google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

ป.ป.ช.ภาค 1 โชว์ผลงาน 3 ปี ฟันเรียบ ผู้บริหารท้องถิ่น จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินเท็จ

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี น.ส.ชฎารัตน์ อนรรฆอร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 1 แถลงข่าวถึงผลการดำเนินงานด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินเขตพื้นที่ภาค 1 (ภาคกลางบางส่วน) พบว่า ภาพรวมการดำเนินการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในภาค 1 นั้น ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด และส่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ไปแล้ว 13 คดีด้วยกัน ทั้งหมดเป็นผู้บริหารท้องถิ่น แบ่งเป็นปีงบประมาณ 2562 จำนวน 9 เรื่อง ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 2 เรื่อง และปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2 เรื่อง

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 1 กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2564 มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการชี้มูลความผิดกรณีจงใจยื่นบัญชีด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันควรแจ้งให้ทราบ และศาลฎีกาฯมีคำพิพากษาไปแล้ว 2 คดี ได้แก่ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บางขาม อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดยศาลฎีกาฯพิพากษาจำคุก 1 เดือน รอการลงโทษกำหนด 1 ปี ปรับ 4,000 บาท และรองนายกเทศมนตรีตำบลบางเมือง (วาระที่ 6) อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ ศาลฎีกาฯพิพากษาจำคุก 1 เดือนขณะเดียวกัน ผลการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบภาค 1 ประจำปี 2564 ที่ ป.ป.ช. มีมติตรวจสอบแล้ว จำนวน 2,443 บัญชี เป็นการตรวจสอบปกติ 2,040 บัญชี ตรวจยืนยัน 334 บัญชี ตรวจเชิงลึก 69 บัญชี เพื่อป้องกันพฤติการณ์ถือครองทรัพย์สินแทน หรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน

เปิดแล้วงานมนัสการรอบพระพุทธบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ จันทบุรี ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด – 19

วันนี้ ( 31 ม.ค.65 ) ที่วัดพลวง พระครูประดิษฐ์ศาสนการ เจ้าอาวาสวัดทุ่งตาอินท์ ประธานที่ปรึกษากองทุนนิธิพระพุทธบาทพลวง นำพุทธศาสนิกชน นักแสวงบุญร่วมพิธีแสดงมุทิตาจิต ขอพร หน้ารูปเหมือนบูรพาจารย์และกล่าวคำสักการะบูรพาจารย์ที่บุกเบิกงานนมัสการรอบพรุทธบาทพลวงให้การจัดงานเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรีปีนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น หลังหยุดมา 1 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 หลังจากนั้น ที่บริเวณสันเขื่อนพลวง นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีได้นำหัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชน ประชาชน นักแสวงบุญร่วมพิธีบวงสรวง ปิดป่าเปิดเขาโดย พระครูประดิษฐ์ศาสนการ เจ้าอาวาสวัดทุ่งตาอินท์ ประธานที่ปรึกษากองทุนนิธิพระพุทธบาทพลวงเป็นประธานสวดคาถา ปิดป่า

ทั้งนี้งานเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ที่เคยจัดขึ้นเป็นประจำแต่ต้องมาหยุดเมื่อปีที่แล้วเนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19 และในปีนี้ คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดจันทบุรี หรือ ศปก.จังหวัดจันทบุรีได้อนุญาตให้มีการจัดงานได้ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด – 19 อย่างเคร่งครัด และต้องจองผ่านแอป QueQ ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเท่านั้นไม่รับ Walkin หน้างาน โดยผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง บนยอดเขาคิชฌกูฏต้องเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มโดยแสดงเอกสารรับรองการรับวัคซีนหรือการยืนยันจากแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม / แสดงเอกสารรายงานผลการตรวจโควิด -19 ด้วยวิธี RT-PCR หรือ Rapid Antigan test หรือ ATK ไม่เกิน 3 วัน จากสถานพยาบาลของรัฐ หรือ สถานพยาบาลเอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองแสดงผลทดสอบว่าไม่พบเชื้อ / กรณีผู้ที่เคยป่วยโควิด -19 ที่ได้รับการรักษาหายแล้วต้องมีเอกสารรับรองผลการตรวจรักษาว่าหายป่วยมาแล้วไม่เกิน 90 วัน ผู้ที่จะขึ้นไปบนเขาต้องปฏิบัติตามมาตรการและระเบียบของกรมอุทยานแห่งชาติฯ อย่างเคร่งครัด

