(มีคลิป) เชียงใหม่สุดวิกฤติ    สภาพตัวเมืองตัวหมอกควันป่าไฟปกคลุมจนมืดฟ้ามัวดิน บางพื้นที่ไฟป่าเมียนมาลุกลามเข้ามาในไทย    แดงฉานทั้งภูเขา ค่ามลพิษยังพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด       ค่า PM2.5 บางพื้นที่จะทะลุ 1000  ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร       ขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่    แจกหน้ากาก M95 ฟรี 20,000 ชิ้น สั่งซื้ออีก 7 แสนชิ้น

(มีคลิป) เชียงใหม่สุดวิกฤติ    สภาพตัวเมืองตัวหมอกควันป่าไฟปกคลุมจนมืดฟ้ามัวดิน บางพื้นที่ไฟป่าเมียนมาลุกลามเข้ามาในไทย    แดงฉานทั้งภูเขา ค่ามลพิษยังพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด       ค่า PM2.5 บางพื้นที่จะทะลุ 1000  ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร       ขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่    แจกหน้ากาก M95 ฟรี 20,000 ชิ้น สั่งซื้ออีก 7 แสนชิ้น

เชียงใหม่สุดวิกฤติ สภาพตัวเมืองตัวหมอกควันป่าไฟปกคลุมจนมืดฟ้ามัวดิน บางพื้นที่ไฟป่าเมียนมาลุกลามเข้ามาในไทย แดงฉานทั้งภูเขา ค่ามลพิษยังพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด ค่า PM2.5 บางพื้นที่จะทะลุ 1000 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ แจกหน้ากาก M95 ฟรี 20,000 ชิ้น สั่งซื้ออีก 7 แสนชิ้น

เกิดไฟไหม้ป่า ในเขตประเทศเมียนมาร์ ตรงข้ามกับอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลาหลายวัน และลุกไหม้ลุกลามมาตามรอยต่อของภูเขา และจะลามเข้ามาในพื้นที่ของอำเภอแม่อาย จนไฟลุกไหม้เป็นสีแดงเพลิงไปทั้งภูเขา เจ้าหน้าที่จึงร่วมกันทำแนวกันไฟ และชิงเผากลับไป และนำรถน้ำดับเพลิง ของอบต.แม่อาย เข้าฉีดน้ำควบคุมพื้นที่ไว้ตั้งแต่เวลา 21 นาฬิกา จนถึงเที่ยงคืนที่ผ่านมา จึงควบคุมพื้นที่ไว้ได้ ส่งผลให้มีกลุ่มควันจำนวนมาก ลอยข้ามแดนเข้ามาในประเทศ

ขณะที่ สภาพท้องฟ้าตัวเมืองเชียงใหม่ วันนี้มีหมอกควันไฟป่าปกคลุมหนาแน่น ลอยในอากาศ ชนิดมืดฟ้ามัวดิน มองเห็นฝุ่นควันไฟป่าชัดเจนมีสีขาวขุ่น ทัศนวิสัยการมองเห็นลดลง ไม่เห็นดอยสุเทพ ทำให้ประชาชนใช้ชีวิตลำบาก ทั้งแสบตาแสบจมูก หายใจไม่สะดวก ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอด ทำให้ค่ามลพิษในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่อยู่ระหว่าง 149 – 155 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงในรอบหลายปี ส่วนพื้นที่บ้านปางเฟือง ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว ค่า PM2.5 แบบรายชั่วโมง ช่วงเวลา 11 นาฬิกา ที่ผ่านมาสูงมากๆถึง 993 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จนไม่รู้ว่าชาวบ้านจะใช้ชีวิตแบบไหน หากบ้านไหนไม่มีเครื่องฟอกอากาศ นอนอาจจะต้องสวมหน้ากากอนามัยด้วย

ขณะที่วันนี้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้ตั้งเต้นท์แจกหน้ากากเอ็น 95 ให้กับประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาฟรี คนละจำนวนหลายชิ้นเพื่อนำไปฝากครอบครัว หรือผู้สูงอายุและเด็กๆที่บ้าน บริเวณถนนโชตนา หน้าสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ จำนวน 20,000 ชิ้น ประชาชนต่างพากันจอดรถรับหน้ากาก ค่าPM2.5 บริเวณจุดที่แจกสูงถึง 148 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

นายสมบูรณ์ บุญเรือง สมาชิกสภาจังหวัดเขตอำเภอเมือง บอกว่า หน้ากาอนามัยขาดตลาด ขณะนี้ทางนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้สั่งซื้อหน้ากากN95 เพิ่มอีก 700,000 ชิ้น เพื่อกระจายแจกให้กับประชาชนทั้งจังหวัด น่าจะได้รับประมาณต้นเดือนเมษายนนี้ จากนั้นก็จะให้ทางท้องถิ่นนำไปกระจายแจกให้ครบทุกอำเภอ.

