สตูล เลิกอาชีพชาวประมง หันปลูกพริกพันธุ์เหลืองอินโด ออกผลผลิตขายดีในเนื้อที่ 3 งานเก็บส่งขายรายได้งาม หลักหมื่น

สตูล เลิกอาชีพชาวประมง หันปลูกพริกพันธุ์เหลืองอินโด ออกผลผลิตขายดีในเนื้อที่ 3 งานเก็บส่งขายรายได้งาม หลักหมื่น

วันที่ 29 มีนาคม 2566 สภาพอากาศที่ร้อนในช่วงนี้ แต่เป็นช่วงที่สวนพริกที่ปลูกริมชายทะเลที่มีชาวประมง หันมาทำสวนพริก และกำลังออกผลผลิตเม็ดดกใหญ่ และเป็นที่ต้องการของกลุ่มลูกค้าในตลาดสดและในตลาดต่างจังหวัดที่มาสั่งซื้อ วันนี้ไปดูสวนพริกสายพันธุ์อินโดของนายปรีชา จิรพงษ์ อายุ 67 ปี อดีตที่เคยทำชาวประมงพื้นบ้าน และหันมาที่ทำการเกษตรมา โดยเฉพาะ หันมาปลูกพริกสด สายพันธุ์อินเดีย มากว่า 15 ปี โดยทำการเกษตรอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

นายปรีชา จิรพงษ์ อายุ 67 ปี ได้กล่าวว่า เมื่อ 15 ปี ก่อนตนเองเป็นเกษตรกรรายแรกในพื้นที่ที่ปลูกพริก เนื่องจากขณะนั้นตนเองมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือปาล์มน้ำมัน ในระหว่างรอระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันจึงมีแนวคิดว่าควรมีรายได้เสริมทำให้คิดว่าการปลูกพริกสามารถสร้างรายได้สัปดาห์ ให้กับครอบครัวได้เนื่องจากพริกสามารถให้ผลผลิตเร็วตลาดมีความต้องการในปริมาณมาก และที่สำคัญมีเกษตรกรน้อย หลายรายที่ปลูกส่งผลให้ผลผลิตมีราคาสูง อีกทั้งพื้นที่ของตนเองนั้นมีความเหมาะสมค่อนข้างสูงและการจัดการไม่ยากทำให้การยึดการปลูกพริกมาตลอด โดยทางตลาดในพื้นที่และต่างจังหวัดเป็นที่ต้องการ

สำหรับเนื้อที่ปลูก 3 งานจำนวน 1,200 ต้นสายพันธุ์พริกที่ปลูกพันธุ์เหลืองอินโด เป็นที่นิยมของตลาดเนื่องจากมีเม็ดยาวน้ำหนักดีและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว 65-70 วันปลูกพริกปลายเดือนตุลาคม 2565 และเริ่มเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม 2566 จนถึงปัจจุบัน ครั้งละ 90 ถึง 130 กิโลกรัมส่วนการใช้แรงงาน ถือว่าเป็นคนในครอบครัวช่วยกัน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้จนถึงเดือนกรกฎาคมและสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ต่อเดือน เกือบ 100,000 บาท โดยปัจจุบันนี้พริกยัง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ ได้สัปดาห์ละ 50 กิโลกรัมกิโลกรัมละ 180 บาทถึง 190 บาท สำหรับสภาพพื้นที่ ชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตั้งอยู่ในตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูลมีพื้นที่ทั้งหมด 795.10 ไร่ ในชุมชนมีอาชีพหลักคือประมงพื้นบ้านกิจกรรมตามฤดูกาล เช่นอวนปลาทรายใส่หมึกใส่ปูม้าตกปลาเลี้ยงปลาในกระชังหอยเผ่าส่วนพื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่ เกษตรกรนิยมปลูกพืชไร่ เช่นมะพร้าวป่ามะพร้าว เนื่องจากสภาพเป็นดินทรายและอยู่บริเวณชายทะเลประกอบกับพื้นที่ ที่มีปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตรทำให้ในพื้นที่บ้านบ่อ 7 ลูก

ส่วนชาวประมงที่หันมาปลูกพริกเสริม เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเป็นพื้นที่ดี ติดริมเขา และไม่ไกลมากนัก ติดทะเล ดินทรายผสมดินทั่วไป จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ดินมีแร่ธาตุดี ทำให้พริกปลูกขึ้นง่าย ดก เม็ดใหญ่ โดยใช้อวนปูและไม้ไผ่แบ่งเป็นๆล๊อกๆๆและใช้ถุงพลาสติกคลุมใต้ต้นพริก และที่สำคัญเป็นผลผลิตที่ตลาดต้องการเป็นนอย่างมาก

นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดสตูล

ชาวเบตงปลูกผักลอยฟ้าปลอดสารพิษบนดาดฟ้าใช้พื้นที่รอบบ้านเกิดประโยชน์

ชาวบ้านใน อ.เบตง จ.ยะลา ใช้พื้นที่ดาดฟ้าปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน เหลือส่งขาย และเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านในชุมชนใช้พื้นที่ว่างของบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ

เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 66 ที่บ้านเลขที่ 205/3 ถนนรัตนกิจ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นบ้านของ นางอารีย์ แซ่หลี ที่ใช้พื้นที่รอบบ้านและดาดฟ้าชั้น 3 เป็นพื้นที่ปลูกผักสวนครัวหลายชนิด ทั้ง กะหล่ำ มะเขือเทศ ผักกาด ผักโขมจีน และต้นหม่อน รวมทั้ง ผักเคล ปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง และที่เหลือยังส่งขาย จนกลายเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการปลูกผักให้กับชาวบ้านอีกหลายครอบครัวในชุมชนรัตนกิจ ที่หันมาปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ บริเวณบ้านตัวเอง ไว้รับประทานเองที่เหลือส่งขายสร้างรายได้เสริม

นางอารีย์ แซ่หลี บอกว่า ตนเป็นประธานชุมชนรัตนกิจและได้เข้ารับการอบรมการใช้ปุ๋ยหมัก ได้ความรู้มาแล้วและก็นำมาบอกชาวบ้านในชุมชนรัตนกิจและชาวบ้านทั่วไปที่มาขอคำแนะนำในการปลูกผัก ทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีความรู้เรื่องปลูกผักนานาชนิด และตนเองก็ไปเป็นพี่เลี้ยงให้ชาวบ้านในชุมชน ที่เริ่มต้นปลูก ตอนนี้หลายๆ ครอบครัวหันมาปลูกผักปลอดสารพิษกันมากขึ้น หวังว่าในอนาคตคนในชุมชนรัตนกิจ จะเป็นชุมชนที่ปลูกผักปลอดสารพิษกันทั้งชุมชน

นางอารีย์ แซ่หลี บอกอีกว่า อาชีพหลักทำสวนยางพารา สวนผลไม้ เวลาว่างก็หันมาปลูกผักบนดาดฟ้าและพื้นที่ว่างปลูกผัก ได้แก่ ผักสลัด ผักเคล และยังทำต้นพันธุ์พริก และกะหล่ำปลีหัวใจจีน และที่เป็นไฮไลต์ของสวนผัก ก็คือการปลูกกะหล่ำปลีหัวใจจีน ในกระถาง โดยใช้ปุ๋ยผสมเองในการปลูก นำกระถางมาใส่ดินที่ผสมเรียบร้อยแล้ว จากนั้นนำ กะหล่ำปลีหัวใจจีนที่โตพอประมาณ นำมาปลูกลงในกระถาง จากนั้นก็ดูแลใส่ปุ๋ยหมัก ดูแลอย่าให้แมลงมากัดใบ ที่สวนผักของตนไม่ใช้สารเคมี แมลงก็จะใช้มือจับเอา เพราะมีพื้นที่ไม่มาก ซึ่งเหมาะกับคนที่มีพื้นที่จำกัดหรือมีพื้นที่น้อย และพบว่ากะหล่ำปลีหัวใจจีน ยังทนต่อโรค ให้ผลผลิตดี กะหล่ำปีหัวใจ มีลักษณะเป็นใบคล้ายกลีบดอกห่อหุ้มเป็นก้อนรูปกรวยหรือรูปหัวใจ กรุบและหวานในรสชาติ มากกว่ากะหล่ำปลีทั่วไป นำไปประกอบอาหารได้ตามต้องการ เช่น รับประทานสดหรือปรุงสุกในลักษณะเดียวกับกะหล่ำปลีทั่วไป ปลูก 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตมากินและขาย โดยขายกระถางละ 300 บาท

นางอารีย์ บอกเพิ่มเติมอีกว่า แนวคิดการปลูกผักเกิดจากปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปีและ แนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เป็นแนวคิดและนำมาใช้ในการใช้พื้นที่ว่าง บนดาดฟ้ามาทำสวนผัก