การจองคิวรถเพื่อขึ้นไปบนยอดเขาสามารถจองได้ 2 คิว ผ่านแอปพลิเคชั่น QueQ โดยมีขั้นตอนรวม 4 ขั้นตอนทั้งนี้คิวรถที่จะให้บริการขึ้นไปบนเขามี 2 คิว คือคิววัดพลวง มีรถบริการจำนวน 111 คิว และคิววัดกระทิงมีรถบริการ 31 คิว โดยจะสมารถขึ้นไปบนยอดเขาได้รอบละ 4,000 คน วันละ 4 รอบ รวมวันละ 16,000 คน

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีได้บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อรองรับนักแสวงบุญที่จะหลั่งไหลมาขึ้นเขานมัสการรอบพุทธบาท มีการตั้งชุดเคลื่อนที่ และเจ้าหน้าที่ประจำจุดต่าง ๆ ในการทำความสะอาดป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 โดยเฉพาะจุดที่มีการสัมผัสร่วมกันอาทิ ห้องน้ำสาธารณะ คิวรถ เส้นทางเดินราวสะพาน เป็นต้น สร้างความเชื่อมั่น ปลอดภัยแก่นักแสวงบุญ แต่ก็ขอให้ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการรอบพระพุทธบาทพลวงบนยอดเขาคิชฌกูฏต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันตัวเองไม่ประมาท

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

บรรเทาความเดือดร้อน เกษตรกร ช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร

“ บรรเทาความเดือดร้อน เกษตรกร ช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร”

กองพันทหารม้าที่ 10 กรมทหารม้าที่ 2 จัดกำลังพล ให้การช่วยเหลือเกษตรกรในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร (ถั่วลิสง ) เพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนและเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยว ในพื้นที่ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
( 31 ม.ค.65 )#ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส#กองพันทหารม้าที่ 10

ตราด แห่ไหว้ศาลเจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่วันตรุษจีนคึกคักลุ้นเลขเสี่ยงดวง

(31 ม.ค. 65) ช่วงเช้าที่ผ่านมา คนไทยเชื้อสายจีนพื้นที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด แห่ไหว้เจ้าศาลเจ้าแม่ทับทิม ในวันตรุษจีนกันอย่างคึกคัก ร่วมใจกันใส่เสื้อสีแดงเป็นส่วนใหญ่ที่มีเชื้อสายจีนต่างนำสิ่งของเครื่องเซ่นไหว้นำไปไหว้บรรพบุรุษ และนำไปไหว้ตามศาลเจ้าต่างๆ ในพื้นที่ โดยที่ศาลเจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่ ตั้งแต่ช่วงเช้ามืดปรากฏว่า มีประชาชนทยอยนำเครื่องเซ่นไหว้ไปไหว้ที่ศาลเจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่กันอย่างต่อเนื่องสำหรับสิ่งของที่นำไปไหว้ส่วนใหญ่ยังเป็น ไก่ต้ม รองลงมาได้แก่ หัวหมู และเป็ด รวมทั้งขนม และผลไม้มงคลต่างๆ บรรยากาศคึกคักตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ประชาชนบางส่วนที่ไม่ใช้ไก่ต้มในการไหว้ ได้นำอาหารทะเลต้ม เช่น กุ้งต้ม หรือปลานึ่ง มาเป็นเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งแต่ละคนต่างมีจิตศรัทธาที่จะนำสิ่งของไปไหว้พร้อมกับร่วมเสี่ยงโชคลาภอันเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองชาวอําเภอคลองใหญ่ให้ความเคารพนับถือกันมาช้านาน นางสุจินตา แสงจันทร์ ได้กล่าวว่า มาเซ่อนไหว้เจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่เป็นประจําทุกปีและมีความมั่นใจในตัวเองเพื่อจะได้มีชีวิตจิตใจสบายที่ได้เดินทางไปไหว้ศาลเจ้าทับทิมคลองใหญ่ นายอาภากร เจริญผล นายกองค์การบริหารส่วนตําบลคลองใหญ่ก็ได้พาครอบครับมาเซ่นไหว้ประจําทุกปี พร้อมได้แจกอังเปาให้กับคณะสิงโตของเจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่ด้วย เพื่อเป็นสิริมงคลต่อครอบครัว ในฐานะที่ตนเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน จึงได้นำครอบครัวเดินทางมาไหว้ศาลเจ้าแม่ทับทิมคลองใหญ่ในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นวันแห่งการเริ่มต้นแห่งปีใหม่ของชาวจีน ต่างขอพรให้ประกอบกิจการค้ารุ่งเรือง ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวตลอดไป

จากนั้นประชาชนหมู่บ้านโครงการมั่นคงก็ได้เซ่นไหว้เจ้าให้ช่วยคุ้มครองในหมูบ้านให้ปลอดภัยทุกอย่างค้าขายเจริญรุ่งเรืองตลอดไป พร้อมด้วยได้จุดประทัดเสี่ยงโชคลาภอีกด้วยเพื่อจะนําไปเสี่ยงโชคในงวดนี้ด้วย

ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด

ชาวไทยเชื้อสายจีนใน อำเภอเบตง จังหวัดยะลาไหว้เจ้าในวันตรุษจีน ขอพรที่วัดโพธิสัตโตเจ้าแม่กวนอิม

ยะลา ชาวไทยเชื้อสายจีนใน อ.เบตง จ.ยะลา แห่ไหว้เจ้าในวันตรุษจีน ขอพรที่วัดโพธิสัตโตเจ้าแม่กวนอิมให้เกิดสันติสุขและขอให้ไวรัสโควิด-19 หมดไปโดยเร็วในทุกพื้นที่

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 65 ที่วัดโพธิสัตโตเจ้าแม่กวนอิมเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ต่างพาลูกหลาน ญาติพี่น้อง เดินทางเข้ามาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กันอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางมาตรการของสาธารณสุขอำเภอเบตง โดยทางศาลเจ้า ได้มีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายไว้ที่บริเวณทางเข้า และจากการสังเกตพบว่าชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นการสวมใส่เสื้อผ้าสีแดงเหมือนปีที่ผ่านมาซึ่งในปีนี้ มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สวมใส่ จากการสอบถามพบว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย จึงไม่ได้จัดซื้อชุดใหม่
โดยชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ได้เข้ามาทำพิธีกันแบบครอบครัว และเครือญาติ เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญในช่วงปีใหม่ของชาวจีน รวมทั้งขอพรให้เศรษฐกิจดี ค้าขายเจริญรุ่งเรือง ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข และให้เกิดสันติสุขเกิดขึ้น รวมถึงขอให้ไวรัสโควิด-19 หมดไปจากในทุกพื้นที่

นอกจากนี้บางคนยังระบุว่าปีนี้ทุกคนต่างได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 กันทั่วหน้าทำให้สมาชิกในครอบครัวบางครอบครัวไม่ได้เดินทางกลับมาบ้านเกิดไม่ได้ เพราะอยู่ในพื้นที่การแพร่ระบาดหาก กลับมาจะต้องถูกกักตัว ปัญหาเยอะทำให้ปีนี้ญาติพี่น้องที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ไม่ได้เดินทางกลับมา เลยทำให้ปีนี้คนในครอบครัวไม่พร้อมหน้าพร้อมตากัน จึงมีการประกอบพิธีกรรมอย่างเรียบง่ายด้วยการไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน ก่อนเดินทางมาไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าแม่กวนอิม เพื่อเติมน้ำมันตะเกียง จุดประทัด ขณะที่บางส่วนระบุว่าไม่ได้หยุดงาน หลังประกอบพิธีกรรมเสร็จกลับไปทำงานต่อ

อย่างไรก็ดี บรรยากาศ ในเขตเทศบาลเมืองเบตง บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา ไม่ค่อยมีการตั้งโต๊ะไหว้ หรือมีการจุดประทัดเช่นทุกปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะมีเพียงการจัดพิธีกรรมเล็กๆ และแจกอั่งเปาให้ลูกหลานกันภายในครอบครัว

เหตุผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประเทศมาเลเซียที่ติดกับอำเภอเบตงปิดด่านมาตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดอำเภอเบตงก็ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่รอบแรกทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอเบตง ซบเซามากว่า 2 ปีเศษ
โดยบรรยากาศเงียบเหงาไม่คึกคักเหมือนช่วงไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะหากเป็นช่วงปกติในพื้นที่อำเภอเบตง จะเต็มไปด้วยชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ ที่เดินทางมารวมญาติเพื่อเยี่ยมญาติทางฝั่งไทยในวันตรุษจีนทำให้มีเงินสะพัดในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท ทำให้สถานประกอบการต่างๆคึกคักเป็นพิเศษ ซึ่งปีนี้ผิดไปจากปีที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง

ข่าว..เจษฎา สิริโยทัย อ.เบตง จ.ยะลา โทร.064-126-5593 – 080-036-2786

ลักลอบโค่นไม้เหนือทะเลสาบเขื่อนบางลาง ต้นน้ำแม่น้ำปัตตานี

ยะลา เจ้าหน้าที่คณะทำงานพิเศษ กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้าสนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบลักลอบตัดไม้ทำลายป่าพื้นที่ใหม่ แนวเทือกเขาสันกาลาคีรี พื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำปัตตานี เหนือทะเลสาบเขื่อนบางลาง ใกล้กับชายไทย-มาเลเซีย

วันนี้ (31ม.ค.65) ภายใต้การสั่งการของ พลโท เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผบ.ฉก.ยะลา และ ฉก.ตชด.44 ให้คณะเจ้าหน้าที่ แผนกภัยความมั่นคงฯ กปก.สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. สนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันออกตรวจพิสูจน์ทราบ พื้นที่ป่าไม้สมบูรณ์ถาวร พื้นที่ป่าสงวนต้นน้ำเพื่อกิจการนิคม ถูกลักลอบตัดไม้ทำลายป่าพื้นที่ใหม่ ณ บ้านดินเสมอ ม.5 ต.คีรีเขต อ.ธารโต จ.ยะลา บริเวณพิกัด QG 30849 82334 เนื่องจากได้รับรายงานว่ามีกลุ่มบุคคล ขึ้นไปลักลอบตัดไม้ทำลายป่าพื้นที่ใหม่ เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพื้นที่ต้นน้ำ คลองดินเสมอ แม่น้ำปัตตานี เหนือทะเลสาบเขื่อนบางลาง จำนวนหลายแปลง ใกล้กับชายไทย-มาเลเซีย

หลังได้รับรายงานคณะเจ้าหน้าที่เดินเท้าจากจุดจอดรถขึ้นไปบนภูเขาประมาณ 2 กม ห่างจากแนวเขตแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ประมาณ 700 เมตร ที่ความสูงจากรระดับน้ำทะเลปานกลาง 773 เมตร ตรวจพบพื้นที่ป่าไม้สมบูรณ์กำลังถูกทำลายใหม่ มีการตัดโค่นต้นไม้มีค่าขนาดเล็ก-ขนาดใหญ่ จำนวนมาก ลักษณะยังตัดโค่นไม่เสร็จกลางป่าลึกบนภูเขาสูง พบต้นไม้มีค่ายืนต้นขนาดเล็ก-ขนาดใหญ่ ถูดตัดด้วยเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์จำนวนมาก ยังไม่ตัดฟันต้นขนาดเล็กและไม้พื้นล่าง ตรวจวัดพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายใหม่ได้จำนวน 6 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา รัฐได้ความเสียหายเป็นเงิน 956,625 บาท คาดว่าเป็นการตัดโค่นไม้ทำลายป่าเพื่อยึดถือครอบครองเพื่อทำการเกษตร เจ้าหน้าที่ตรวจวัดไม้ถูกตัดล้มคาตอ จำนวน 18 ต้น/ท่อน ได้แก่ .ไม้สยา ไม้ตีนเป็ด ไม้มังคะ ไม้พิกุลป่า ไม้กาลอ ไม้ไข่เขียว ไม้เปรียง ไม้จำปา ไม้ก่อ ไม้ตะแบก ไม้ยวน ไม้จวง และไม้ขนุนปาน