พะเยา แห่ขอโชคโค้งสุดท้ายชาวบ้านจุดประทัด จุดธูปขอโชคท้าวเวสสุวรรณ

วันที่ 29 มี.ค 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรดาชาวบ้านและคอหวย ทั้งในเรื่องออกพื้นที่ต่างพากันนำดอกไม้ธูปเทียนประทัด นำดอก กุหลาบแดงพวงมาลัยแดงน้ำแดง มาเซ่นไหว้ขอโชคลาภท้าวเวสสุวรรณวัดเชียงทอง บ้านศาลา ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยากันคึกคักก่อนวันหวยออก

หลังจากที่ชาวบ้านได้มาขอโชคลาภและถูกกันไปหลายงวด ทำให้งวดที่จะถึงนี้ชาวบ้านคอหวยต่างพากันมาขอโชคด้วยการจุดธูปเสี่ยงทายและจุดประทัด หลายหมื่นนัดได้เลข 2 หางประทัด และธูป เห็นตัวเลข 2 ตัว 17 และ3 ตัว 484 -955-055 ดั่งใจหมายพร้อมใช้โทรศัพท์มือถือถ่าย หลังจากนั้นจะนำไปเสี่ยงโชคซื้อลอตเตอรี่ในวัน ที่ 1 เมษายนนี้

 

สำหรับองค์ท้าวเวสสุวรรณ ตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายหน้าวิหารวัดเชียงทอง โดยองค์ท้าวเวสสุวรรณมีความสูง 1.20 เมตรและเป็นเนื้อทองเหลืองมีรูปร่างคล้ายท้าวเวสสุวรรณทั่วไปแต่ที่แปลกบนเศียรของท้าวเวสสุวรรณจะมีองค์พระพุทธรูป และจะมคเขี้ยว 2 ชั้นซึ่งทางด้านเจ้าอาวาสวัดเชียงทองได้นำมาประดิษฐานข้างวิหารหลังจาก นั้นมีชาวบ้านได้มาขอโชคลาภและต่างไม่ผิดหวังสักงวดซึ่งวันนี้ทางชาวบ้านคอหวยได้พากันมาขอโชคลาภด้วยเช่นกันและได้เลข 3 ตัว 2 ตัวตามที่ได้จุดธูปและจุดประทัดสำหรับเลข 2 ตัวได้แก่ 17 และสามตัว 484 -955-055 ซึ่งต่างก็พากันถ่ายรูปไว้เพื่อนำไปเสี่ยงโชคซื้อสลากกินแบ่งวันที่ 1 เมษายน ที่จะถึงนี้

ผู้ว่าฯกดาหาร ประชุมนายอำเภอ-หัวหน้าส่วน มท. หารือ ปรึกษาข้อราชการสำคัญประจำเดือนมีนาคม 2566

ผู้ว่าฯกดาหาร ประชุมนายอำเภอ-หัวหน้าส่วน มท. หารือ ปรึกษาข้อราชการสำคัญประจำเดือนมีนาคม 2566

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 น. ที่ห้องประชุมแก่งกระเบา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายวรญาณบุญณราช เป็นประธานเปิดการประชุมในอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย จังหวัดมุกดาหารครั้งที่ 3/2566 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยจังหวัดมุกดาหารเข้าร่วมประชุม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

1. ติดตามการสำรวจ ปรับปรุงสถานที่สำคัญอื่นๆ อาทิ หอแก้วมุกดาหาร ศาลหลักเมืองมุกดาหาร ให้มีความพร้อม มีสะดวกและปลอดภัย พร้อมให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว

2. เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมพิธีสรงน้ำพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2566 ซึ่งจะกำหนดจัดในวันที่ 6-7 เมษายน 2566 โดยจะมีการรวบรวมน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญต่างๆในจังหวัดมุกดาหารทั้ง 7 อำเภอ เพื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษกเพื่อเป็นมิ่งมงคลให้แก่ประชาชนชาวมุกดาหาร พร้อมด้วยจัดขบวนแห่น้ำสรงพระราชทาน น้ำศักสิทธิ์ และพระพุทธรูปที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหาร ขึ้นไปประกอบพิธี ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร

3. การถอดบทเรียนการทำงานเชิงรุกในการตอบโต้สถานการณ์ ที่เป็นกระแสสังคมทั้งช่องทางปกติและทางออนไลน์ ในการตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาสังคม บนพื้นฐานของอำนาจหน้าที่ของหน่วยง่นที่เกี่ยวข้อง โดยการบูรณาการร่วมกันและสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานของภาครัฐให้แก่ประชาชนที่สามารถเข้าถึงได้

4. การเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ปี 2566 ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ ตลอดจนการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

5. ประเด็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม อาทิ กิจกรรมผ้าไทย ใส่บาตร ปูสาด ริมโขง กิจกรรมมุกดาหารสแควร์ ณ จวนเก่า ให้เป็นพื้นที่ของสังคมที่ จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคม

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการสื่อสาร หารือ และปรึกษาในประเด็นต่างๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนต่อไป.

Cr.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร

ผู้ว่าฯกดาหาร ประชุมนายอำเภอ-หัวหน้าส่วน มท. หารือ ปรึกษาข้อราชการสำคัญประจำเดือนมีนาคม 2566

ผู้ว่าฯกดาหาร ประชุมนายอำเภอ-หัวหน้าส่วน มท. หารือ ปรึกษาข้อราชการสำคัญประจำเดือนมีนาคม 2566

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 น. ที่ห้องประชุมแก่งกระเบา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายวรญาณบุญณราช เป็นประธานเปิดการประชุมในอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย จังหวัดมุกดาหารครั้งที่ 3/2566 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยจังหวัดมุกดาหารเข้าร่วมประชุม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

1. ติดตามการสำรวจ ปรับปรุงสถานที่สำคัญอื่นๆ อาทิ หอแก้วมุกดาหาร ศาลหลักเมืองมุกดาหาร ให้มีความพร้อม มีสะดวกและปลอดภัย พร้อมให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว

2. เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมพิธีสรงน้ำพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2566 ซึ่งจะกำหนดจัดในวันที่ 6-7 เมษายน 2566 โดยจะมีการรวบรวมน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญต่างๆในจังหวัดมุกดาหารทั้ง 7 อำเภอ เพื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษกเพื่อเป็นมิ่งมงคลให้แก่ประชาชนชาวมุกดาหาร พร้อมด้วยจัดขบวนแห่น้ำสรงพระราชทาน น้ำศักสิทธิ์ และพระพุทธรูปที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหาร ขึ้นไปประกอบพิธี ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร

3. การถอดบทเรียนการทำงานเชิงรุกในการตอบโต้สถานการณ์ ที่เป็นกระแสสังคมทั้งช่องทางปกติและทางออนไลน์ ในการตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาสังคม บนพื้นฐานของอำนาจหน้าที่ของหน่วยง่นที่เกี่ยวข้อง โดยการบูรณาการร่วมกันและสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานของภาครัฐให้แก่ประชาชนที่สามารถเข้าถึงได้

4. การเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ปี 2566 ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ ตลอดจนการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

5. ประเด็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม อาทิ กิจกรรมผ้าไทย ใส่บาตร ปูสาด ริมโขง กิจกรรมมุกดาหารสแควร์ ณ จวนเก่า ให้เป็นพื้นที่ของสังคมที่ จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคม

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการสื่อสาร หารือ และปรึกษาในประเด็นต่างๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนต่อไป.

