พะเยา แห่ขอโชคโค้งสุดท้ายชาวบ้านจุดประทัด จุดธูปขอโชคท้าวเวสสุวรรณ

พะเยา แห่ขอโชคโค้งสุดท้ายชาวบ้านจุดประทัด จุดธูปขอโชคท้าวเวสสุวรรณ

วันที่ 29 มี.ค 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรดาชาวบ้านและคอหวย ทั้งในเรื่องออกพื้นที่ต่างพากันนำดอกไม้ธูปเทียนประทัด นำดอก กุหลาบแดงพวงมาลัยแดงน้ำแดง มาเซ่นไหว้ขอโชคลาภท้าวเวสสุวรรณวัดเชียงทอง บ้านศาลา ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยากันคึกคักก่อนวันหวยออก

หลังจากที่ชาวบ้านได้มาขอโชคลาภและถูกกันไปหลายงวด ทำให้งวดที่จะถึงนี้ชาวบ้านคอหวยต่างพากันมาขอโชคด้วยการจุดธูปเสี่ยงทายและจุดประทัด หลายหมื่นนัดได้เลข 2 หางประทัด และธูป เห็นตัวเลข 2 ตัว 17 และ3 ตัว 484 -955-055 ดั่งใจหมายพร้อมใช้โทรศัพท์มือถือถ่าย หลังจากนั้นจะนำไปเสี่ยงโชคซื้อลอตเตอรี่ในวัน ที่ 1 เมษายนนี้

 

สำหรับองค์ท้าวเวสสุวรรณ ตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายหน้าวิหารวัดเชียงทอง โดยองค์ท้าวเวสสุวรรณมีความสูง 1.20 เมตรและเป็นเนื้อทองเหลืองมีรูปร่างคล้ายท้าวเวสสุวรรณทั่วไปแต่ที่แปลกบนเศียรของท้าวเวสสุวรรณจะมีองค์พระพุทธรูป และจะมคเขี้ยว 2 ชั้นซึ่งทางด้านเจ้าอาวาสวัดเชียงทองได้นำมาประดิษฐานข้างวิหารหลังจาก นั้นมีชาวบ้านได้มาขอโชคลาภและต่างไม่ผิดหวังสักงวดซึ่งวันนี้ทางชาวบ้านคอหวยได้พากันมาขอโชคลาภด้วยเช่นกันและได้เลข 3 ตัว 2 ตัวตามที่ได้จุดธูปและจุดประทัดสำหรับเลข 2 ตัวได้แก่ 17 และสามตัว 484 -955-055 ซึ่งต่างก็พากันถ่ายรูปไว้เพื่อนำไปเสี่ยงโชคซื้อสลากกินแบ่งวันที่ 1 เมษายน ที่จะถึงนี้

พะเยา ห้องสมุดมีชีวิต Phayao Learning City Fest & Forum3 เปิด “อุทยานการเรียนรู้พะเยา” (TK Park Phayao)

วันที่ 29 มีนาคม 2566 โครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เข้าสู่ UNESCO ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา จัดกิจกรรม Phayao Learning City Fest & Forum3 และเปิดอุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK ParkPhayao) โดย ว่าที่ ร.ต. ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ศ. ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และผู้เกี่ยวข้อง
ร่วมเปิดงาน ที่เทศบาลเมืองพะเยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา สถาบันอุทยานการเรียนรู้ ได้จัดตั้งขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย กล่าวว่า โครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เข้าสู่ UNESCO ระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) และพัฒนาคนให้มีทักษะเหมาะสมกับศตวรรษที่ 21

ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม Phayao Learning City Fest & Forum3 และพิธีเปิดอุทยานการเรียนรู้พะเยา (TK ParkPhayao) กล่าวว่า ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน จึงเห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาขับเคลื่อนจังหวัดพะเยา อันก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน หลายหน่วยงานมีการจัดการเรียนรู้ให้แก่ประชาชน ทั้งการสร้างพื้นที่สำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำภายใต้แนวคิด ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และยังสร้างความภาคภูมิใจแก่คนในพื้นที่ ทุกส่วนงาน หน่วยงาน ชุมชน และประชาชนทุกคนล้วนเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้จังหวัดพะเยาได้เป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของUNESCO


สำหรับอุทยานการเรียนรู้พะเยา TK Park Phayao “ห้องสมุดมีชีวิตแห่งแรกในจังหวัดพะเยา” ริมกว๊านพะเยา เป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย สามารถ สมัครสมาชิกฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้บริการยืมหนังสือ ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ และ INTERNET เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 19.00 น. วันอังคาร – วันอาทิตย์ (ปิดบริการวันจันทร์) ติดต่อสอบถาม โทร.054-072252 Facebook

ภายในอุทยานมี KIDS ZONE มีพื้นที่สำหรับเด็กและเยาวชน แหล่ง รวมหนังสือ สือ และของเล่นเสริม สร้างพัฒนาการหลากหลายที่แบ่ง ตามช่วงวัย พื้นทีแสดงผลงานของชุมุชน การอบรมเชิงปฏิบัติการ และพื้นที่ การมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเมืองพะเยา เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
LIVING LIBRARY ห้องสมุดมีชีวิตเป็นพื้นที่ สื่อที่ทันสมัยหลากหลาย ให้บริการด้านหนังสือ และผลิตภัณฑ์จากชุมชน โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองพะเยา และกิจกรรม การแข่งขัน หุ่นยนต์อัจฉริยะ ด้วยดังกล่าว

อบต.เขาพระ อำเภอเมืองนครนายก ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินจนประสบผลสำเร็จ

อบต.เขาพระ อำเภอเมืองนครนายก ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินจนประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ บริหารจัดการน้ำด้วยระบบของธนาคารน้ำใต้ดินจากต้นน้ำ สู่กลางน้ำสู่ ปลายน้ำ ทั้ง2 ระบบ คือ ระบบเปิด และระบบ ปิด ในเฟสที่ 1 และ 2 ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9

นายพงษ์สวัสดิ์ ธีระวัฒนกุล นายก อบต.เขาพระ นายนิกร มุขดา ประธานสภาอบต.เขาพระ นายสมบัติ ศรแก้ว รองประธานสภา อบต.เขาพระ สมาชิกสภา อบต.เขาพระ ทั้ง 13 หมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ กองช่าง อบต.เขาพระ ร่วมกับนายชาตรี๊ ศรีวิชาฐา นายก อบต.เก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ต้นแบบโครงการ ธนาคารน้ำใต้ดินแห่งประเทศไทย โดยหลังจากที่ได้ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินจนประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ บริหารจัดการน้ำด้วยระบบของธนาคารน้ำใต้ดินจากต้นน้ำ สู่กลางน้ำสู่ ปลายน้ำ ทั้ง2 ระบบ คือ ระบบเปิด และระบบ ปิด ในเฟสที่ 1 และ 2 ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยได้ขยายผลทำการวางแผน ออกแบบระบบการ จัดการน้ำด้วยรูปแบบธนาคารน้ำใต้ดินเฟสที่ 3 ซึ่งได้กำหนดจุดและตำแหน่งเพิ่มเติมอีก 15 จุด ในพื้นที่ตำบลเขาพระหมู่ ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 หากได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการธนาคารน้ำฯ สำหรับดำเนินงานครบ ทุกจุดตามแผนงานที่กำหนดไว้ จะแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ตำบลเขาพระได้แบบเบ็ดเสร็จ และยั่งยืนควบคู่ไปกับ การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงธรรมชาติ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมอาชีพการปลูกพืชผักปลอดภัยสู่เกษตร อินทรีย์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำตามลำคลองต่างๆ ในพื้นที่ตำบลเขาพระ เพื่อเพิ่มแหล่งอาหารให้กับพี่น้องประชาชนได้ อีกทั้งยังส่งผลให้เกษตรกรมีน้ำไว้ใช้ในกิจการ ของตนเองตลอดทั้งปี และในอนาคตข้างหน้าในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตำบลเขาพระ ซึ่งจากเดิม ตามพระราชบัญญัติการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน กำหนดให้มีการทำบ่อดักไขมัน อบต.เขาพระจะกำหนดให้เพิ่มการทำบ่อธนาคารน้ำ ใต้ดินระบบปิดทุกบ้าน (โครงการ 1 บ้าน 1 บ่อ) เพื่อรองรับน้ำเสียจากการใช้น้ำในครัวเรือน และบ่อดักไขมันควบคู่ไปพร้อมกัน สิ่งเหล่านี้คือ ความมั่นคงยั่งยืนที่อยากให้เกิดขี้นในพื้นที่ตำบลเขาพระ ควบคู่ไปกับวิถีการดำเนินชีวิตสู่รุ่นลูกรุ่นหลานตลอดไป

สรุปโครงการธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 2 ระบบ ตามแผนงานนโยบายที่กำหนดไว้ 3 เฟส รวมทั้งหมด 37 จุด
เฟสที่ 1 จำนวน 6 จุด 1. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย (กลุ่มบ้านเนินแพง) หมู่ที่ 9 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อ ตกตะกอน , บ่อชะลอน้ำ,บ่อรับน้ำ (ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว) 2. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย (ศาลาเอนกประสงค์) หมู่ที่ 9 จำนวน 4 บ่อ 3. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองโกรกกะโหย่ง (ซอยสามัคคี2) หมู่ที่ 12 จำนวน 9 บ่อ ประกอบด้วยบ่อ ตกตะกอน 6 บ่อ, บ่อรับน้ำ 3 บ่อ 4. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองมะนาวตอนบน หมู่ที่ 12 จำนวน 6 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 3 บ่อ, บ่อรับน้ำ 3 บ่อ 5. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองทรายทอง หมู่ที่ 12 จำนวน 3 บ่อ 6.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองห้วยทราย (สะพานเขาแหลม) หมู่ที่ 13 จำนวน 4 บ่อ
เฟสที่ 2 จำนวน 16 จุด 1. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ) บริเวณคลองโก1 หมู่ที่ 13 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน ,บ่อสังเกตการณ์(บ่อบาดาล),บ่อเติมน้ำ 2. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองโก2 หมู่ที่ 13 จำนวน 4 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอน้ำ 1บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 3. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองโก3 หมู่ที่ 13 จำนวน 4 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอน้ำ 1บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 4. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองม่วง1 หมู่ที่ 10 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน , บ่อชะลอน้ำ, บ่อเติมน้ำ 5. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองม่วง2 หมู่ที่ 10 จำนวน 4 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอ น้ำ 1บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 6. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองม่วง3 หมู่ที่ 10 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ, บ่อเติมน้ำ 7. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองม่วง4 หมู่ที่ 10 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ, บ่อเติมน้ำ 8. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองเข้1 หมู่ที่ 9 จำนวน 5 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอน้ำ 2บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 9. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองเข้2 หมู่ที่ 9 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ,บ่อเติมน้ำ 10. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองเข้3 หมู่ที่ 9 จำนวน 4 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2 บ่อ , บ่อชะลอน้ำ 1บ่อ,บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 11. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองเข้4 หมู่ที่ 8 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน,บ่อชะลอน้ำ,บ่อเติมน้ำ 12. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อวงแหวน) บริเวณคลองเข้5 หมู่ที่ 10 จำนวน 1 บ่อ 13. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย1 (หลังวัดกุตตะเคียน) หมู่ที่ 8 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วย บ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ,บ่อเติมน้ำ 14. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย2 หมู่ที่ 8 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอ น้ำ,บ่อเติมน้ำ 15. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองห้วยทราย3 เชื่อมต่อระหว่าง หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 8 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน, บ่อชะลอน้ำ,บ่อเติมน้ำ 16. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองตาจัน-คลองแสง หมู่ที่ 5 จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 2บ่อ, บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ
เฟสที่ 3 จำนวน 15 จุด 1. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแสง บ้านยายรุณ หมู่ที่ 7 จำนวน 2 บ่อ 2.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแสง มุมเสบียง หมู่ที่ 7 จำนวน 4 บ่อ 3.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด บริเวณคลองแสง หน้าวัดบ้านขาม หมู่ที่ 7 จำนวน 4 บ่อ แบ่งเป็น บ่อตกตะกอน 3 บ่อ บ่อเติมน้ำ 1 บ่อ 4.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ และกำแพงกันน้ำ) บริเวณคลองวังตูม หน้าวัดวังตูม หมู่ที่ 1 จำนวน 2 บ่อ 5.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อวงแหวน) บริเวณสระอาเหลา บ้านเกาะกระชาย หมู่ที่ 2 จำนวน 1บ่อ 6.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้ง หมู่ที่ 1 จำนวน 3 บ่อ 7.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้ง หมู่ที่ 6 จำนวน 3 บ่อ 8.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้งฝายคอนกรีต หมู่ที่ 6 จำนวน 3 บ่อ 9.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้งจุดที่ 3 หมู่ที่ 6 จำนวน 3 บ่อ 10.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้งจุดที่ 4 หมู่ที่ 6 จำนวน 2 บ่อ 11.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด (บ่อเติมน้ำ) บริเวณคลองแล้ง หมู่ที่ 7 จำนวน 3 บ่อ 12.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ) บริเวณซอยอาระยา บ้านเกาะกระชาย หมู่ที่ 2 จำนวน 2บ่อ
13.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ) บริเวณซอยเจริญสุข บ้านเกาะกระชาย หมู่ที่ 2 จำนวน 2บ่อ 14.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ+รางระบายน้ำไร้ท่อ) บริเวณเขาไม้พลวง หมู่ที่ 4 จำนวน 2บ่อ 15.ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด (แบบผันน้ำ) หมู่ที่ 7 จำนวน 3 บ่อ