ขณะตรวจสอบไม่พบผู้กระทำความผิด และไม่พบอุปกรณ์ในการตัดไม้ทำลายป่า แต่อย่างใด คาดว่าเพิ่งหลบหนีไป เจ้าหน้าที่ชุดเข้าตรวจสอบได้มอบหมายให้ จนท.นิคมสร้างตนเองเบตง และ จนท.หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ยล.3 (ลำพะยา-บันนังสตา-ฮาลา) จัดทำบันทึกรายละเอียดรายละเอียด รวบรวมเก็บวัตถุพยานและสิ่งของกลางอื่นๆ โดยกล่าวหาว่า กลุ่มบุคคลที่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ลักลอบแปรรูปไม้ กระทำความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 , พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 นำเรื่องร้องทุกข์ต่อ พงส.สภ.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา เพื่อดำเนิน การตามกฎหมายต่อไป

 

ข่าว..เจษฎา สิริโยทัย อ.เบตง จ.ยะลา โทร.064-126-5593 – 080-036-2786

สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุโขทัย ดำเนินโครงการ 3 ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม)

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565 สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุโขทัย ร่วมกับวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี เทค) ดำเนินโครงการ 3 ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม) ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุโขทัย โดยรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าทำงานกับสถานประกอบการ พร้อมทั้งศึกษาต่อระดับ ปวช. และ ปวส. ระหว่างทำงาน

โดยมีสถานประกอบการชั้นนำเข้าร่วมรับสมัคร สัมภาษณ์งาน และชี้แจงรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ให้แก่นักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 6 แห่ง มาเข้าร่วม ณ สำนักงานฯ จำนวน 1 แห่ง ผ่านระบบ google meet จำนวน 5 แห่ง มีนักเรียนสมัครและได้รับการคัดเลือก จำนวน 34 คน จำแนกตามสถานประกอบการ ดังนี้ 1) บจก.เฟดเดอรัล อีเลคตริค จำนวน 3 คน 2) บจก.เซ็นทรัล กรุ๊ป จำนวน 17 คน 3) บมจ.เดอะ ไมเนอร์ฟู้ด กรุ๊ป จำนวน 4 คน 4) บจก.ซัมมิท อีเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จำนวน 3 คน 5) บจก.เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำนวน 6 คน 6) บจก.สยามทาโก้ จำนวน 1 คน

ในการนี้ นางทัศนีย์ พงษ์ภู่ นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนจัดหางานจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานกล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

 

กิตติ พรดวงจันทร์ สุโขทัย 0821632939

นครนายก กล้องวงจรจับภาพคนร้ายงัดหน้าต่างบ้านเข้ามาลักทรัพย์ได้ยินเสียงเด็กร้องตกใจหลบหนี

เมื่อเวลา 00.31 น. ของวันที่ 31 มกราคม 2565 ศุนย์วิทยุเมืองนายกได้รับแจ้งเหตุมีคนร้ายเข้ามาจะลักทรัพย์ภายในบ้าน บริเวณร้านขายปลาหมึกย่างริมทาง บ้านเลขที่ 4 หมู่ 4 ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก อยู่ใกล้แถวหมู่บ้านพรศรัณ เจ้าหน้าที่สายตรวจรถจักรยานยนต์ ได้ไปตรวจสอบยังบ้านที่เกิดเหตุแล้ว และได้ประสานตำรวจสายสืบเมืองนครนายก ให้เข้ามาหาข้อมูลเก็บหลักฐานในเช้าของวันนี้ พบนายพุทธิชัย เกตุบรรจง อายุ 31 ปี และคุณกาญจนา เพิ่มเพียร อายุ 30 ปี สามีภรรยารอเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ที่หน้าบ้านได้พาเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูห้องนอนและชี้จุดที่คนร้ายได้เข้ามาทางหน้าต่างของบ้านมีรอยนิ้วมือติดอยู่ที่กระจก เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้เก็บข้อมูลหลักฐานเพื่อติดตามตัวคนร้ายมาดำเนินคดีต่อไป