Cr.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร

ผู้ว่าฯกดาหาร ประชุมนายอำเภอ-หัวหน้าส่วน มท. หารือ ปรึกษาข้อราชการสำคัญประจำเดือนมีนาคม 2566

ผู้ว่าฯกดาหาร ประชุมนายอำเภอ-หัวหน้าส่วน มท. หารือ ปรึกษาข้อราชการสำคัญประจำเดือนมีนาคม 2566

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 น. ที่ห้องประชุมแก่งกระเบา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายวรญาณบุญณราช เป็นประธานเปิดการประชุมในอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย จังหวัดมุกดาหารครั้งที่ 3/2566 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยจังหวัดมุกดาหารเข้าร่วมประชุม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

1. ติดตามการสำรวจ ปรับปรุงสถานที่สำคัญอื่นๆ อาทิ หอแก้วมุกดาหาร ศาลหลักเมืองมุกดาหาร ให้มีความพร้อม มีสะดวกและปลอดภัย พร้อมให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว

2. เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมพิธีสรงน้ำพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2566 ซึ่งจะกำหนดจัดในวันที่ 6-7 เมษายน 2566 โดยจะมีการรวบรวมน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญต่างๆในจังหวัดมุกดาหารทั้ง 7 อำเภอ เพื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษกเพื่อเป็นมิ่งมงคลให้แก่ประชาชนชาวมุกดาหาร พร้อมด้วยจัดขบวนแห่น้ำสรงพระราชทาน น้ำศักสิทธิ์ และพระพุทธรูปที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหาร ขึ้นไปประกอบพิธี ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร

3. การถอดบทเรียนการทำงานเชิงรุกในการตอบโต้สถานการณ์ ที่เป็นกระแสสังคมทั้งช่องทางปกติและทางออนไลน์ ในการตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาสังคม บนพื้นฐานของอำนาจหน้าที่ของหน่วยง่นที่เกี่ยวข้อง โดยการบูรณาการร่วมกันและสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานของภาครัฐให้แก่ประชาชนที่สามารถเข้าถึงได้

4. การเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ปี 2566 ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ ตลอดจนการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

5. ประเด็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม อาทิ กิจกรรมผ้าไทย ใส่บาตร ปูสาด ริมโขง กิจกรรมมุกดาหารสแควร์ ณ จวนเก่า ให้เป็นพื้นที่ของสังคมที่ จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคม

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการสื่อสาร หารือ และปรึกษาในประเด็นต่างๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนต่อไป.

Cr.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร

ผู้ว่าฯกดาหาร ประชุมนายอำเภอ-หัวหน้าส่วน มท. หารือ ปรึกษาข้อราชการสำคัญประจำเดือนมีนาคม 2566

ผู้ว่าฯกดาหาร ประชุมนายอำเภอ-หัวหน้าส่วน มท. หารือ ปรึกษาข้อราชการสำคัญประจำเดือนมีนาคม 2566

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 น. ที่ห้องประชุมแก่งกระเบา ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายวรญาณบุญณราช เป็นประธานเปิดการประชุมในอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย จังหวัดมุกดาหารครั้งที่ 3/2566 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยจังหวัดมุกดาหารเข้าร่วมประชุม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

1. ติดตามการสำรวจ ปรับปรุงสถานที่สำคัญอื่นๆ อาทิ หอแก้วมุกดาหาร ศาลหลักเมืองมุกดาหาร ให้มีความพร้อม มีสะดวกและปลอดภัย พร้อมให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว

2. เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมพิธีสรงน้ำพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2566 ซึ่งจะกำหนดจัดในวันที่ 6-7 เมษายน 2566 โดยจะมีการรวบรวมน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญต่างๆในจังหวัดมุกดาหารทั้ง 7 อำเภอ เพื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษกเพื่อเป็นมิ่งมงคลให้แก่ประชาชนชาวมุกดาหาร พร้อมด้วยจัดขบวนแห่น้ำสรงพระราชทาน น้ำศักสิทธิ์ และพระพุทธรูปที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหาร ขึ้นไปประกอบพิธี ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร

3. การถอดบทเรียนการทำงานเชิงรุกในการตอบโต้สถานการณ์ ที่เป็นกระแสสังคมทั้งช่องทางปกติและทางออนไลน์ ในการตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาสังคม บนพื้นฐานของอำนาจหน้าที่ของหน่วยง่นที่เกี่ยวข้อง โดยการบูรณาการร่วมกันและสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานของภาครัฐให้แก่ประชาชนที่สามารถเข้าถึงได้

4. การเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ปี 2566 ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ ตลอดจนการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

5. ประเด็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม อาทิ กิจกรรมผ้าไทย ใส่บาตร ปูสาด ริมโขง กิจกรรมมุกดาหารสแควร์ ณ จวนเก่า ให้เป็นพื้นที่ของสังคมที่ จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคม

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการสื่อสาร หารือ และปรึกษาในประเด็นต่างๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนต่อไป.