สมบัติ เนินใหม่//รัชชานนท์ เนินใหม่// ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครนายก

ก.แรงงาน ผนึกกำลัง 3 มูลนิธิ ลงนามความร่วมมือ ส่งเสริมคนพิการมีงานทำ ยกระดับคุณภาพชีวิต

วันที่ 29 มีนาคม 2566 นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วย “การส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ” ระหว่าง กระทรวงแรงงาน โดย กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ร่วมกับ มูลนิธิเลนำคิน มูลนิธิภาณี ยิบอินซอย และมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โดยมี บาทหลวงภัทรพงศ์ ศรีวรกุล ประธานมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ประธานมูลนิธิเลนำคิน ประธานมูลนิธิภาณี ยิบอินซอย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี ร่วมให้การต้อนรับ ณ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

นายสุรชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน มีนโยบายสำคัญเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคใน “กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ” โดยผู้พิการถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่จะต้องส่งเสริมให้มีงานทำ มีรายได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงแรงงานพยายามดำเนินการเพื่อให้คนพิการเข้าถึงข้อมูลตำแหน่งงานว่าง การแนะแนวอาชีพ การฝึกอาชีพ การพัฒนาฝีมือ ตลอดจนการฟื้นฟูศักยภาพเพื่อให้ผู้พิการสามารถทำงานและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ กระผมขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณทุกภาคส่วน ที่ร่วมมือกันทำให้คนพิการได้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล และกระทรวงแรงงานที่จะให้คนไทยทุกคนมีความสุขด้วยกันโดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” และในโอกาสที่มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนา คนพิการ มูลนิธิเลนาคิน มูลนิธิภาณี ยิบอินซอย ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ได้แก่ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วย “การส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ”

นายสุรชัย กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการข้อมูลการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมด้านการฟื้นฟูด้านอาชีพแก่คนพิการ บริการฝึกอาชีพและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน บริการแนะแนวอาชีพและจัดหางาน การพัฒนาผู้ฝึก การให้บริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีต่างๆ และรวบรวมข้อเสนอในการพัฒนานโยบาย หรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทาของคนพิการอีกด้วย นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่แสดงออกถึงการรวมพลังของภาครัฐ และภาคเอกชนในการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันทำให้คนพิการได้มีงานทำ มีรายได้ และ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มุ่งดูแลคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมการมีงานทำแก่แรงงานทุกกลุ่ม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

กาฬสินธุ์เตรียมส่งปปช.เชือดคดีตำรวจสืบเมืองกาฬสินธุ์รีดเงินยาบ้า

กาฬสินธุ์เตรียมส่งปปช.เชือดคดีตำรวจสืบเมืองกาฬสินธุ์รีดเงินยาบ้า พนักงานสอบสวนเตรียมสรุปสำนวนคดีชุดสืบสวนสภ.เมืองกาฬสินธุ์เรียกรับเงิน 5 แสนบาทแลกปล่อยตัวคดียาเสพติดให้กับปปช.ลงดาบ เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ

จากกรณีตำรวจชุดสืบสวนสภ.เมืองกาฬสินธุ์ 3 นาย ถูกตำรวจชุดสืบสวนตำรวจภูธร จ.กาฬสินธุ์จับกุมคาห้องสืบสวนภายในโรงพัก สภ.เมืองกาฬสินธุ์ หลังร่วมกันเรียกรับเงินจากญาติผู้ต้องหาคดียาเสพติด 5 แสนบาท แลกกับการไม่ดำเนินคดี ซึ่งหลังเกิดเหตุ พล.ต.ต.สุวรรณ์ เชี่ยวนาวินธวัช ผบก.ภ.จว.กาฬสินธุ์ สั่งการให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาด และเบื้องต้นได้มีคำสั่งให้ออกราชการไว้ก่อน 3 ราย และแจ้งข้อกล่าวหาตามกฎหมาย ส่วนอีก 8 นายที่ถูกกล่าวหาซัดทอดอยู่ระหว่างการสอบสวนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่นั้น