จากการให้สัมภาษณ์ของคุณกาญจนา เพิ่มเพียร เจ้าของบ้านที่เกิดเหตุได้เล่าว่าเมื่อช่วงเที่ยงคืนกว่า ตนกับสามีได้ออกมานั่งติวหนังสือเตรียมสอบบรรจุเป็นราชการครูที่หน้าบ้านโดยปล่อยให้ลูกสาวนอนหลับอยู่ที่ห้องนอนโดยติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้เพื่อดูลูกสาวผ่านทางโทรศัพย์มือถือ และต่อมาได้ยินเสียงลูกสาวร้องไห้เสียงดังจึงได้ดูที่โทรศัพย์มือถือพบมีชายวัยรุ่นตัดผมทรงสกินเฮด ใส่เสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น ได้เข้ามาในห้องนอนและได้เข้าไปจับตัวของลูกสาวทำให้ลูกสาวตกใจร้องไห้เสียงดังทำให้คนร้ายตกใจกลัวรีบโดดหนีออกทางหน้าต่างเข้าป่าหลบหนีไปได้ ส่วนทรัพย์สินคนร้ายยังไม่ได้เอาอะไรไป จึงอยากจะฝากถึงทุกคนที่ได้ดูข่าวนี้พอจะมีบาะแสรู้ตัวคนร้ายว่าเป็นใคร แจ้งมาได้ที่ 090-3877031 คนร้ายคนนี้กล้ามากที่เข้ามาถึงในบ้านได้ และฝากเจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยติดตามตัวคนร้ายคนนี้มาดำเนินคดีให้ได้ เนรมิต มงคลกิตติกานต์
รัชชานนท์ เนินใหม่
ข่าวจังหวัดนครนายก

กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ

กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ

กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ( บก.คฟป.ทภ.3 สน. ) ตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ วันที่ 31 ม.ค.65 พบว่า ภาคเหนือ มีค่าPM 2.5 เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 14 – 63 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร , ค่า PM 10 ระหว่าง 27 – 88 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ ค่า AQI อยู่ระหว่าง 14 – 131 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยวันนี้ ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จว.พ.ย. และ ต.ในเมือง อ.เมือง จว.พ.ล.มีค่า PM 2.5 ,PM. AQI เฉลี่ยสูง เริ่มส่งผลกระทบกับสุขภาพของประชาชน

สำหรับสถานการณ์จุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (ดาวเทียมระบบ VIIRS) ห้วงวันที่ 31 ม.ค.65 พบเกิดจุดความร้อนสะสมจำนวน 548 จุด มากกว่าวันเดียวกันของปี 64 จำนวน 133 จุด โดยจุดความร้อนวันนี้ส่วนใหญ่พบในจังหวัดอุตรดิตถ์ ลำปาง แพร่ และจังหวัดพะเยา ซึ่งส่วนมากเป็นพื้นที่ป่าสงวน 242 จุด รองลงเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 199 จุด และพื้นที่เกษตร จำนวน 41 จุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเมื่อวาน พื้นที่เผาไหม้ลดลง แต่ค่าฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น สภาพอากาศโดยรวมแย่ลง
ในส่วนของ กอ.รมน.จังหวัด ก.พ. ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดับไฟในพื้นที่การเกษตร พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์ งด ละ เลิกเผา 3 ครั้งในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.ขาณุวรลักษบุรี จว.ก.พ. , ส่วน กอ.รมน.จังหวัด ช.ม. ร่วมกับส่วนราชการ