Cr.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร

(มีคลิป) 2 เด็กชาย ฐานะยากจน เลื่อมใสพระพุทธศาสนาบวชทดแทนคุณพ่อ – แม่ ที่งานประเพณีปอยส่างลอง “วัดสันมะเกี่ยง” 

2 เด็กชาย ฐานะยากจน เลื่อมใสพระพุทธศาสนาบวชทดแทนคุณพ่อ – แม่ ที่งานประเพณีปอยส่างลอง “วัดสันมะเกี่ยง”

“วัดสันมะเกี่ยง” จัดงานประเพณีปอยส่างลอง อย่างยิ่งใหญ่ งดงามตามประเพณีพี่น้องชาติพันธุ์ไทยใหญ่ แต่ปีนี้มีเด็กชาย 2 คนพี่น้อง ที่ฐานะยากจน เลื่อมใสพระพุทธศาสนาอยากบวช แต่ไม่ได้แต่งเป็นส่างลอง เหมือนเด็กคนอื่นๆ แต่ทางวัดก็บวชให้ เด็กชาววัย 9 ขวบและ 11 ขวบ สองคนพี่น้อง ชาวไทใหญ่ แต่สองพี่น้องจะแตกต่างจาก ส่างลองคนอื่นๆ ถึงจะมีฐานะยากจน แต่ก็อยากจะบวชทดแทนคุณให้กับบิดา -มารดา จึงได้มาร่วมพิธีบรรพชาเป็นสามเณรด้วย แต่ก็จะแต่งกายในชุดปกติทั่วไป ไม่ได้แต่งชุดส่างลอง ที่สวยงามในชุดเจ้าชายน้อย ขี่คอเดินรอบพระอุโบสถ แต่ก็มีเครื่องอัฐบริขารครบ ใช้วิธีเดินเท้าพร้อมกับมารดาและญาติจนครบ 3 รอบ ก่อนจะขึ้นบนพระอุโบสถ เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร

“ปอยส่างลอง” เป็นประเพณีของพี่น้องชาวไทใหญ่ ที่จะบวชเรียนให้กับลูกหลาน ในช่วงปิดภาคเรียน โดยพ่อแม่ผู้ปกครอง จะมีการเตรียมงานมาเป็นปี เพื่องานนี้โดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกายที่สวยงาม ที่มีให้เปลี่ยนจำนวนหลายชุด ในการสวมใส่เพื่อร่วมขบวนแห่ ไปตามชุมชนเพื่อบอกบุญ โดยให้บรรดาญาติพี่น้องเปลี่ยนกันให้ส่างลองขี่คอ เดินแห่ไปรอบพระอุโบสถ พร้อมกับขบวนเครื่องอัฐบริขาร ที่จะใช้ในการจำวัด

นายฉันทการ นายทร น้าชายของน้องบอกว่า การที่จะแต่งเป็นเจ้าชายน้อย จะต้องมีเงินพอสมควร ถึงจะแต่งกายเป็นล่างลองให้สวยงาม ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ ของมีค่า และมีเครื่องอัฐบริขาร เพื่อร่วมในขบวนแห่ โดยการขี่คอญาติผู้ใหญ่ แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค แม้ว่าฐานะจะยากจนก็สามารถเข้าร่วมบรรพชาได้

พระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยง

ทางด้านพระครูปลัดทวีวัฒน์ อินฺทวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดสันมะเกี๋ยง บอกว่า ทางวัดไม่ได้แบ่งแยกฐานะ บวชให้เยาวชนทุกคน แบบเท่าเทียม ตามประเพณีของล้านนา ตามหลักศาสนาพุทธ และยังส่งเสียดูแลในการเรียนหนังสือฟรี ในช่วงที่บวชเรียน ทั้งนี้การบวชเพื่อเป็นการทดแทนคุณบิดา -มารดา เป็นความสุขใจสูงสุด ของผู้ปกครองที่บุตรหลานได้บรรพชาเป็นสามเณร จะได้บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่และยังเป็นการทะนุบำรุงสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนต่อไป.