ล่าสุดเมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 29 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุม สภ.เมืองกาฬสินธุ์ พ.ต.อ.อิทธเดช สุนทร ผกก.สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ประชุมร่วมกับ พ.ต.ท.สุเทพ ภูกัณหา รองผกก.(สอบสวน) สภ.เมืองกาฬสินธุ์ และพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี เพื่อติดตามความคืบหน้าของคดี

โดยพ.ต.อ.อิทธเดช สุนทร ผกก.สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ระบุว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีเดียวกัน แต่ขั้นตอนต้องแบ่งการสอบสวนเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรกเป็นการจับกุมตำรวจชุดสืบสวน 3 นาย ประกอบด้วย ยศ ด.ต. อายุ 27 ปี, ยศ ส.ต.อ. อายุ 30 ปี และ ยศ ส.ต.อ. อายุ 27 ปี 3 ราย พร้อมของกลางเงินสดจำนวน 364,000 บาทในห้องสืบสวน ซึ่งเป็นการจับกุมตัว พร้อมของกลาง หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้สอบปาก 3 นายแล้ว และทั้งหมดให้การปฏิเสธ ขอไม่ให้การในชั้นสอบสวน และขอให้การในชั้นศาล รวมทั้งได้ตำแหน่งประกันตัวออกไป

ทั้งนี้พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา เป็นเจ้าพนักงานร่วมกัน เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่, เป็นเจ้าพนักงานหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ทั้งนี้ในส่วนเรื่องของวินัยทางผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.กาฬสินธุ์ ได้มีคำสั่งออกจากราชการไว้ก่อน ตั้งกรรมการสอบวินัย และขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน ส่งให้กับป.ป.ช.เพื่อดำเนินการตามขั้นของกฎหมาย

พ.ต.อ.อิทธเดช กล่าวต่อว่า ในส่วนที่สอง ซึ่งในวันจับกุมผู้เสียหายมีการให้การว่ามีตำรวจชุดสืบสวนอีก 8 นายเกี่ยวข้อง ประกอบด้วยนายตำรวจยศ “ร.ต.อ.”, นายตำรวจยศ “ร.ต.ท.”, ตำรวจยศ “ด.ต.” 2 นาย, ตำรวจยศ “จ.ส.ต.” 3 นาย และตำรวจยศ “ส.ต.อ.” อีก 1 นายนั้น ขณะนี้พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบปากคำผู้เสียหายแล้ว และอยู่ระหว่างการวบรวมพยานหลักฐานว่าทั้ง 8 นาย มีส่วนเกี่ยวข้องจริงหรือไม่ มีกี่คน และ จะเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด ซึ่งหลังจากนั้นจะจะเรียกตัวทั้ง 8 นายมาสอบปากคำ ก่อนสรุปสำนวนส่งให้กับปปช.พิจารณาในการแจ้งข้อกล่าวหา พร้อมกันกับตำรวจ 3 คนแรก เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ คาดว่าจะสามารถสรุปส่งให้กับปปช.ได้ในเร็วๆนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับของกลางยาบ้านั้นจากการตรวจสอบไม่พบว่ามีของกลางยาบ้า 2,000 เม็ดที่กล่าวอ้าง รวมทั้งได้สอบปากคำผู้ที่ถูกคุมตัวมาแล้วก็ให้การว่าไม่มียาบ้า

จันทบุรี เกษตรกรผู้ปลูกลำไยร้องขอความเป็นธรรมจังหวัดหลังผู้ประกอบการไม่จ่ายเงินตามสัญญา

จันทบุรี เกษตรกรผู้ปลูกลำไยร้องขอความเป็นธรรมจังหวัดหลังผู้ประกอบการไม่จ่ายเงินตามสัญญา แต่กลับถูกฟ้องข้อหาผิด พรบ.คอมพิวเตอร์เนื่องจากไปโพสต์ประจานในเฟสบุ๊ค

