระหนักรู้ ร่วมกันปฎิบัติตามมาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันของจังหวัดลำปาง โดยมีนาย นฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง เป็นประธาน ณ สวนรุกขชาติ อุทยานเขลางค์บรรพต ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ทหารพราน 36 ตอบแทนสังคม เตรียมปรับปรุงสร้างบ้านหลังใหม่ให้ผู้ยากไร้

ทหารพราน 36 ตอบแทนสังคม เตรียมปรับปรุงสร้างบ้านหลังใหม่ให้ผู้ยากไร้

หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 ตอบแทนสังคมต่อเนื่องผ่าน ปรับปรุงซ่อมแซมสร้างบ้านให้ผู้ยากไร้ พร้อมดูแลคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของ ประชาชนอันมีส่วนมาจากการมีที่อยู่ที่มั่นคง ปลอดภัย และแข็งแรง ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ของประชาชนทั่วไป ถือเป็นหนึ่งในแนวคิดการร่วมดูแล และช่วยเหลือสังคมที่

หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดกำลังพลออกช่วยเหลือดำเนินการรื้อถอนบ้านพักอาศัยหลังเก่าสภาพทรุดโทรม ให้กับ นายสัญญา สิยานันท์ ราษฎรบ้านเลขที่ 247 หมู่ที่ 3 ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่ปลอดภัยต่อการดำรงชีวิต และเพื่อเป็นการเตรียมการสร้างบ้านหลังใหม่ในห้วงต่อไป

กองทัพภาคที่ 3 มณฑลทหารบกที่ 39 ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 3 ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เดินหน้าต่อเนื่อง เร่งดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “จิตอาสา”

กองทัพภาคที่ 3 มณฑลทหารบกที่ 39 ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 3 ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เดินหน้าต่อเนื่อง เร่งดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “จิตอาสา” ตามโครงการปลูกป่า เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จังหวัดพิษณุโลก

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 พลตรี นพดล รอดกลาง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 39 /ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานมณฑลทหารบกที่ 39 มอบหมายให้ พันเอก สุวัฒน์ เฉลิมเกียรติ เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 39/เลขานุการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานมณฑลทหารบกที่ 39 เป็นผู้แทน แม่ทัพภาคที่ 3 / ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 3 พร้อมด้วย พันเอก ธนะพันธ์ ขำทวี นายทหารประสานงาน ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 3/ จิตอาสา 904 ร่วมพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “จิตอาสา” ตามโครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ริเวอร์ไซด์ (Grand Riverside Hotel) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายจงคล้าย วรพงศธร รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน มี นายโกเมศ พุทธสอน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) กล่าวรายงาน และ มี นายธีรัชสิทธิ์ วงศ์วาน ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย กองทัพภาคที่ 3 ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 3 มณฑลทหารบกที่ 39 กองพลทหารราบที่ 4 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 พันเอก สมใจ คิดเกื้อการุญ รองผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 3 , พันเอก สุนทร กำลังมาก ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 4 , พันโท อรรณพ กระต่ายทอง นายทหารยุทธการและการข่าว หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 34 , นาวาอากาศเอก ชัชวาล คุณเจริญ รองผู้บังคับการกองบิน 46, พันตำรวจเอก ธีรเดช แจ่มแจ้ง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก พลตำรวจตรี อิทธิพล สุวรรณวัฒนะ รองผู้บัญชาการตำรวจภาค 6 นายจีระศักดิ์ บุตรด้วง ผู้แทนหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก นายณรงค์พันธ์ แจ่มจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสาธารณภัย ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 9 จังหวัดพิษณุโลก, หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐในท้องที่จังหวัดพิษณุโลก และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดฯ ด้วย รวมทั้งสิ้นจำนวน 100 คน

ด้าน นายจงคล้าย วรพงศธร รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้จัดทำ “โครงการปลูกป่า เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า”

โดยมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ป่าพรุ และที่ดินของรัฐประเภทอื่น รวมถึงการฝึกอบรม “จิตอาสา” ในครั้งนี้เพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร “ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงในหลายมิติ ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดไฟป่าเกิดจากการกระทำและฝีมือของมนุษย์ทั้งสิ้น ทำให้พื้นที่ป่าเกิดความเสียหาย เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าที่ถูกทำลาย การรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร รวมทั้งการแก้ไขปัญหาไฟป่าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ได้มอบในการประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่ายจิตอาสา ขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่เป็นกลไกสำคัญระดับพื้นที่ที่สามารถจะช่วยสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ผลักดันนโยบายสำคัญ และแก้ไขปัญหาไฟป่าได้” นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือจังหวัด หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก นำองค์ความรู้ของหลักสูตรนี้ ไปถ่ายทอดเป็นหลักสูตรระดับชุมชนของแต่ละหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปอีกด้วย

สำหรับโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “จิตอาสา” ตามโครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า จังหวัดพิษณุโลก มีผู้เข้าร่วมอบรบประกอบด้วย ปลัดอำเภอ เกษตรอำเภอ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลตำบล เจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก กองทัพภาคที่ 3 มณฑลทหารบกที่ 39 กองพลทหารราบที่ 4 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 กองพลพัฒนาที่ 3 กรมรบพิเศษที่ 4 หน่วยทหารพัฒนาการเคลื่อนที่ 34 กองบิน 46 ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก และจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งสิ้นจำนวน 100 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2565 นับเป็นจังหวัดที่ 15 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการที่จะร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และร่วมกันแก้ไขปัญหาไฟป่าได้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ โดยมีเป้าหมายจะดำเนินการต่อเนื่องให้ครบทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศในปี 2570

กมธ.พัฒนาสังคมฯ ติดตามการดูแลให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จ.เชียงราย

กมธ.พัฒนาสังคมฯ ติดตามการดูแลให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จ.เชียงราย

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดเชียงราย คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา นำโดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการ เดินทางไปติดตามการดำเนินงานด้านการดูแลให้ความช่วยเหลือ และคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมทั้งแนวทางในการเตรียมการเพื่อดูแลผู้เสียหายที่มีความหลากหลายทางเพศ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน โดยมีนางสาวพรนภา สำรีราษฎร์ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดเชียงราย และคณะ ให้การต้อนรับ

.
ปัจจุบันสถานคุ้มครองฯ มีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่อยู่ในการคุ้มครองเป็นชาวโรฮีนจา จำนวน 2 ราย และได้มีการเตรียมการในการดูแลกลุ่มความหลากหลายทางเพศ อาทิ การศึกษาข้อมูล การสร้างองค์ความรู้และเจตคติแก่ผู้ปฏิบัติงาน การประเมินความพร้อมด้านอาคารสถานที่ และการขยายความร่วมมือกับเครือข่าย โดยคณะกรรมาธิการได้เสนอให้สถานคุ้มครองฯ พิจารณาศึกษาถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานให้กับผู้ปฏิบัติงานรุ่นหลังต่อไป
.
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ จะนำข้อมูลที่ได้รับไปพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการฯ ต่อไป

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

ชาวแพร่ 3 ตำบล เดือดหนัก “ยันไม่เอา” ยื่นหนังสือค้านการขยายสนามบินแพร่ หวั่นส่งผลกระทบชุมชน “จี้พ่อเมือง” หยุดเวนคืนที่ดิน ย้ายสนามบินออกนอกเมือง

ข่าว/แพร่
ชาวแพร่ 3 ตำบล เดือดหนัก “ยันไม่เอา” ยื่นหนังสือค้านการขยายสนามบินแพร่ หวั่นส่งผลกระทบชุมชน “จี้พ่อเมือง” หยุดเวนคืนที่ดิน ย้ายสนามบินออกนอกเมือง

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดแพร่ มีตัวแทนจากชาวบ้านใน 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากการขยายสนามบินแพร่ รอบใหม่ ส่งตัวแทนจำนวน 10 คน เข้าถือป้ายประท้วงการขยายสนามบินแพร่ มีข้อความว่า ชาวบ้าน 6 หมู่บ้านไม่ต้องการให้สร้างสนามบิน กลุ่มตัวแทนชาวบ้านนำโดย นายสมาน ผูกพัน แกนนำชาวบ้านตำบลเหมืองหม้อ นายประยูร การเก่ง แกนนำตำบลนาจักร และนางสุรัสวดี โฮเซอร์ แกนนำชาวบ้านในตำบลทุ่งกวาว ยื่นหนังสือคัดค้านการสร้างสนามบินแพร่ต่อนายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ โดยมี นายจุมพล จึงสมเจตไพศาล ผอ.ท่าอากาศยานแพร่
, ทสจ.แพร่ พร้อมทั้งยื่นต่อผู้บริหารท้องถิ่นในพื้นที่ทุกแห่งประกอบด้วย เทศบาลตำบลทุ่งกวาว องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองหม้อ องค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร ด้วย

ทั้งนี้ทางนายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ร่วมประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับแทน ซึ่ง นายจุมพล จึงสมเจตไพศาล ผอ.ท่าอากาศยานแพร่ เป็นผู้รับหนังร้องเรียนแทน

