google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

สว.ลงพื้นที่ผลักดันการแก้ไขปัญหาน้ำให้ชาวภูสิงห์ ศรีสะเกษ

สว.ลงพื้นที่ผลักดันการแก้ไขปัญหาน้ำให้ชาวภูสิงห์ ศรีสะเกษ

.
วันที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 นาฬิกา คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนล่าง) นำโดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ รองประธานกรรมการฯ คนที่หนึ่ง ลงพื้นที่ดำเนินโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน โดยมี จ่าเอก สมควร สิงห์คำ นายอำเภอภูสิงห์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม ณ องค์การบริหารส่วนตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
.
โอกาสนี้ ประชาชนได้นำเสนอประเด็นต่างๆ ต่อคณะกรรมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เนื่องจากอ่างเก็บน้ำห้วยศาลาซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของพื้นที่ประสบปัญหาตื้นเขิน ส่งผลให้การผลิตน้ำประปาไม่มีคุณภาพ

ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ ประกอบกับแหล่งน้ำที่ใช้ทำการเกษตรมีไม่เพียงพอ ขณะที่ระบบชลประทานไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จึงขอเสนอแนะให้มีการขุดลอกแหล่งเก็บน้ำที่มีอยู่เดิม และสร้างฝายเก็บน้ำเพิ่มเติม เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
.
นอกจากนี้ ยังได้มีข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาด้านสังคมจากคดีล่วงละเมิดทางเพศ โดยขอให้มีพนักงานสอบสวนเป็นผู้หญิง จะทำให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเพศหญิงมีความกล้าในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคดีอีกด้วย
.
ทั้งนี้ คณะฯ ได้รับทราบประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ โดยกล่าวฝากจังหวัดพิจารณาเร่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ส่วนเรื่องที่เกินอำนาจหน้าที่ วุฒิสภาจะรับไปดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

อนุฯคุ้มครองผู้บริโภค หารือประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

อนุฯคุ้มครองผู้บริโภค หารือประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ภาค 4 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะอนุกรรมาธิการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา นำโดย พลเอก วสันต์ สุริยมงคล ประธานคณะอนุกรรมาธิการ หารือร่วมกับ นายวรรณะ เศรษฐพงศ์ ผู้อำนวยการสำนัก กสทช. ภาค 4 นายรุ่งโรจน์ และสุข ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา นายอดิศร ขางวังข์ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

และคณะ ในประเด็นเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ กรณีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โทรออกหรือรับสายในดินแดนฝั่งไทยแต่ถูกคิดค่าบริการในอัตราสูงแบบบริการข้ามแดนอัตโนมัติหรือโรมมิ่งต่างแดน และการจัดระเบียบสายสื่อสาร และรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของหน่วยงาน เช่น งบประมาณในการนำสายสื่อสารลงดิน ปัญหาการประสานงานเพื่อดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสาร เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลที่ได้รับจะนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาศึกษาตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

วุฒิสภาร่วมบันทึกเทปถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565

วุฒิสภาร่วมบันทึกเทปถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 15.30 นาฬิกา ณ ห้องส่งใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา พร้อมด้วย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา

คนที่หนึ่ง นายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง สมาชิกวุฒิสภา และนางสาวนภาภรณ์ ใจสัจจะ เลขาธิการวุฒิสภา ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2565

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

สุราษฎร์ธานี // หนุ่มฆ่าเมียท้อง 3 เดือนเครียด..!ผูกคอคาห้องขัง สภ.คีรีรัฐฯ ชดใช้กรรม.

รายงาน : พจน์ คำจันทร์

จากกรณีช่วงเช้าวานนี้ (30 มิ.ย. 65) ศูนย์วิทยุ 191 สภ.คีรีรัฐนิคม รับแจ้งเหตุคนถูกยิงเสียชีวิต ที่บ้านถ้ำผึ้ง หมู่ 10 ต.กะเปา อ.คีรีรัฐนิคม ที่เกิดเหตุริมถนนในสวนยางพาราพบศพ น.ส.จันทรัตน์ สวนกูล อายุ 22 ปี ภูมิลำเนาเดิมอยู่ ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตข้างรถจักรยานยนต์ ฮอนด้าเวฟ จนท.พบปลอกกระสุนลูกซองตกอยู่ในที่เกิดเหตุ โดยภายหลังทราบว่าผู้ตายได้ตั้งท้อง 3 เดือนแล้ว

สำหรับผู้ก่อเหตุคือนายวัฒนา สาพิทักษ์ ซึ่งเป็นสามีผู้ตายหลังก่อเหตุได้หลบหนีไป ในเวลาต่อมาญาติได้พาเข้ามอบตัวกับตำรวจ และยึดอาวุธปืนลูกซองยาวที่ใช้ก่อเหตุเอาไว้ได้ เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การสารภาพ และอ้างว่าฝ่ายหญิงด่าบุพการีทำให้บันดาลโทสะใช้อาวุธปืนยิงจนเสียชีวิตคาที่

ผู้สื่อข่าวรายงานล่าสุดว่าวันนี้ (1 ก.ค.65) ช่วงเช้าตรู่ จนท.ที่รับผิดชอบห้องควบคุมผู้ต้องหาได้ทำภารกิจส่วนตัวในห้องน้ำเมื่อออกมาเวลา 06.04 น.ก็พบว่านายวัฒนา ได้ใช้สายร่มของกางเกงกีฬาผูกคอตัวเองกับลูกกรงจึงพยายามเข้าไปช่วยเหลือแต่ผู้ตัองหาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อเปิดกล้องวงจรปิดตรวจสอบพบว่าขณะเกิดเหตุนายวัฒนา อยู่ในห้องขังเพียงคนเดียวไม่มีคนอื่น

จากนั้นได้ปีนขึ้นไปใช้สายร่มกางเกงกีฬาผูกกับเหล็กลูกกรง และได้ทิ้งตัวลงมาจนกระทั่งเสียชีวิต ส่วนสาเหตุคาดว่าเกิดจากความเครียด และเสียใจที่ฆ่าภรรยาตัวเองพร้อมลูกในท้อง ซึ่งทางพนักงานสอบสวนจะทำการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้อง และประสานไปยัง จนท.กู้ภัยมูลนิธิกุศลศรัทธาคีรีรัฐนิคม นำร่างส่งชันสูตรเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

พังงา// รองเลขานุการ ศอ.จอส.ภาค 4 ตรวจเยี่ยมชมวิถีชีวิตชุมชนเกาะปันหยี “บ้านกลางน้ำ”

รายงาน : ปุญญิศา สุวรรณ

วันที่ 28 มิ.ย.65 เวลา 1400 น. กลุ่มจิตอาสานำโดย พล.ท.เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 4 ได้มอบหมายให้ พ.อ.ภัทรชัย แทนขำ รองเลขานุการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 4 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพบปะพี่น้องประชาชนบนเกาะปันหยี จ.พังงา พร้อมทั้งสอบถามความเป็นอยู่ในด้านการประกอบอาชีพ รวมถึงปัญหาต่าง ๆ โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ ประมงพื้นบ้าน การค้าขาย ทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญคือ มุกเกาะปันหยี และน้ำพริกกุ้งเสียบ โดยมี นายประสิทธิ์ เหมมินทร์ รองนายกอบต.ปันหยี, ผู้นำศาสนา, กำนัน, คณะของคนไทยหัวฟู และ ทสปช.จังหวัดพังงา ให้การต้อนรับ

นายประสิทธิ์ เหมมินทร์ รองนายกอบต.ปันหยี กล่าวว่า “เกาะปันหยี ตั้งอยู่บริเวณน้ำตื้นในอ่าวพังงา, เกาะไม้ไผ่ ตั้งอยู่บนเกาะและป่าชายเลนอ่าวพังงา และเกาะหมากน้อย ตั้งอยู่บนเกาะในอ่าวพังงา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามด้วยพื้นที่เป็นแผ่นดินอยู่น้อยนิดนี้ ชาว เกาะปันหยี ใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางหมู่บ้านและศาสนา ส่วนบ้านเรือน ร้านค้า และโรงเรียนตั้งอยู่ในน้ำ

เดิมทีมีทางเดินเชื่อมถึงกันด้วยสะพานไม้ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสะพานปูนในปัจจุบัน เวลาน้ำขึ้น “หมู่บ้านปันหยี” จึงแลดูเหมือนหมู่บ้านลอยน้ำ แต่พอน้ำลงจะเห็นว่าบ้านนับร้อยหลังนั้น ตั้งอยู่บนเสาที่ปักในเลนมาตั้งแต่อดีต โดยบน เกาะปันหยี ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งชุมชนได้ร่วมกันกำหนดกติกาของชุมชนขึ้นมาในการห้ามไม่ให้บุคคลนำ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ขึ้นมาบนเกาะ” นายประสิทธิ์ เหมมินทร์ กล่าว

สุราษฎร์ธานี // กอ.รมน.จังหวัดสุราษฎร์ฯ ประชุมร่วมกับแกนนำมวลชน ทสปช.ท่าชนะ

รายงาน : ปุญญิศา สุวรรณ

วันที่ 28 มิ.ย.65 เวลา 1400 น. ณ ศาลาประชาคมอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไทยอาสาป้องกันชาติ กอ.รมนงภาค 4 อำเภอท่าชนะ ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกับหน่วยงาน กอ.รมน.จังหวัด ซึ่งพ.อ.ณรงค์ ตันติสิทธิพร รอง ผอ.รมน.จังหวัด ส.ฎ. มอบหมายให้ พ.อ.ลิขิต ทองเจือเพ็ชร หน.กลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าว กอ.รมน.จังหวัด ส.ฎ. ดำเนินการกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำมวลชนที่มีอยู่ของทุกส่วนราชการในจังหวัดเพื่อกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมฯ ตามแผนงานโครงการกำกับติดตามและประเมินผล “แผน ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ประจำปี 2565 โดยมี นายวัยวัธน์ ศรีเพชรพูล หัวหน้ากลุ่มงานบริหารการปกครอง เป็นประธาน

นางสำรวม เอี่ยมมี หัวหน้า ทสปช.กอ.รมน.ภาค 4 อ.ท่าชนะ เปิดเผยว่า “ ได้นำสมาชิก ทสปช.เข้าร่วมประชุมกับโครงการของ กอ.รมน.จว.สุราษฎร์ธานี จำนวน 10 นาย เพื่อจะได้ทราบบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานมวลชนร่วมกับมวลชนอื่นๆ โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์ประสานงานมวลชนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และปัญหาความมั่นคงภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับ ทสปช. อ.ท่าชนะ เป็นอำเภอแรกที่ได้เริ่มการขับเคลื่อนงานมวลชน เป็น “ท่าชนะโมเดล” ที่ได้ปฏิบัติตามกรอบข้อบังคับฉบับที่ 1 ว่าด้วยไทยอาสาป้องกันชาติ ทุกประการ จึงทำให้ ทสปช.อ.ท่าชนะสามารถเป็นแกนนำ ชี้แนะ วิธีดำเนินการในการขับเคลื่อน ทสปช.อำเภออื่น ๆ มาร่วมด้วยช่วยกันเมื่อลงปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน” นางสำรวม เอี่ยมมี กล่าว

“สว.วีระศักดิ์” บรรยาย หัวข้อ “กฏหมายกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ให้แก่นักกฏหมายภาครัฐระดับชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

“สว.วีระศักดิ์” บรรยาย หัวข้อ “กฏหมายกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ให้แก่นักกฏหมายภาครัฐระดับชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ณ
โรงแรมเบอค์ลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เป็นวิทยากรบรรยาย หลักสูตร “การพัฒนานักกฏหมายภาครัฐระดับชำนาญการ” สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หัวข้อเรื่อง “กฏหมายกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม”
.
นายวีระศักดิ์ ได้กล่าวถึงตัวอย่างหลายกรณีเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของการออกแบบกฏหมายที่สามารถใช้บริหารจัดการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยมี 4 กรณีตัวอย่าง ดังนี้
.
ตัวอย่างที่ 1 เป็นเรื่องของชุมชนบ้านน้ำพุ จังหวัดราชบุรี ที่ต้องทนทุกข์จากการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายลงปนเปื้อนแหล่งน้ำทางบนดินผ่านระบบน้ำใต้ดินมาเป็นระยะเวลาถึง 20 ปี และทั้งที่มีบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายที่ให้อำนาจแก่ทางการและหลายหน่วยหลายกระทรวงที่จะสามารถขอใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายได้เมื่อมีเหตุจำเป็น แต่ก็ยังไม่เคยมีหน่วยใดขอใช้อำนาจอันครอบคลุมของพระราชบัญญัตินี้
.
ตัวอย่างที่ 2 กรณีการแย่งกันสูบน้ำพุร้อนเค็มอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติพิเศษที่มีคุณค่ายิ่งและหาได้ยากมากในโลก จากระดับใต้ผิวดินขึ้นมาใช้ โดยขาดกติกาควบคุมที่เขตแหล่งน้ำพุร้อนคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ซึ่งเมื่อการขุดน้ำพุร้อนเค็มขึ้นมาต่างคนต่างใช้นี้เป็นการขุดเจาะในระดับตื้นกว่า 10เมตร ดังนั้นพระราชบัญญัติน้ำบาดาลจึงเข้าไปกำกับเองไม่ได้เพราะกฏหมายมีนิยามคำว่าน้ำบาดาลให้นับเฉพาะ การสูบน้ำจากใต้ดินที่ลึกกว่า 10 เมตรลงไปเท่านั้น
ดังนั้น การขุดสูบน้ำจากระดับเพียงไม่ถึง 10 เมตรจึงไม่เข้าข่ายเป็นน้ำบาดาล หน่วยงานจึงควรเร่งหยิบสาระในพระราชบัญญัติ ทรัพยากรน้ำ 2563 ขึ้นมาใช้โดยเร็ว เพื่อจะได้สามารถคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่านี้ให้ทันก่อนจะสูญเสียความสมดุลย์ไป
.
ตัวอย่างที่ 3 การถ่ายโอนแหล่งน้ำขนาดเล็กจากหน่วยงานต่างๆ ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งภาระและการไม่สามารถจัดการของหน่วยปกครองท้องถิ่นขนาดเล็ก ผลคือแหล่งน้ำเหล่านั้นเสื่อมสภาพ เสียหาย หรือใช้การต่อไม่ได้มากมาย ซึ่งเรื่องนี้สมควรที่หน่วยงานที่บริหารนโยบายการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนท้องถิ่นควรเร่งหาทางคลี่คลายแก้ไขให้ได้โดยเร็ว เพราะยิ่งปล่อยไปก็จะยิ่งเสียหายทั้งต่อระบบจัดการน้ำท่วมและภัยแล้ง ตลอดจนเป็นภาระที่หนักขึ้นเรื่อยๆของการซ่อมแซมและฟื้นฟูให้กลับมาใช้ได้ตามเดิม

.
ตัวอย่างที่ 4 กลุ่มผู้พิการที่บ้านแม่หล่ะ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณทางราชการ จำนวน37คน ร่วมกันทำโครงการเปลี่ยนเขาหัวโล้นให้กลับเป็นป่าสมบูรณ์ได้สำเร็จใน 5 ปี ด้วยการอาศัยความในมาตรา33 – 35 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการที่ให้ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างทุกๆร้อยคนต้องจ้างงานผู้พิการ หนึ่งคน ให้จ้างผู้พิการไปปลูกและคอยดูแลต้นกล้าที่ปลูกในเขตป่าเสื่อมโทรม ผลที่ได้กลายเป็นทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู ผู้พิการได้รับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความภูมิใจในศักยภาพ และความมีศักดิ์ศรีของชีวิต ด้วย
.
โอกาสนี้ นายวีระศักดิ์ได้แนะนำผู้เข้ารับการอบรมสำรวจดูแบบฟอร์มที่เคยออกแบบกำหนดให้ประชาชนต้องกรอกเวลายื่นคำร้องนั้น มีคำถามใดที่ไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนกรอกหรือไม่ เพราะนั่นเป็นอีกเรื่องง่ายๆ ที่นิติกรจะเสนออธิบดีให้ปรับปรุงและลดภาระ ลดขั้นตอนที่ประชาชนต้องรอคอยหรือต้องไปค้นหาเอกสารหรือสำเนามายืนยันหรือประหยัดเวลาในการเดินเรื่องกับหน่วยงานของรัฐได้

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

“สว.วีระศักดิ์” บรรยาย หัวข้อ “กฏหมายกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ให้แก่นักกฏหมายภาครัฐระดับชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

“สว.วีระศักดิ์” บรรยาย หัวข้อ “กฏหมายกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ให้แก่นักกฏหมายภาครัฐระดับชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ณ
โรงแรมเบอค์ลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เป็นวิทยากรบรรยาย หลักสูตร “การพัฒนานักกฏหมายภาครัฐระดับชำนาญการ” สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หัวข้อเรื่อง “กฏหมายกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม”
.
นายวีระศักดิ์ ได้กล่าวถึงตัวอย่างหลายกรณีเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของการออกแบบกฏหมายที่สามารถใช้บริหารจัดการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยมี 4 กรณีตัวอย่าง ดังนี้
.
ตัวอย่างที่ 1 เป็นเรื่องของชุมชนบ้านน้ำพุ จังหวัดราชบุรี ที่ต้องทนทุกข์จากการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายลงปนเปื้อนแหล่งน้ำทางบนดินผ่านระบบน้ำใต้ดินมาเป็นระยะเวลาถึง 20 ปี และทั้งที่มีบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายที่ให้อำนาจแก่ทางการและหลายหน่วยหลายกระทรวงที่จะสามารถขอใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายได้เมื่อมีเหตุจำเป็น แต่ก็ยังไม่เคยมีหน่วยใดขอใช้อำนาจอันครอบคลุมของพระราชบัญญัตินี้
.
ตัวอย่างที่ 2 กรณีการแย่งกันสูบน้ำพุร้อนเค็มอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติพิเศษที่มีคุณค่ายิ่งและหาได้ยากมากในโลก จากระดับใต้ผิวดินขึ้นมาใช้ โดยขาดกติกาควบคุมที่เขตแหล่งน้ำพุร้อนคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ซึ่งเมื่อการขุดน้ำพุร้อนเค็มขึ้นมาต่างคนต่างใช้นี้เป็นการขุดเจาะในระดับตื้นกว่า 10เมตร ดังนั้นพระราชบัญญัติน้ำบาดาลจึงเข้าไปกำกับเองไม่ได้เพราะกฏหมายมีนิยามคำว่าน้ำบาดาลให้นับเฉพาะ การสูบน้ำจากใต้ดินที่ลึกกว่า 10 เมตรลงไปเท่านั้น
ดังนั้น การขุดสูบน้ำจากระดับเพียงไม่ถึง 10 เมตรจึงไม่เข้าข่ายเป็นน้ำบาดาล หน่วยงานจึงควรเร่งหยิบสาระในพระราชบัญญัติ ทรัพยากรน้ำ 2563 ขึ้นมาใช้โดยเร็ว เพื่อจะได้สามารถคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่านี้ให้ทันก่อนจะสูญเสียความสมดุลย์ไป
.
ตัวอย่างที่ 3 การถ่ายโอนแหล่งน้ำขนาดเล็กจากหน่วยงานต่างๆ ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งภาระและการไม่สามารถจัดการของหน่วยปกครองท้องถิ่นขนาดเล็ก ผลคือแหล่งน้ำเหล่านั้นเสื่อมสภาพ เสียหาย หรือใช้การต่อไม่ได้มากมาย ซึ่งเรื่องนี้สมควรที่หน่วยงานที่บริหารนโยบายการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนท้องถิ่นควรเร่งหาทางคลี่คลายแก้ไขให้ได้โดยเร็ว เพราะยิ่งปล่อยไปก็จะยิ่งเสียหายทั้งต่อระบบจัดการน้ำท่วมและภัยแล้ง ตลอดจนเป็นภาระที่หนักขึ้นเรื่อยๆของการซ่อมแซมและฟื้นฟูให้กลับมาใช้ได้ตามเดิม

.
ตัวอย่างที่ 4 กลุ่มผู้พิการที่บ้านแม่หล่ะ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณทางราชการ จำนวน37คน ร่วมกันทำโครงการเปลี่ยนเขาหัวโล้นให้กลับเป็นป่าสมบูรณ์ได้สำเร็จใน 5 ปี ด้วยการอาศัยความในมาตรา33 – 35 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการที่ให้ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างทุกๆร้อยคนต้องจ้างงานผู้พิการ หนึ่งคน ให้จ้างผู้พิการไปปลูกและคอยดูแลต้นกล้าที่ปลูกในเขตป่าเสื่อมโทรม ผลที่ได้กลายเป็นทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู ผู้พิการได้รับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความภูมิใจในศักยภาพ และความมีศักดิ์ศรีของชีวิต ด้วย
.
โอกาสนี้ นายวีระศักดิ์ได้แนะนำผู้เข้ารับการอบรมสำรวจดูแบบฟอร์มที่เคยออกแบบกำหนดให้ประชาชนต้องกรอกเวลายื่นคำร้องนั้น มีคำถามใดที่ไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนกรอกหรือไม่ เพราะนั่นเป็นอีกเรื่องง่ายๆ ที่นิติกรจะเสนออธิบดีให้ปรับปรุงและลดภาระ ลดขั้นตอนที่ประชาชนต้องรอคอยหรือต้องไปค้นหาเอกสารหรือสำเนามายืนยันหรือประหยัดเวลาในการเดินเรื่องกับหน่วยงานของรัฐได้

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

สว. ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดเชียงใหม่

สว. ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 30 มิถุนายน
2565 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) นำโดย พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) คนที่หนึ่ง พร้อมด้วย พลเอก ทวีป เนตรนิยม นายจิรชัย มูลทองโร่ย นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ และคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมหารือและรับฟังความคิดเห็นกับนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผู้แทนผู้ประกอบการและหัวหน้าอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ หอการค้าจังหวัด ผู้ประกอบการ SME และประชาชนในพื้นที่เชียงใหม่

เพื่อรับทราบและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ในประเด็นสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย แผนพัฒนาจังหวัดที่สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ การดำเนินการด้านการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านอื่น ๆ ซึ่งการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ถือเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจควบคู่กับวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศตั้งแต่ระดับ ฐานราก ชุมชน สังคมและระดับประเทศ ให้พัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างสอดคล้องกันและเป็นระบบ
.
ทั้งนี้ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลในครั้งนี้ จะนำไปดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาต่อไป

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

คกก.กิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์ฯ ลงพื้นที่เชียงใหม่มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

คกก.กิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์ฯ ลงพื้นที่เชียงใหม่มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

วันที่ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ จังหวัดเชียงใหม่ คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมและกิจกรรมนันทนาการของวุฒิสภา นำโดยนายพีระศักดิ์ พอจิต สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ พร้อมด้วยนายชาญวิทย์ ผลชีวิน สมาชิกวุฒิสภา ลงพื้นที่มอบสิ่งของและอุปกรณ์อันจำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ ชุมชนท่าจะฮัก อำเภอสันทราย และวัดดอนจั่น โรงเรียนวัดดอนจั่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
.
นายพีระศักดิ์ พอจิต ประธานคณะกรรมการฯ กล่าวว่า คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมและกิจกรรมนันทนาการของวุฒิสภาลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อมอบสิ่งของและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด พร้อมเยี่ยมโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คณะครู บุคลากรในโรงเรียน ในการดูแลเด็กนักเรียนช่วงสถานการณ์ โรคระบาดดังกล่าว โอกาสนี้คณะกรรมการฯ ได้ชมการแสดงของนักเรียน และเยี่ยมชมสมาร์ทฟาร์มซึ่งเป็นต้นแบบของระบบการทำการเกษตรสมัยใหม่ของโรงเรียน นอกจากนี้จะเปิดโอกาสให้เด็กเข้าไปศึกษาเรียนรู้ในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี หลังสถานการณ์โควิด คลี่คลายอีกด้วย

.
จากนั้นคณะกรรมการฯ ลงพื้นที่ชุมชนท่าจะฮัก บ้านสบแฝก อำเภอสันทราย เพื่อพบปะผู้นำชุมชน และชาวบ้านพร้อมมอบหน้ากากอนามัยและเครื่องวัดอุณหภูมิให้กับผู้นำชุมชนได้นำไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยวุฒิสภาได้ศึกษาข้อมูลของชุมชนในการสร้างแหล่งท่องเที่ยว เพื่อผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอสันทรายในอนาคตเพื่อให้ชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวในชุมชนของตนเอง
.
ในช่วงบ่ายนายพีระศักดิ์ พอจิต ประธานคณะกรรมการฯถวายสิ่งของและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดในปัจจุบันแด่เจ้าอาวาสวัดดอนจั่น จากนั้นพบปะผู้บริหารโรงเรียนวัดดอนจั่น เพื่อให้กำลังใจคณะครูพร้อมมอบสิ่งของและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต อาทิ ชุดตรวจ atk หน้ากากอนามัย เครื่องวัดอุณหภูมิ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้รับมอบ.
.
จากนั้น ได้จัดกิจกรรม สว.สอนกีฬา ประกอบด้วยฟุตบอล 7 คน กีฬาวอลเลย์บอลและกีฬาเซปักตะกร้อ นำโดยนายชาญวิทย์ ผลชีวิน สมาชิกวุฒิสภา อดีตนักกีฬาทีมชาติไทย และผู้ฝึกสอนนักกีฬาทีมชาติไทยร่วมฝึกสอนกีฬาทั้ง 3 ประเภท เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะด้านกีฬาให้กับเด็กและเยาวชนของโรงเรียนอีกด้วย

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com