พะเยา ห้องสมุดมีชีวิต Phayao Learning City Fest & Forum3 เปิด “อุทยานการเรียนรู้พะเยา” (TK Park Phayao)

วันที่ 29 มีนาคม 2566 โครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เข้าสู่ UNESCO ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา จัดกิจกรรม Phayao Learning City Fest & Forum3 และเปิดอุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK ParkPhayao) โดย ว่าที่ ร.ต. ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ศ. ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และผู้เกี่ยวข้อง
ร่วมเปิดงาน ที่เทศบาลเมืองพะเยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา สถาบันอุทยานการเรียนรู้ ได้จัดตั้งขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย กล่าวว่า โครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เข้าสู่ UNESCO ระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) และพัฒนาคนให้มีทักษะเหมาะสมกับศตวรรษที่ 21

ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม Phayao Learning City Fest & Forum3 และพิธีเปิดอุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK ParkPhayao) กล่าวว่า ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน จึงเห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาขับเคลื่อนจังหวัดพะเยา อันก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน หลายหน่วยงานมีการจัดการเรียนรู้ให้แก่ประชาชน ทั้งการสร้างพื้นที่สำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำภายใต้แนวคิด ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และยังสร้างความภาคภูมิใจแก่คนในพื้นที่ ทุกส่วนงาน หน่วยงาน ชุมชน และประชาชนทุกคนล้วนเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้จังหวัดพะเยาได้เป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของUNESCO


สำหรับอุทยานการเรียนรู้พะเยา TK Park Phayao “ห้องสมุดมีชีวิตแห่งแรกในจังหวัดพะเยา” ริมกว๊านพะเยา เป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย สามารถ สมัครสมาชิกฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้บริการยืมหนังสือ ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ และ INTERNET เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 19.00 น. วันอังคาร – วันอาทิตย์ (ปิดบริการวันจันทร์) ติดต่อสอบถาม โทร.054-072252 Facebook

ภายในอุทยานมี KIDS ZONE มีพื้นที่สำหรับเด็กและเยาวชน แหล่ง รวมหนังสือ สือ และของเล่นเสริม สร้างพัฒนาการหลากหลายที่แบ่ง ตามช่วงวัย พื้นทีแสดงผลงานของชุมุชน การอบรมเชิงปฏิบัติการ และพื้นที่ การมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเมืองพะเยา เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
LIVING LIBRARY ห้องสมุดมีชีวิตเป็นพื้นที่ สื่อที่ทันสมัยหลากหลาย ให้บริการด้านหนังสือ และผลิตภัณฑ์จากชุมชน โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองพะเยา และกิจกรรม การแข่งขัน หุ่นยนต์อัจฉริยะ ด้วยดังกล่าว

อบต.เขาพระ อำเภอเมืองนครนายก ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินจนประสบผลสำเร็จ

อบต.เขาพระ อำเภอเมืองนครนายก ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินจนประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ บริหารจัดการน้ำด้วยระบบของธนาคารน้ำใต้ดินจากต้นน้ำ สู่กลางน้ำสู่ ปลายน้ำ ทั้ง2 ระบบ คือ ระบบเปิด และระบบ ปิด ในเฟสที่ 1 และ 2 ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9