ส่วนรายได้หลังจากที่เก็บไว้กินเองก็ จะขายอย่างกะหล่ำปลีหัวใจจีน ถ้ากระถางใหญ่กระถางละ 300 บาท เพราะเป็นผักสดที่นี่ ไม่มีโรคและดูแลอย่างดี ให้น้ำ ใส่ปุ๋ยหมัก มีรายได้เฉลี่ยวันละ 300 บาท โดยผักสลัดขายขีดละ 25-30 บาท ต้นพันธุ์พริก และต้นพันธุ์มะเขือกระถางละ 50บาท ผักเคล กระถางใหญ่กระถางละ 100 บาท ขายอยู่ที่หน้าบ้านถนนรัตนกิจในเขตเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลาและส่งขายทางออนไลน์

นอกจากนี้ นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง พร้อมด้วย นางมุกดา ยังอภัย ณ สงขลา นายกกิ่งกาชาดอำเภอเบตง นายธงชัย เทพรอด ปลัดเทศบาลเมืองเบตง เกษตรอำเภอเบตง และสมาชิกกิ่งกาชาดอำเภอเบตง ได้มอบสติ๊กเกอร์”บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง”ให้กับ นางอารีย์ แซ่หลี ซึ่งเป็นครัวเรือนต้นแบบ ซึ่งเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนการดำเนินงานน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหารสู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวบนดาดฟ้าของบ้านพักอาศัย เนื่องจากอยู่ในเขตเมือง จึงได้ใช้พื้นที่บนดาดฟ้าปลูกพืชผัก

ตามโครงการ”บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ในลักษณะพออยู่ พอมี พอกิน มีเหลือ เผื่อขาย แลกเปลี่ยนในชุมชน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน โดยการนำเศษอาหารมาเทรวมลงไปในถังขยะเปียกเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักบำรุงดิน และบำรุงพืชผักสวนครัวบริเวณแปลงผัก รวมถึงทำปุ๋ยหมักอีกด้วย

ข่าว…เจษฎา สิริโยทัย อ.เบตง จ.ยะลา
โทร.064-126-5593

มุกดาหาร ประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดมุกดาหาร (ศอ. ปส.จ.มห.) ครั้งที่ 3/2566

มุกดาหาร ประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดมุกดาหาร (ศอ. ปส.จ.มห.) ครั้งที่ 3/2566

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมแก้วกินรี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธาน ประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดมุกดาหาร (ศอ. ปส.จ.มห.) ครั้งที่ 3/2566 ซึ่งที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดพ.ศ 2566 ประกอบไปด้วย 6 มาตรการ คือ
1. มาตรการด้านการป้องกัน โดยการจัดระเบียบสังคม การป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา สถานประกอบกิจการ โรงงาน การดำเนินการโครงการ To be number one และโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติ
2. มาตรการด้านการปราบปราม มีการจับกุมคดียาเสพติดในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ตั้งแต่ ตุลาคม 2566 – มีนาคม 2566 รวม 1,547 คดี ตามข้อร้องเรียน 25 คดี และผลการปิดล้องตรวจค้นใน 69 ชุมชน 71 แห่ง
3. มาตรการตรวจยึดทรัพย์ มูลค่ารวมกว่า 4,546,000 บาท
4. มาตรการด้านการบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติด ทั้ง 3 ระบบ คือ ระบบบำบัดรักษาฯ ในผู้ต้องโทษ 65 ราย ระบบบำบัดรักษาฯ ในกลุ่มที่สมัครใจในสถานพยาบาล 520 ราย และระบบติดตามดูแลผู้ผ่านการบำบัดรักษา 135 ราย
5. มาตรการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ในพื้นที่ 3 อำเภอ ติดบริเวณชายแดนไทย-ลาว คือ อ.เมืองฯ อ.ดอนตาล และ อ.หว้านใหญ่ ได้ดำเนินการไปแล้วพื้นที่ละ 1 ครั้ง และ
6. มาตรการด้านการบริหารจัดการ ในโครงการต่างๆ มีการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนฯ

ทั้งนี้ นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารได้สั่งการให้ นายอำเภอทุกอำเภอบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการบำบัดรักษาโดยมีกระบวนการทางชุมชนสังคมรวมทั้งท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทอย่างเข้มแข็งเพื่อเป็นตัวอย่างของผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ สำหรับประชาชนที่พบเห็นเบาะแส ข้อร้องเรียนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1567 ตลอด 24 ชม.

Cr.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร

จังหวัดบุรีรัมย์ เชิญเที่ยวชมงานประกวดผลผลิตทางการเกษตร ในงานกาชาดอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2566

เกษตรอำเภอบ้านกรวดร่วมกับพี่น้องเกษตรกรชาวอำเภอบ้านกรวด จัดประกวดผลผลิตทางการเกษตรงานเครื่องเคลือบพันปีประเพณีบ้านกรวดและงานกาชาด ประจำปี 2566 ในวันที่ 9 เมษายน 2566 ณ เต็นท์ สนง.เกษตรอำเภอบ้านกรวด
1.ประกวดมะพร้าวน้ำหอม
2.กล้วยน้ำว้าสุก

พบกับของรางวัลมูลค่าไม่มากมายแต่ทรงคุณค่าวัฒนธรรมทางการเกษตร ภายในงานพบการออกบูธสินค้าทางการเกษตรมากมายและสินค้าธงฟ้า ของดีราคาถูกอีกยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่

สญชัย คล้ายแก้ว/รายงาน

สุราษฎร์ธานี// อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นำคณะลงเกาะสมุย เยี่ยมศูนย์เรียนรู้ดารเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร .

รายงาน : พ.ท.อำนาจ ปาทะกาญจน์

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านหินลาด หมู่ที่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเศวต วิชัยดิษฐ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลอ่างทอง พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะสมุย และเครือข่าย

โดยทั้งหมดได้ร่วมต้อนรับ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและคณะ ในการเยี่ยมเยียนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านหินลาด หมู่ที่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

สุราษฎร์ธานี// อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นำคณะลงเกาะสมุย เยี่ยมศูนย์เรียนรู้ดารเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร .

รายงาน : พ.ท.อำนาจ ปาทะกาญจน์

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านหินลาด หมู่ที่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเศวต วิชัยดิษฐ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลอ่างทอง พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะสมุย และเครือข่าย

โดยทั้งหมดได้ร่วมต้อนรับ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและคณะ ในการเยี่ยมเยียนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านหินลาด หมู่ที่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

สุราษฎร์ธานี// อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นำคณะลงเกาะสมุย เยี่ยมศูนย์เรียนรู้ดารเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร .

รายงาน : พ.ท.อำนาจ ปาทะกาญจน์

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านหินลาด หมู่ที่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเศวต วิชัยดิษฐ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลอ่างทอง พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะสมุย และเครือข่าย

โดยทั้งหมดได้ร่วมต้อนรับ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและคณะ ในการเยี่ยมเยียนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านหินลาด หมู่ที่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

สุราษฎร์ธานี// มรส. ร่วมเทศบาลตำบลขุนทะเล แถลงข่าวนำผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น.

รายงาน : กนกรัตน์ ศรียาภัย

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่แหล่งเรียนรู้ประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์บึงขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดการขยะอินทรีย์ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับเทศบาลตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ นายทัพชนะ มะลิเผือก นายกเทศมนตรีตำบลขุนทะเล Mr. Renaud Meyer, Resident Representative, United Nations Development Programme (UNDP) (ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย) และคุณสายใจ มงคลเจริญ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุราษฎร์ธานี 1 ในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยหมัก ยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพ สร้างรายได้สู่ท้องถิ่น

โดยการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)” ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจาก คาร์กิล ประเทศไทย จำกัด และ ธนาคารออมสิน จนถึงปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในการดำเนินงานจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย โดยมี เป้าหมายหลักที่จะนำพามหาวิทยาลัยไปเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขยะเป็นศูนย์ “Zero Waste” และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และการจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายใน มหาวิทยาลัยฯ อย่างยั่งยืน ผ่านการฝึกอบรมบุคลากร กิจกรรม ขยะรีไซเคิลลุ้นโชค และก่อสร้างสถานีจัดการขยะอินทรีย์ ได้แก่ เครื่องผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตสารปรับปรุงดินจากมูลไส้เดือน เพื่อสร้างรายได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันการดำเนินงานสำเร็จไปได้ ส่วนหนึ่งและยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเทศบาลตำบลขุนทะเล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการจัดการขยะที่มาจากผักตบชวาในพื้นที่สวนสาธารณะบึงขุนทะเลที่มีปริมาณมากจนเกินไป ประกอบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้มีแนวทางการจัดการขยะ ด้วยการหมักปุ๋ยจากผักตบชวาในวงตาข่าย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินโครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อการตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ สามารถช่วยลดคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตพลังงานสะอาด และการสร้างศูนย์เรียนรู้สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งความร่วมมือกับองค์การปกครองในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการบริการวิชาการและร่วมกันบริหารจัดการขยะชุมชนแบบยั่งยืน

สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยเครื่องหมักแบบไร้อากาศแบบแห้งที่ทำงานต่อเนื่อง โดยเศษพืช ขยะอินทรีย์ และของเสียต่าง ๆ จะถูกนำมาเข้าเครื่อง ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพที่ได้จะส่งต่อไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอนให้กับหลักสูตรธุรกิจอาหาร คณะวิทยาการจัดการ และการต่อยอดในอนาคตด้วยการบรรจุก๊าซชีวภาพที่ได้ใส่ถังแก๊สเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งาน รวมถึงการรับขยะอินทรีย์ในพื้นที่เทศบาลตำบลขุนทะเลเพื่อส่งเสริมให้ทางครัวเรือนมีการคัดแยกขยะอินทรีย์และรวบรวมโดยเทศบาล ทำให้ปริมาณขยะในพื้นที่ลดลง ทั้งนี้ในโครงการดังกล่าวจะนำก๊าซชีวภาพ และปุ๋ยหมักที่ได้ไปใช้ประโยชน์ภายในมหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมพร้อมยังเป็นการช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยจะคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตต่อไป

ที่มา : สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สมยศ นุ่นจำนงค์ นภัทร ส้มแก้ว /ภาพ
เทพรวี ทวัเฉลิมดิษฐ์ /ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์

สุราษฎร์ธานี// มรส. ร่วมเทศบาลตำบลขุนทะเล แถลงข่าวนำผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น.

รายงาน : กนกรัตน์ ศรียาภัย

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่แหล่งเรียนรู้ประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์บึงขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดการขยะอินทรีย์ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับเทศบาลตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ นายทัพชนะ มะลิเผือก นายกเทศมนตรีตำบลขุนทะเล Mr. Renaud Meyer, Resident Representative, United Nations Development Programme (UNDP) (ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย) และคุณสายใจ มงคลเจริญ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุราษฎร์ธานี 1 ในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยหมัก ยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพ สร้างรายได้สู่ท้องถิ่น

โดยการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)” ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจาก คาร์กิล ประเทศไทย จำกัด และ ธนาคารออมสิน จนถึงปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในการดำเนินงานจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย โดยมี เป้าหมายหลักที่จะนำพามหาวิทยาลัยไปเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขยะเป็นศูนย์ “Zero Waste” และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และการจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายใน มหาวิทยาลัยฯ อย่างยั่งยืน ผ่านการฝึกอบรมบุคลากร กิจกรรม ขยะรีไซเคิลลุ้นโชค และก่อสร้างสถานีจัดการขยะอินทรีย์ ได้แก่ เครื่องผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตสารปรับปรุงดินจากมูลไส้เดือน เพื่อสร้างรายได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันการดำเนินงานสำเร็จไปได้ ส่วนหนึ่งและยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเทศบาลตำบลขุนทะเล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการจัดการขยะที่มาจากผักตบชวาในพื้นที่สวนสาธารณะบึงขุนทะเลที่มีปริมาณมากจนเกินไป ประกอบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้มีแนวทางการจัดการขยะ ด้วยการหมักปุ๋ยจากผักตบชวาในวงตาข่าย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินโครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อการตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ สามารถช่วยลดคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตพลังงานสะอาด และการสร้างศูนย์เรียนรู้สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งความร่วมมือกับองค์การปกครองในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการบริการวิชาการและร่วมกันบริหารจัดการขยะชุมชนแบบยั่งยืน

สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยเครื่องหมักแบบไร้อากาศแบบแห้งที่ทำงานต่อเนื่อง โดยเศษพืช ขยะอินทรีย์ และของเสียต่าง ๆ จะถูกนำมาเข้าเครื่อง ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพที่ได้จะส่งต่อไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอนให้กับหลักสูตรธุรกิจอาหาร คณะวิทยาการจัดการ และการต่อยอดในอนาคตด้วยการบรรจุก๊าซชีวภาพที่ได้ใส่ถังแก๊สเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งาน รวมถึงการรับขยะอินทรีย์ในพื้นที่เทศบาลตำบลขุนทะเลเพื่อส่งเสริมให้ทางครัวเรือนมีการคัดแยกขยะอินทรีย์และรวบรวมโดยเทศบาล ทำให้ปริมาณขยะในพื้นที่ลดลง ทั้งนี้ในโครงการดังกล่าวจะนำก๊าซชีวภาพ และปุ๋ยหมักที่ได้ไปใช้ประโยชน์ภายในมหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมพร้อมยังเป็นการช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยจะคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตต่อไป

ที่มา : สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สมยศ นุ่นจำนงค์ นภัทร ส้มแก้ว /ภาพ
เทพรวี ทวัเฉลิมดิษฐ์ /ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์

สุราษฎร์ธานี// มรส. ร่วมเทศบาลตำบลขุนทะเล แถลงข่าวนำผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพสร้างรายได้สู่ท้องถิ่น.

รายงาน : กนกรัตน์ ศรียาภัย

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่แหล่งเรียนรู้ประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์บึงขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มรส. มอบหมายให้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคม เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดการขยะอินทรีย์ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับเทศบาลตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ นายทัพชนะ มะลิเผือก นายกเทศมนตรีตำบลขุนทะเล Mr. Renaud Meyer, Resident Representative, United Nations Development Programme (UNDP) (ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย) และคุณสายใจ มงคลเจริญ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุราษฎร์ธานี 1 ในการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยหมัก ยกผักตบเพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยชีวภาพ สร้างรายได้สู่ท้องถิ่น

โดยการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)” ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจาก คาร์กิล ประเทศไทย จำกัด และ ธนาคารออมสิน จนถึงปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในการดำเนินงานจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย โดยมี เป้าหมายหลักที่จะนำพามหาวิทยาลัยไปเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขยะเป็นศูนย์ “Zero Waste” และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และการจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายใน มหาวิทยาลัยฯ อย่างยั่งยืน ผ่านการฝึกอบรมบุคลากร กิจกรรม ขยะรีไซเคิลลุ้นโชค และก่อสร้างสถานีจัดการขยะอินทรีย์ ได้แก่ เครื่องผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตสารปรับปรุงดินจากมูลไส้เดือน เพื่อสร้างรายได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันการดำเนินงานสำเร็จไปได้ ส่วนหนึ่งและยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเทศบาลตำบลขุนทะเล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการจัดการขยะที่มาจากผักตบชวาในพื้นที่สวนสาธารณะบึงขุนทะเลที่มีปริมาณมากจนเกินไป ประกอบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้มีแนวทางการจัดการขยะ ด้วยการหมักปุ๋ยจากผักตบชวาในวงตาข่าย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินโครงการการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อการตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ สามารถช่วยลดคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตพลังงานสะอาด และการสร้างศูนย์เรียนรู้สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งความร่วมมือกับองค์การปกครองในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการบริการวิชาการและร่วมกันบริหารจัดการขยะชุมชนแบบยั่งยืน

สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยเครื่องหมักแบบไร้อากาศแบบแห้งที่ทำงานต่อเนื่อง โดยเศษพืช ขยะอินทรีย์ และของเสียต่าง ๆ จะถูกนำมาเข้าเครื่อง ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพที่ได้จะส่งต่อไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอนให้กับหลักสูตรธุรกิจอาหาร คณะวิทยาการจัดการ และการต่อยอดในอนาคตด้วยการบรรจุก๊าซชีวภาพที่ได้ใส่ถังแก๊สเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งาน รวมถึงการรับขยะอินทรีย์ในพื้นที่เทศบาลตำบลขุนทะเลเพื่อส่งเสริมให้ทางครัวเรือนมีการคัดแยกขยะอินทรีย์และรวบรวมโดยเทศบาล ทำให้ปริมาณขยะในพื้นที่ลดลง ทั้งนี้ในโครงการดังกล่าวจะนำก๊าซชีวภาพ และปุ๋ยหมักที่ได้ไปใช้ประโยชน์ภายในมหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมพร้อมยังเป็นการช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยจะคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตต่อไป

ที่มา : สื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สมยศ นุ่นจำนงค์ นภัทร ส้มแก้ว /ภาพ
เทพรวี ทวัเฉลิมดิษฐ์ /ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์