ที่เกี่ยวข้องลาดตระเวนป้องปรามการจุดไฟเผาป่า, ทำแนวกันไฟ และได้ประชาสัมพันธ์รณรงค์การป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง 4 ครั้ง ในพื้นที่ อ.แม่ออน และ อ.ดอยเต่า จว.ช.ม. ขณะที่ กอ.รมน.จังหวัด พ.ย. ร่วมกับส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่จัดทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่า 2 ครั้ง ในพื้นที่ อ.แม่ใจ และ อ.ภูกามยาว จว.พ.ย.
ในส่วนของชุดปฏิบัติการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ร.7 ร่วมกับส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ ทำแนวกันไฟ ระยะทางประมาณ 1.8 กม. พร้อมทั้งปลุกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ที่ ป่าชุมชน บ้านสันคะยอม ต.ป่าสัก อ.เมือง จว.ล.พ. ,ส่วนชุดปฏิบัติการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน มทบ.34
เข้าพบปะกับผู้ใหญ่บ้าน ม.12 บ.ชนแดน ต.บ้านร้อง อ.งาว จว.ล.ป. เขตพื้นที่รอยต่อกับ จว.พ.ย. พร้อมขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ประกาศเสียงตามสาย และได้มอบโปสเตอร์, แผ่นพับ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ ,ส่วน ชุดปฏิบัติการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน มทบ.37 เข้าพบ นาย เฉลิม ณ สุวรรณ กำนัน ต.โปร่แพร่ อ.แม่ลาว จว.ช.ร. เพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ พร้อมทั้งมอบแผ่นซีดีโปสเตอร์, แผ่นพับ เพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายเสียงประจำหมู่บ้าน และติดประกาศประชาสัมพันธ์บริเวณศูนย์ประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้าน
ในส่วนของชุดปฏิบัติการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน มทบ.310 ลงพื้นที่พบครูและนักเรียนเพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง และสร้างการรับรู้ปลูกจิตสำนึกให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวัง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์” 61 วัน อันตราย ห้ามเผาเด็ดขาด ” ในห้วงวันที่ 1 มี.ค. – 30 เม.ย. 65 และบทลงโทษตามกฎหมายในพื้นที่ รร.บ้านศรีคีรีรักษ์ ต.เชียงทอง อ.วังเจ้า จว.ต.ก ,ขณะที่ ชุดปฏิบัติการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน .ฉก.ร.7 ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันไฟป่าหมอกควัน และขอความร่วมมือในการงดเผา ในพื้นที่ บ.ห้วยผึ้ง ต.ห้วยผึ้ง อ.เมือง พร้อมสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื่น ตามโครงการป่าเปียก จำนวน 2 ครั้ง ในพื้นที่ ต.แม่นาเติง และต.เวียงเหนือ อ.ปาย จว.ม.ส.
ทั้งนี้กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ยังคงติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อม ประสานส่วนราชการในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองห้วงเดือนมกราคม – เมษายน 2565

สู้ไฟป่าด้วยภูมิปัญญา “ จาก ฝาย สู่ ป่าเปียก ” หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 สานต่อการทำฝายชะลอน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้ง-ไฟป่าอย่างยั่งยืน ทั่วป่าอำเภอปาย แม่ฮ่องสอน

สู้ไฟป่าด้วยภูมิปัญญา “ จาก ฝาย สู่ ป่าเปียก ” หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 สานต่อการทำฝายชะลอน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้ง-ไฟป่าอย่างยั่งยืน ทั่วป่าอำเภอปาย แม่ฮ่องสอน

ชุดขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน กองร้อยทหารราบที่ 723 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 ร่วมกันดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อสร้างป่าเปียกในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ฐานปฏิบัติการดอยลิกิ และ ป่าต้นน้ำ
บ้านยาม ตำบลแม่นาเติง, , ฐานปฏิบัติการปายสองแง่ ตำบลเวียงเหนือ , ป่าต้นน้ำ ฐานปฏิบัติการดอยแม่ยะ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

รวมถึงกำลังพลชุดปฏิบัติการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน กองร้อยทหารราบที่ 723 ร่วมกับ เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง และราษฎรบ้านเมืองน้อย ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อสร้างป่าเปียก ตามมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ บ้านเมืองน้อย ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทั้งนี้ การสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 นี้เป็นไปตามมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันอย่างยั่งยืน ของ กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ

กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า เนื่องจากการกระจายความชุ่มชื้นมากขึ้น สร้างระบบการควบคุมไฟป่า ด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break), ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีเพิ่มขึ้นและแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย, ช่วยกับเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง, ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางด้านชีวภาพให้แก่พื้นที่ และทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ และสัตว์ป่าต่างๆ ตลอดจนมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรมอีกด้วย

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com