นายพงษ์สวัสดิ์ ธีระวัฒนกุล นายก อบต.เขาพระ นายนิกร มุขดา ประธานสภาอบต.เขาพระ นายสมบัติ ศรแก้ว รองประธานสภา อบต.เขาพระ สมาชิกสภา อบต.เขาพระ ทั้ง 13 หมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ กองช่าง อบต.เขาพระ ร่วมกับนายชาตรี๊ ศรีวิชาฐา นายก อบต.เก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ต้นแบบโครงการ ธนาคารน้ำใต้ดินแห่งประเทศไทย โดยหลังจากที่ได้ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินจนประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ บริหารจัดการน้ำด้วยระบบของธนาคารน้ำใต้ดินจากต้นน้ำ สู่กลางน้ำสู่ ปลายน้ำ ทั้ง2 ระบบ คือ ระบบเปิด และระบบ ปิด ในเฟสที่ 1 และ 2 ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยได้ขยายผลทำการวางแผน ออกแบบระบบการ จัดการน้ำด้วยรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินเฟสที่ 3 ซึ่งได้กำหนดจุดและตำแหน่งเพิ่มเติมอีก 15 จุด ในพื้นที่ตำบลเขาพระหมู่ ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 หากได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการธนาคารน้ำฯ สำหรับดำเนินงานครบ ทุกจุดตามแผนงานที่กำหนดไว้ จะแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ตำบลเขาพระได้แบบเบ็ดเสร็จ และยั่งยืนควบคู่ไปกับ การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงธรรมชาติ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมอาชีพการปลูกพืชผักปลอดภัยสู่เกษตร อินทรีย์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำตามลำคลองต่างๆ ในพื้นที่ตำบลเขาพระ เพื่อเพิ่มแหล่งอาหารให้กับพี่น้องประชาชนได้ อีกทั้งยังส่งผลให้เกษตรกรมีน้ำไว้ใช้ในกิจการ ของตนเองตลอดทั้งปี และในอนาคตข้างหน้าในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตำบลเขาพระ ซึ่งจากเดิม ตามพระราชบัญญัติการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน กำหนดให้มีการทำบ่อดักไขมัน อบต.เขาพระจะกำหนดให้เพิ่มการทำบ่อธนาคารน้ำ ใต้ดินระบบปิดทุกบ้าน (โครงการ 1 บ้าน 1 บ่อ) เพื่อรองรับน้ำเสียจากการใช้น้ำในครัวเรือน และบ่อดักไขมันควบคู่ไปพร้อมกัน สิ่งเหล่านี้คือ ความมั่นคงยั่งยืนที่อยากให้เกิดขี้นในพื้นที่ตำบลเขาพระ ควบคู่ไปกับวิถีการดำเนินชีวิตสู่รุ่นลูกรุ่นหลานตลอดไป

สรุปโครงการธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 2 ระบบ ตามแผนงานนโยบายที่กำหนดไว้ 3 เฟส รวมทั้งหมด 37 จุด
เฟสที่ 1 จำนวน 6 จุด 1. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย (กลุ่มบ้านเนินแพง) หมู่ที่ 9 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อ ตกตะกอน , บ่อชะลอน้ำ,บ่อรับน้ำ (ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว) 2. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย (ศาลาเอนกประสงค์) หมู่ที่ 9 จำนวน 4 บ่อ 3. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองโกรกกะโหย่ง (ซอยสามัคคี2) หมู่ที่ 12 จำนวน 9 บ่อ ประกอบด้วยบ่อ ตกตะกอน 6 บ่อ, บ่อรับน้ำ 3 บ่อ 4. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองมะนาวตอนบน หมู่ที่ 12 จำนวน 6 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 3 บ่อ, บ่อรับน้ำ 3 บ่อ 5. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองทรายทอง หมู่ที่ 12 จำนวน 3 บ่อ 6.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองห้วยทราย (สะพานเขาแหลม) หมู่ที่ 13 จำนวน 4 บ่อ
เฟสที่ 2 จำนวน 16 จุด 1. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ) บริเวณคลองโก1 หมู่ที่ 13 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน ,บ่อสังเกตการณ์(บ่อบาดาล),บ่อเติมน้ำ 2. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองโก2 หมู่ที่ 13 จำนวน 4 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอน้ำ 1บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 3. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองโก3 หมู่ที่ 13 จำนวน 4 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอน้ำ 1บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 4. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองม่วง1 หมู่ที่ 10 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน , บ่อชะลอน้ำ, บ่อเติมน้ำ 5. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองม่วง2 หมู่ที่ 10 จำนวน 4 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอ น้ำ 1บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 6. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองม่วง3 หมู่ที่ 10 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ, บ่อเติมน้ำ 7. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองม่วง4 หมู่ที่ 10 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ, บ่อเติมน้ำ 8. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองเข้1 หมู่ที่ 9 จำนวน 5 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอน้ำ 2บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 9. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองเข้2 หมู่ที่ 9 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ,บ่อเติมน้ำ 10. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองเข้3 หมู่ที่ 9 จำนวน 4 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอน้ำ 1บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 11. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองเข้4 หมู่ที่ 8 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน,บ่อชะลอน้ำ,บ่อเติมน้ำ 12. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อวงแหวน) บริเวณคลองเข้5 หมู่ที่ 10 จำนวน 1 บ่อ 13. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย1 (หลังวัดกุตตะเคียน) หมู่ที่ 8 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วย บ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ,บ่อเติมน้ำ 14. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย2 หมู่ที่ 8 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอ น้ำ,บ่อเติมน้ำ 15. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย3 เชื่อมต่อระหว่าง หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 8 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ,บ่อเติมน้ำ 16. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองตาจัน-คลองแสง หมู่ที่ 5 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2บ่อ, บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ
เฟสที่ 3 จำนวน 15 จุด 1. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแสง บ้านยายรุณ หมู่ที่ 7 จำนวน 2 บ่อ 2.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแสง มุมเสบียง หมู่ที่ 7 จำนวน 4 บ่อ 3.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองแสง หน้าวัดบ้านขาม หมู่ที่ 7 จำนวน 4 บ่อ แบ่งเป็น บ่อตกตะกอน 3 บ่อ บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 4.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ และกำแพงกันน้ำ) บริเวณคลองวังตูม หน้าวัดวังตูม หมู่ที่ 1 จำนวน 2 บ่อ 5.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อวงแหวน) บริเวณสระอาเหลา บ้านเกาะกระชาย หมู่ที่ 2 จำนวน 1บ่อ 6.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้ง หมู่ที่ 1 จำนวน 3 บ่อ 7.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้ง หมู่ที่ 6 จำนวน 3 บ่อ 8.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้งฝายคอนกรีต หมู่ที่ 6 จำนวน 3 บ่อ 9.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้งจุดที่ 3 หมู่ที่ 6 จำนวน 3 บ่อ 10.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้งจุดที่ 4 หมู่ที่ 6 จำนวน 2 บ่อ 11.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้ง หมู่ที่ 7 จำนวน 3 บ่อ 12.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ) บริเวณซอยอาระยา บ้านเกาะกระชาย หมู่ที่ 2 จำนวน 2บ่อ
13.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ) บริเวณซอยเจริญสุข บ้านเกาะกระชาย หมู่ที่ 2 จำนวน 2บ่อ 14.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ+รางระบายน้ำไร้ท่อ) บริเวณเขาไม้พลวง หมู่ที่ 4 จำนวน 2บ่อ 15.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ) หมู่ที่ 7 จำนวน 3 บ่อ