วันที่ ( 29 มี.ค.66 ) นายปรีชา ผันกระโทน เกษตรกรชาวสวนลำไยพื้นที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี พร้อมเพื่อเกษตรกร ได้เดินทางมาร้องขอความเป็นธรรม กรณีถูกผู้ประกอบการรับซื้อผลไม้ลำไย แจ้งฟ้องข้อหากระทำผิด พรบ.คอบพิวเตอร์หลังจากที่ ตนเองและเพื่อเกษตรกรชาวสวนลำไยด้วยกันไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการขายผลผลิต แล้วได้เงินไม่เป็นไปตามสัญญา แต่กลับถูกฟ้องร้องเรื่องที่ตนเองนำข้อมูลไปโพสต์ในเฟสบุ๊ค

ซึ่งนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีพร้อมด้วย หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว และรับปากจะดำเนินการแก้ไขปัญหา นัดคู่กรณี และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาเจรจาเพื่อหาทางออกเป็นที่พอใจอีกครั้ง เกษตรกรที่เดินทางมาร้องเรียนพอใจจึงแยกย้ายกันกลับบ้าน

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์รวมข่าวภาคตะวันออก

กกต.จันทบุรีจัดประชุมซักซ้อมเตรียมพร้อมการเลือกตั้ง ส.ส.

กกต.จันทบุรีจัดประชุมซักซ้อมเตรียมพร้อมการเลือกตั้ง ส.ส. มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 831 หน่วยจาก 3 เขตจำนวนผู้มีสิทธิ 428,280 คน
วันนี้ ( 29 มี.ค.66 ) ที่ห้องประชุม กกต.จังหวัดจันทบุรี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจันทบุรีได้จัดประชุมคณะกรรมการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง / ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง / คณะอนุกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง และบุคคลเป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานทั้ง 3 เขตเลือกตั้งของจังหวัดจันทบุรีเพื่อซักซ้อมเตรียมการเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 และเลือกตั้งล่วงหน้า วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566

โดยนายอำนาจ ผุสดี ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจันทบุรีเปิดเผยว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้ของจังหวัดจันทบุรียังคงมี 3 เขตเลือกตั้ง แต่ในส่วนของเขตเลือกตั้งที่ 1 มีการเปลี่ยนแปลง รวมพื้นที่อำเภอมะขามบางส่วน เฉพาะ ตำบลท่าหลวง ตำบลมะขาม ตำบลอ่างคิรี และตำบลวังแซ้มมาอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 โดยจังหวัดจันทบุรีมีจำนวนผู้มีสิทธิทั้งสิ้น 428,280 คน( ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2565) มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 831 หน่วย สำหรับผู้มีสิทธิที่ประสงค์เลือกตั้งล่วงหน้าในเขต และนอกเขตขอให้ไปขอลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันอังคารที่ 9 เมษายน 2566 ไปด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจผู้แทนในการขอลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าได้ที่ที่ว่าการอำเภอ หรือทางไปรษณีย์ส่งนายทะเบียนอำเภอ หรือทางเว็บไซต์กกต.https://stat.bora.dopa.go.th/Election/regoutvote/#/main ส่วนการรับสมัคร ส.ส.กำหนดวันรับสมัครในระหว่างวันที่ 3 – 7 เมษายน 2566

โดยเปิดรับสมัครที่สำนักงาน กกต.จังหวัดจันทบุรี และกกต.จังหวัดจันทบุรีมีความพร้อมในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้แล้วอย่างเต็มรูปแบบ และคาดการณ์ว่าผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการในวันเลือกตั้งสามารถรู้ผลอย่างไม่เป็นทางการได้ไม่เกิน 3 ทุ่ม

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์รวมข่าวภาคตะวันออก

มุกดาหาร ชาวบ้านป่งแดงกว่า 30 คน วอนภาครัฐช่วยมาแก้ไขลำห้วยจงอาง

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ชาวบ้านป่งแดง ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ได้ร่วมตัวกันกว่า 30 คน วอนให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยปรับปรุงซ่อมแซมฟื้นฟูบริเวณรอบห้วยจงอางให้กลับมาอยู่ในสภาพเหมือนเดิมภายหลังเมื่อปี 2563 ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรน้ำภาคที่ 11อุบลราชธานีเข้ามาขุดลอกช่องระบายน้ำผ่านไปกว่า 3 ปีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน

นายสมหมาย คำลือ อายุ 60 ปีบ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า
อยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยเข้ามาดูแลและซ่อมแซมปรับปรุงฝายกักเก็บน้ำ ห้วยจงอาง ที่เจอสภาวะน้ำท่วมที่นาจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้ เป็นเวลากว่า 3 ปี สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 นายสมหมาย คำลือ อายุ 60 ปี บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 11 อุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายได้ตระหนักถึงปัญหาความสำคัญของราษฎรพื้นที่บริเวณรอบห้วยจงอาง ที่เจอสภาวะน้ำท่วมที่นาจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้ เนื่องจากบริเวณสปิลเวย์ปล่อยน้ำท้ายลำห้วยสูงเกินไป จึงไม่สามารถระบายน้ำออกได้ทำให้น้ำเอ่อท่วมที่นาของราษฎรบริเวณใกล้เคียงไม่สามารถทำนาและเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้ ทางชาวบ้านในพื้นที่จึงได้ยินยอมให้ทางเจ้าหน้าที่นำรถแบ็คโฮเข้ามาทำการขุดลอกดิน เปิดช่องทางระบายน้ำ ให้มีสภาพต่ำกว่า สปิลเวย์ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่ท่วมขังพื้นที่ไร่นาชาวบ้านได้ไหล่ผ่านอย่างสะดวก และผ่านไปกว่า 3 ปี แล้ว สภาพของพื้นที่บริเวณรอบห้วยจงอาง มีสภาพพังเสียหาย เพราะถูกน้ำกัดแซะ เสียหายอย่างหนักไปกว่าเดิม แทนที่จะเป็นการแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน แต่กลับมาเพิ่มปัญหาให้ชาวบ้านเสียอีก จึงอยากจะวอนขอความเห็นใจหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงช่วยเข้ามาแก้ไขปรับปรุงให้ชาวบ้านเหมือนเดิม เคยทำหนังสื่อไปยื่นให้ทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดมุกดาหารแล้ว แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น

นายเลิศ บุญเรืองนาม ชาวบ้านป่งเเดง กล่าวว่าสำหรับห้วยจงอาง โดยปกติน้ำจะต้องมีกักเก็บในลำห้วยแต่ภายหลังกลับไม่มีน้ำ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะต้องอาศัยน้ำในการทำการเกษตร ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทั้งหน้าฝนและหน้าแล้ง จึงฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ให้ด้วย เพื่อที่จะให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ในสภาพปกติ

ไกรสมุทร นามโพธิ์ไทร/รายงานจากมุกดาหาร
081-0501177

แพร่ ชาวบ้านบ้านห้วยโป่ง อ.สอง “ร่วมแรงร่วมใจ” ปรับภูมิทัศน์บริเวณประปาภูเขา และซ่อมแซมทำนบห้วยน้ำอุ่น เพื่อความยั่งยืนของหมู่บ้าน

วันที่ ( 29 มีนาคม 2566 ) ที่จุดประปาภูเขา บ้านห้วยโป่ง (ธารน้ำตกแม่สะกิ๋น) หมู่ 7 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านที่สุดท้ายของตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ นำโดย นายจำนงค์ สุขจิต ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นคณะกรรมการบริหารประปาหมู่บ้าน นางสาวปุญวีร์ สะเอียบคง นายสุจินต์ ธรรมวัง นายสวัสดิ์ สุขจิต นายสวัสดิ์ สะเอียบคง นายสุชาติ สุขจิต พร้อมชาวบ้านห้วยโป่ง ร่วมปรับภูมิทัศน์บริเวณจุดรับน้ำประปาภูเขาบ้านห้วยโป่ง หมู่ 7 ต.สะเอียบ(ห้วยแม่สะกิ๋นและซ่อมแซมทำนบ ห้วยน้ำอุ่น เพื่อเป็นการยกระดับน้ำประปาให้เพิ่มขึ้น และความยั่งยืนของหมู่บ้าน

 

 

นายจำนงค์ สุขจิต กล่าวว่า วันนี้ชาวบ้าน บ้านห้วยโป่ง หมู่ 7 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ได้ร่วมแรงร่วมใจในการปรับภูมิทัศน์บริเวณจุดรับน้ำประปาภูเขา และซ่อมแซมทำนบ ห้วยน้ำอุ่น เพื่อเป็นการยกระดับน้ำประปาของหมู่บ้านให้เพิ่มขึ้น เพราะชาวบ้านอยู่กับป่ามาตั้งแต่โบราณกาล พวกเราทุกคนมีความหวงแหนป่า และดูแลป่า จึงทำให้มีน้ำประปาภูเขาใช้ได้ดีตลอดมาและความยั่งยืนของหมู่บ้าน

ก่อนหน้านั้นรับฟังจากรุ่นปู่รุ่นย่าว่า มีการสร้างทำนบแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน มีการทำสะเหวียน มุงหลังคา เพื่อให้ใบไม้ลงมาจุดรับน้ำประปา โดยท่อส่งน้ำเป็นไม้ไผ่ซาง ที่ได้จากป่าบริเวณนั้น และเมื่อ ปี 2546 เจ้าหน้าที่ชุดประชาสัมพันธ์และบูรณาการ หน่วยศึกษาฯ แม่สอง นายประมวล โพธิ เป็นหัวหน้าหน่วย ได้ค้นพบว่า บ้านห้วยโป่ง เป็นหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง จึงมีการสนับสนุนฟื้นฟูระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกชาวชาวบ้าน และสนับสนุนปูน และท่อประปาพีวีซี การสนับสนุนต้นกล้าไม้ให้กับหมู่บ้านตลอด ปัจจุบันมีหน่วยงานเข้ามาสนับการสร้าง สร้างรายได้กับชุมชน ป่าชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชนต่อไป

นางสาวปุญวีร์ สะเอียบคง กล่าวว่า ได้ร่วมพี่น้องชาวบ้าน คณะกรรมการบริหารประปาบ้านห้วยโป่ง ร่วมปรับภูมิทัศน์บริเวณจุดรับน้ำประปาภูเขาและเตรียมปรับพื้นที่ดังกล่าว มีการปลูกต้นไม้หลากหลาย โดยให้แต่ละครอบครัวร่วมกันปลูกต้นไม้ ร่วมดูแลต้นไม้ นอกจากนี้มีซ่อมแซมทำนบห้วยน้ำอุ่น เพื่อยกระดับน้ำให้เพิ่มมากขึ้น ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ความยั่งยืนของหมู่บ้าน

สำหรับบ้านห้วยโป่ง หมู่ 7 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านที่สุดท้ายของตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ระยะทางร่วม 100 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของสำนักงานทางหลวงชนบท เส้นทางคับแคบมาก การสื่อสารไม่ดีเท่าที่ควร โทรศัพท์ใช้โทรเป็นส่วนมาก ระบบไลน์ ใช้งานไม่ได้เป็นอุปสรรคกับหน่วยงานราชการในการทำงาน ที่จะสื่อสารกับผู้นำหมู่บ้าน และพี่น้องชาวบ้าน และที่สำคัญระบบไฟฟ้าดับบ่อยครั้งมาก เป็นอุปสรรคและปัญหาของพี่น้องประชาชน บ้านนาหลวง บ้านนาฝาย บ้านท่าวะ และบ้านห้วยโป่งเป็นอย่างมาก

ญาณัจฉรา โชติถนอมกิจ
ราเชนทร์ โชติถนอมกิจ

แพร่….รายงาน

ก.ธ.จ.สุโขทัยเข้มลงพื้นที่สอดส่องโครงการ ประจำปีงบประมาณ พศ.2566

เมื่อเวลา 09.10น.ของวันที่ 29 มีนาคม 2566 ณ.ห้องประชุม ศรีนคร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดสุโขทัย และคณะฯโดยนาย ชัยคม ศกุนรักษ์ รองประธานกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดสุโขทัยได้เป็นประธานระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดสุโขทัยอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2/2566 และการลงพื้นที่สอดส่องโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของ ก.ธ.จและคณะ

ทั้งนี้ได้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลและที่ปรึกษาคณะกรรมการ เข้าร่วมประชุมตามวาระการประชุมทั้งหมด5วาระ การประชุมพร้อมสรุปการประชุมตามวาระ ทั้งนี้ได้มีการเสนอแนะหน้าที่บทบาทหน้าที่ของคณะธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่พร้อมกันนี้ได้พิจราณาเรื่องสำคัญอาทิ คุณภาพค่าฝุ่นละอองPM2.5 พิจราณาร่างแผนสอดส่องโครงการฯประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 พร้อมการสอดส่องโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและบริการ กิจกรรมก่อสร้างห้องน้ำ ห้องสุขา ประจำศูนย์บริการนักท่องเที่ยว น้ำตกลำเกลียว ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ต.นาเชิงคีรี อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ด้วย