ทาง นายสัมฤทธิ์ ปุรณรัตน์ ชาวบ้านสะบู กล่าวว่า ในอดีตเคยมีการสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมอยู่แล้วที่อำเภอร้องกวาง ฯ เพราะสนามบินสร้างมลภาวะหลายด้าน ชาวบ้านไม่ได้คิดจะคัดค้าน แต่ต้องการให้ไปสร้างที่ที่เหมาะสม ในเมืองต่างๆ ของภาคเหนือสร้างสนามบินห่างชุมชนออกไปทั้งนั้น การสร้างสนามบินเกิดมลภาวะกับชุมชนอย่างมาก ไม่คุ้มค่า สนามบินจะทำให้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ที่ผ่านมาเคยขยายมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ชาวบ้านก็มิได้รับการอำนวยความสะดวกเท่าที่ควร 17 รายยังเป็นหนี้เป็นสินมาจนทุกวันนี้ ครั้งนี้จะมีโครงการขยายอีกครั้งส่งผลกระทบกับชุมชน และพื้นที่ทำกินชาวบ้านคงยอมไม่ได้

นายสมาน ผูกพัน แกนนำชาวบ้านตำบลเหมืองหม้อ กล่าวว่า ชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน 122 ครัวเรือน ได้รับความเดือดร้อน จากการขยายสนามบินออกไป 960 เมตร เมื่อ 12 ปีที่แล้วมีการเวนคืนไปก่อนแล้ว 17 ครัวเรือนทั้งหมดต้องใช้ชีวิตอย่างลำบากเป็นหนี้เป็นสินในการหาที่อยู่ ไม่มีการแบ่งเบาภาระจากทางราชการค่าเวนคืนราคาต่ำจนหาที่อยู่ใหม่ไม่ได้

การมายื่นหนังสือครั้งนี้ ต้องการให้ระงับการขยายสนามบินแพร่ไปเลย แล้วไปสร้างในที่ไม่มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างที่จังหวัดแพร่และหอการค้าจังหวัดแพร่เคยสำรวจไว้ที่เหมาะสมที่สุดคือที่อำเภอร้องกวาง นายสมานกล่าว

นางฐิติพร บรรเลง ช่างเย็บผ้าในบ้านสะบู กล่าวว่า ตนได้รับผลกระทบจากการเวนคืนครั้งที่แล้วเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา ได้ค่าชดเชยออกจากบ้านและที่ดินเดิมเพื่อทำสนามบิน ที่ดินราคาไร่ละ 3 ล้านบาท ได้เงินเวนคืนไม่ถึง 1 ล้าน พอดีมีที่ดินอยู่ 3 งานติดรั้วสนามบิน จึงได้ใช้เงินที่ได้มาสร้างบ้านและเลี้ยงตัวเองกว่าจะได้อาชีพใหม่ ทางการไม่เคยช่วยเหลืออะไรเลย มาครั้งนี้โดนอีกแล้วผ่ากลางบ้าน จะไปหาที่ดินที่ไหนอยู่อีกถ้าการเวนคืนได้เงินตามที่กฎหมายกำหนดแต่ไม่พอจัดหาที่ดินและสร้างบ้านใหม่ พร้อมทั้งสาธรณูปโภคก็ไม่มี ครั้งนี้คงไม่ยอมแล้ว

สนามบินแพร่ เป็นสนามบินขนาดเล็กมีการขยายเพิ่มช่องทางวิ่งมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอทำให้เครื่องบินบริษัทต่างๆ มาลงไม่ได้ มีเพียง “นกแอร์”เท่านั้นที่ยังมีเครื่องบินขนาดเล็กที่ยังลงสนามบินแพร่อยู่ แต่ถ้านกแอร์ไม่บิน ก็จะไม่มีเครื่องบินบริษัทใดลงสนามบินแพร่ได้เลย จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องเร่งผลักดันสร้างสนามบินแห่งใหม่
นายจุมพล จึงสมเจตไพศาล ผอ.ท่าอากาศยานแพร่ กล่าวว่า การสร้างสนามบินแห่งใหม่อาจเป็นปัญหาใหญ่ด้านงบประมาณ ทางจังหวัดแพร่จึงเลือกที่จะขยายสนามบินเดิม เพื่อให้เปิดการคมนาคมทางอากาศได้ต่อไป ซึ่งแนวทางการขยายสนามบินแพร่ ยังอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นประชาชนอยู่ ซึ่งยังมีเวลาพอที่จะทำการปรับแก้สร้างความเข้าใจร่วมกันเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดต่อไป

ภาพ/ข่าว
ญาณัจฉรา โชติถนอมกิจแพร่…รายงาน

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com