สมบัติ เนินใหม่//รัชชานนท์ เนินใหม่// ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครนายก

ก.แรงงาน ผนึกกำลัง 3 มูลนิธิ ลงนามความร่วมมือ ส่งเสริมคนพิการมีงานทำ ยกระดับคุณภาพชีวิต

วันที่ 29 มีนาคม 2566 นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วย “การส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ” ระหว่าง กระทรวงแรงงาน โดย กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ร่วมกับ มูลนิธิเลนำคิน มูลนิธิภาณี ยิบอินซอย และมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โดยมี บาทหลวงภัทรพงศ์ ศรีวรกุล ประธานมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ประธานมูลนิธิเลนำคิน ประธานมูลนิธิภาณี ยิบอินซอย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี ร่วมให้การต้อนรับ ณ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

นายสุรชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน มีนโยบายสำคัญเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคใน “กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ” โดยผู้พิการถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่จะต้องส่งเสริมให้มีงานทำ มีรายได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงแรงงานพยายามดำเนินการเพื่อให้คนพิการเข้าถึงข้อมูลตำแหน่งงานว่าง การแนะแนวอาชีพ การฝึกอาชีพ การพัฒนาฝีมือ ตลอดจนการฟื้นฟูศักยภาพเพื่อให้ผู้พิการสามารถทำงานและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ กระผมขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณทุกภาคส่วน ที่ร่วมมือกันทำให้คนพิการได้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล และกระทรวงแรงงานที่จะให้คนไทยทุกคนมีความสุขด้วยกันโดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” และในโอกาสที่มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนา คนพิการ มูลนิธิเลนาคิน มูลนิธิภาณี ยิบอินซอย ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ได้แก่ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วย “การส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ”

นายสุรชัย กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการข้อมูลการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมด้านการฟื้นฟูด้านอาชีพแก่คนพิการ บริการฝึกอาชีพและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน บริการแนะแนวอาชีพและจัดหางาน การพัฒนาผู้ฝึก การให้บริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีต่างๆ และรวบรวมข้อเสนอในการพัฒนานโยบาย หรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทาของคนพิการอีกด้วย นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่แสดงออกถึงการรวมพลังของภาครัฐ และภาคเอกชนในการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันทำให้คนพิการได้มีงานทำ มีรายได้ และ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มุ่งดูแลคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมการมีงานทำแก่แรงงานทุกกลุ่ม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง