google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

ชมรมเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่จันท์ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด หอการค้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ลิ้นจี่ ผลไม้เมืองจันท์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมีรสชาติ หวานอมเปรี้ยว เนื้อแห้ง กรอบ ไม่แฉะ พร้อมเปิดท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนลิ้นจี่

ชมรมเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่จันท์ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด หอการค้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ลิ้นจี่ ผลไม้เมืองจันท์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมีรสชาติ หวานอมเปรี้ยว เนื้อแห้ง กรอบ ไม่แฉะ พร้อมเปิดท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนลิ้นจี่

วันนี้ ( 28 มี.ค.65 ) ที่บริเวณลานศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยเกษตรจังหวัด ประธานหอการค้า ผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ผลไม้ ของดีเมืองจันท์คือ ลิ้นจี่ที่กำลังให้ผลผลิต ปลูกมากในพื้นที่อำเภอสอยดาว และอำเภอโป่งน้ำร้อน ผลผลิตกำลังทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน เนื้อลิ้นจี่ของเกษตรกรที่ปลูกในจังหวัดจันทบุรีจะมีกลิ่นหอมรสชาติ หวานอมเปรี้ยว เนื้อแห้ง กรอบ ไม่แฉะ เนื้อหา เม็ดเล็ก สีสันต์สวยงาม มีสรรพคุณเป็นยากึ่งๆสมุนไพร เช่น มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลมะเร็งเต้านม เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง คัดจมูก ป้องกันการเกิดและช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น ที่ผ่านมาลิ้นจี่ในจังหวัดจันทบุรีนิยมปลูกกันมากแต่หลังจากทุเรียนมีราคาสูงขึ้นเกษตรกรจึงโค่นต้นลิ้นจี่หันมาปลูกทุเรียนกันเพิ่มขึ้น กลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกันจึงเกรงว่าลิ้นจี่พันธุ์จันทบุรีจะหายไปเพราะเหลือพื้นที่ปลูกรวมกันประมาณ 6,000 กว่าไร่เท่านั้น

และอยากให้ทางจังหวัดส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันผลผลิตด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดซึ่งลิ้นที่ที่มีคุณภาพจะมีระยะเวลาก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 75 – 80 วัน สำหรับราคาผลผลิตในปีนี้ขายปลีกประมาณกิโลกรัมละ 120 ถึง 150 บาท และในช่วงนี้ชาวสวนลิ้นจี่ได้เปิดสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ประชาชน นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมสวนฟรี พร้อมเลือกซื้อลิ้นจี่สดจากสวนโดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอสอยดาว โป่งน้ำร้อน หรือ ที่คุณไพโรจน์ ลิมธนวงศ์ เลขาชมรมผู้ปลูกลิ้นจี่จังหวัดจันทบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 081 6522544 ทุกวัน ลิ้นจี่จันทบุรีปีนี้จะให้ผลผลิตไปถึงประมาณปลายเดือนเมษายน 2565

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

สตูล ฟาร์มเมล่อนออเดอร์สั่งเพียบ ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 99 บาท หลังทหารพัฒนาฯ นพค.45 พร้อมสนับสนุนเกษตรกรสู่เทคโนโลยี เกษตรแม่นยำ

สตูล ฟาร์มเมล่อนออเดอร์สั่งเพียบ ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 99 บาท หลังทหารพัฒนาฯ นพค.45 พร้อมสนับสนุนเกษตรกรสู่เทคโนโลยี เกษตรแม่นยำ

วันนี้ 28 มีนาคม 2565 ที่บ้านทางงอ บ้านเลขที่ 138 หมู่ที่ 5 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ที่นี่มีการทำโรงเรือนปลูกเมล่อนและแตงโมปลอดภัยภายในโรงเรือนแบบปิด (เพื่อป้องกันและกำจัดโรคและแมลงด้วยชีวภัณฑ์ซึ่งมีความปลอดสารพิษ 100%) ของฟาร์มเอสแอนด์เจฟาร์ม ของนางจีรนันท์ ยาสิน และ นายสิกชัย ยาสิน วัย 40 ปีสองสามีภรรยาที่ออกจากพนักงานของรัฐ 13 ปีมาทำเกษตรแม่นยำซึ่งเป็นฟาร์มต้นแบบของ “เกษตรแม่นยำ” ที่ทางทหารหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จ.สตูลได้คัดเลือกเป็นฟาร์มตัวอย่าง ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปสู่เกษตรกรรายอื่น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากฐานชุมชนให้มีความเข้มแข็งโดยสร้างศูนย์เรียนรู้ภายในหน่วยฯ และนอกหน่วยให้มีความรู้เท่าทันกับสภาพภูมิศาสตร์สังคมของแต่ละพื้นที่ “ทหารพัฒนาฯ พร้อมเป็นพี่เลี้ยงเกษตรกรสู่ เกษตรแม่นยำ”
นาวาอากาศเอกอาทิตย์ภากร สังขรัตน์ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 45 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ระบุว่า พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยพล.อ. จีรัชญ์ บุญชญา ผู้บัญชาการหน่วยทหารพัฒนา ได้มอบหมายและให้ความสำคัญในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในการกระตุ้นเศรษฐกิจรากฐานชุมชนให้มีความเข้มแข็ง หลังพบว่าจังหวัดสตูลมีข้อจำกัดในเรื่องของความชื้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝนตกชุกไม่สามารถควบคุมปริมาณความชื้นได้ ประกอบกับพื้นที่มีข้อจำกัดในแต่ละครัวเรือน ทำให้หน่วยฯ เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมเป็น “เกษตรแม่นยำ” ด้วยการนำเทคโนโลยีใช้ในการสร้าง smart farm ในบ้านตัวเองโดยเลือกผลผลิตที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป ต้นทุนไม่สูงเกินไปอย่าง “เมล่อน” เป็นหนึ่งในผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้ภายในครอบครัว ในการสร้างความรู้ต้นแบบขึ้นมาจากหน่วยฯ และขยายออกมาเป็นศูนย์เรียนรู้นอกหน่วยฯ โดยเข้ามาช่วยเหลือในด้านแหล่งน้ำและการขยายบ่อน้ำให้มีความพอเพียง

ในช่วงฤดูแล้ง ควบคู่ไปกับเรื่องของเทคโนโลยีมาควบคุมสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นข้อจำกัด และก็สร้างโรงเรือนปิดเพื่อที่จะพยากรณ์และควบคุมผลผลิตและป้องกันศัตรูพืชได้ ไปพร้อมกับเรื่องต้นทุน และการขาย ซึ่งมีความสำคัญมากกับพี่น้องเกษตรกร หากใช้ต้นทุนสูงโดยไม่สามารถควบคุมข้อจำกัดได้ อาจจะทำให้พี่น้องเกษตรกรอาจจะล้มเลิกระหว่างทางได้ จึงได้เข้ามาส่งเสริมในเรื่องของพื้นฐาน ในเรื่องของน้ำ แสงโดยเทคโนโลยีโดยมีการคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีพื้นฐานความรู้ อย่างเช่นที่นี่ เกษตรกรมีความรู้เรื่องของเกษตรเป็นอย่างดี พบว่าการปลูกเป็นการปลูกเชิงการทำเก็บข้อมูล วิเคราะห์วิจัยคู่ไปกับหน่วยฯ ตรงนี้เป็นความพยายามที่จะสร้างต้นแบบเพื่อที่จะไปส่งเสริมในกลุ่มอาชีพอื่น ในช่วงที่ไม่สามารถทำผลผลิตหลักได้ ก็จะเอาเรื่องของ “เมล่อน” ระบบปิดเข้าไปส่งเสริม ในกลุ่มนั้น ๆ เพื่อให้สามารถ สร้างกลุ่มขยายได้ต่อไป

นิตยา สงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล

พาณิชย์ฯแม่ฮ่องสอน ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 (งวดที่ 21)

🛑พาณิชย์ฯแม่ฮ่องสอน ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 (งวดที่ 21)
=====
🔻🔻🔻🔻
นางสาวยุพา นาคา พาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน แจ้งประกาศคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์การอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 (งวดที่ 21) ที่ระบุวันคาดว่าจะเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 25 – 3 มีนาคม 2565 สำหรับข้าวเปลือกชนิดต่าง ๆ ณ ความชื้นไม่เกิน 15 เปอร์เซ็น และการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกับรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง มีอัตราส่วนต่างที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใช้ในการจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สำหรับการจ่ายเงินงวดที่ 21 ในวันที่ 4 มีนาคม2565 ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ สิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว, ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,986.30 บาท ชดเชยตันละ 2,013.70 บาท, ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,284.10 บาท ชดเชยตันละ 715.90, ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 8,279.52 บาท, ชดเชยตันละ 1,720.48 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,685.12 บาท ชดเชยตันละ 2,314.88 บาท

ภาพข่าวจาก สะอาด กาวีเปิ๊บ

ร้อยเอ็ด/… ชาวนาอำเภอโพนทองปลูกทุเรียนลองเบิ่ง ๒๐๐ ต้น เริ่มเห็นแสงที่ปลายอุโมงหลังการดูแลรักษาสังเกตุเวลานอนต้นทุเรียน

ร้อยเอ็ด/…
ชาวนาอำเภอโพนทองปลูกทุเรียนลองเบิ่ง ๒๐๐ ต้น เริ่มเห็นแสงที่ปลายอุโมงหลังการดูแลรักษาสังเกตุเวลานอนต้นทุเรียน

บ่ายวันนี้ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาอำเภอโพนทองปลูกทุเรียนลองเบิ่งจำนวน ๒๐๐ ต้น โดยแบ่งที่นาปลูกข้าว มาปลูกทุเรียนจำนวน ๕ ไร่ ปีแรกความฝันสลายความหวังมืดมนเมื่อทุเรียนใบเหี่ยวเฉา ร่วงหล้นตายจำนวน ๕ ต้น ปีที่สามเริ่มเห็นแสงที่ปลายอุโมงหัวใจเริ่มพองโตเหมือนฟ้าหลังฝน เพราะทุเรียนเริ่มออกดอก ออกผล ให้ได้ชม
การดูแลรักษา

//: นายวินัย บุตรทุมพันธ์ อายุ ๕๐ ปี ๒๘ ม.๙ ตำบลอุ่มเม่า อ.โพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า สังเกตุเวลานอนต้นทุเรียน ต้นทุเรียนปกติจะนอนช่วงบ่าย ถ้าต้นทุเรียนนอนช่วงก่อนเที่ยงแสดงว่าต้นทุเรียนไม่สบาย ต้องเอาใจไส่พิเศษ การให้น้ำวันละครั้ง/ครั้งละหนึ่งชั่วโมงตอนเช้ามืดผ่านระบบสปริงเกอร์ ใส่ปุ๋ย ๑๕ วัน/ครั้งๆละสองกำมือ ศัตรูส่วนมากจะเป็นกระรอก-กระแต มากัดแทะลำต้นกิ่งดอกผลร่วงหล่น

ดำเนิน พรมไชยา/รายงาน

บ้านแพ้วเปิดตัวมะม่วงพันธุ์ใหม่”จิ๋มละมุน” รสชาติหวานมันนุ่มนวล

บ้านแพ้วเปิดตัวมะม่วงพันธุ์ใหม่”จิ๋มละมุน” รสชาติหวานมันนุ่มนวล

ในงานเกษตรบ้านแพ้วที่มีการจัดขึ้นปีนี้ที่วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรณ์ พร้อมกับงานปิดทองหลวงพ่อโตได้มีการเปิดตัวมะม่วงพันใหม่ของอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครคือมะม่วงพันธุ์ “จิ๋มละมุน” โดยมีนายพิรุฬโรจน์ นาคดนตรี นายยอำเภอบ้านแพ้ว แนะนำด้วยตัวเองว่า ที่มาของมะม่วงพันธุ์นี้เกิดจากการผสมกันหลายสายด้วยการติดตาต่อยอดจนเกิดมะม่วงพันธ์ใหม่ขึ้นมา และสาเหตุที่ตั้งชื่อ “จิ๋มละมุน”เป็นเพราะว่าเจ้าของสวนชื่อเล่นว่า “จิ๋ม” นั่นเองซึ่งรับประกันว่ามีรสชาติดีมากหลายคนทานแล้วบอกว่า อร่อย ละมุน
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่บ้าน เลขที่ 79/2 หมู่ 2 ตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พบกับนายชาญวิทย์ สุขชัยศรี และนางสุนิสา สุขชัยศรีหรือเจ๊จิ๋ม สองสามีภรรยาเจ้าของสวนได้เปิดเผยถึงที่มาของการได้มะม่วงพันธุ์ใหม่นี้ขึ้นมาว่าที่สวนเดิมทีเดียวปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นเป็นจำนวนมากแต่ก็มีการนำกิ่งพันธุ์มะม่วงสายพันธุ์ต่างๆมาต่อกิ่งในต้นเดียวกันเป็น ต้นมะม่วงแฟนซี ต้นใหญ่ ลูกดกที่มีราว 5-6 สายพันธุ์อยู่บนต้นเดียวกัน มีทั้ง งามเมืองหญ้า เขียวสามรส น้ำดอกไม้มัน เขียวใหญ่ ฟ้าลั่น หรือแม้ไปต่างประเทศ ก็จะซื้อยอดพันธุ์ในประเทศต่างๆมาต่อกิ่งประจำ
คุณชาญวิทย์บอกว่า ก็ได้สังเกตมะม่วงที่ให้ผล มันมีอยู่กิ่งหนึ่งที่ใช้เวลานานกว่ากิ่งอื่นๆที่ลูกจะโตกินได้ ซึ่งรออยู่กว่า 4 เดือน เพราะแก่ช้ากว่าสายพันธุ์อื่นในต้น จึงลองเอามาชิม ปรากฏว่า รสชาติแปลกแตกต่างกว่าพันธุ์อืนๆอีกคือ หอม ฉ่ำ หวานชื่นใจ แถมยังไม่มีแป้ง แต่ชุ่มไปด้วย น้ำ เนื้อกัดง่าย กรอบนุ่ม พอมีคนมาชิมก็พรรณนาถึงรสชาติ ว่ามันช่างละมุนและแฟนก็ชื่อจิ๋ม เขาก็เลยช่วยกันตั้งชื่อให้ ว่ามะม่วงพันธุ์ “จิ่มละมุน”นั่นเอง

สำหรับมะม่วงพันธุ์จิ๋มละมุน ให้ผลมากว่า2-3 ปีแล้ว และได้เอากิ่งไปเสียบต้นแม่อื่นๆไว้อีกราว 200 ต้น ด้วยรสชาติที่อร่อย จนตอนนี้ก็มีแม่ค้ามาจองซื้อไปจนคิวยาว ซึ่งก็ขายได้ราคาดีกว่าสายพันธุ์อื่นที่ตอนนี้ราคาตกมาก แต่สำหรับจิ๋มละมุน ได้ราคาราวกิโลกรัมละ 70 บาท บางคนก็มาขอซื้อโดยให้ราคาถึง 100 บาทต่อกิโลกรัมก็มี ทางด้านเจ๊จิ๋มบอกว่า มะม่วงสายพันธุ์นี้หากแม่ค้ารายใดรับไปต้องกลับมาจองต่ออีกร้อยทั้งร้อยเลยที่เดียวเพราะติดใจในรสชาติ ส่วนคนที่อยากกินก็ต้องโทรมาจองกันก่อน เพราะว่าผลผลิตนั้นยังมีไม่มาก ต้องค่อยๆพัฒนากันไป ส่วนการทานให้อร่อยยิ่งขึ้น คือให้กินตอนที่ยังไม่สุก ตัดจากต้นแช่ตู้เย็นไว้สักครึ่งเดือน แล้วเอามาทาน รับรองเย็นชื่นใจ อร่อยสมคำล่ำลือของจิ๋มละมุนแน่นอนสำหรับท่านที่อยากชิมความอร่อย ความละมุน ของมะม่วง”จิ๋มละมุน” ก็ลองติดต่อไปที่เบอร์ 086-8196988 เจ๊จิ๋มได้เลย.

ฉัตรชัย เทศนิยม
วรายุทธ เอกจิโรภาส

ตราด /ทุเรียนเขาบรรทัดเหมาหมดสวน กก.ละ 220 บาท คาดเจ้าของสวนรับเละ

ตราด /ทุเรียนเขาบรรทัดเหมาหมดสวน กก.ละ 220 บาท คาดเจ้าของสวนรับเละ

ข่าว/นายชายดาว ขำวงษ์ ผญบ.ม.4 บ้านคลองมะนาวต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยถึงสถานการณ์การทำสวนทุเรียนของเกษตรกรชาวสวนในตำบลไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราดว่า สวนทุเรียนของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนส่วนใหญ่ จะมีพื้นที่ปลูกทุเรียนตามเชิงเขาบรรทัด ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยรวมแล้วจะมีพื้นที่สวนทุเรียนนับพันไร่ ทั้งทุเรียนเก่า และทุเรียนปลุกใหม่ ซึ่งทุเรียนของตำบลไม้รูดจะเป็นทุเรียนที่เป็นดินเชิงเขาบรรทัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ ประกอบกับสภาพอากาศที่ใกล้ชายทะเล ทำให้มีลมทะเลพัดโชยมาตลอดเวลา ส่งผลให้สภาพพื้นที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้กับทุเรียนและผลไม้ต่างๆ นอกจากนี้หลายสวนยังมีสภาพพื้นดินที่มีส่วนผสมของทรายแก้ว ซึ่งเป็นทรายที่ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้ว ทุเรียนไม้รูดจึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่มีรสชาติหวาน หอม กลมกล่อม เนื้อเหนียวแห้ง นุ่มนวล ซึ่งก็มีทุเรียนหลากหลายพันธุ์ ทั้งหมอนทอง กระดุม ชะนี ก้านยาว เป็นต้น
สำหรับสวนทุเรียนของผู้ใหญ่ชายดาว มีทั้งทุเรียนรุ่นเก่าอายุ50 ปี และทุเรียนรุ่นใหม่เพิ่งปลุกอายุ 3-4 ปี ทั้งหมดเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ซึ่งเป็นทุเรียนที่ตลาดมีความต้องการมาก และยังมีทุเรียนพันธุ์ชะนีบ้างแต่ไม่มากนัก ทั้งหมดปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ ด้วยกัน โดยทุเรียนของตนเองดอกบานระหว่างวันที่ 15-25 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา และจะครบกำหนดเก็บเกี่ยวในต้นเดือนเมย.ที่จะถึงนี้(โดยนับตั้งแต่ดอกบานถึงวันเก็บเกี่ยวต้องใช้เวลา 120 วัน) นายชายดาวเล่าต่อว่า ทุเรียนต.ไม้รูดเป็นทุเรียนคุณภาพทั้งจากสภาพดินภูเขา สภาพอากาศชายทะเล และแร่ธาตุต่างๆ ตลอดจนการดูแล บำรุงรักษาของเกษตรกรชาวสวน แต่ทางจังหวัดตราดกลับไม่เห็นคุณค่า ให้ความสำคัญแค่ถนนทุเรียนที่ตำบลอ่าวใหญ่เท่านั้น แต่จากคุณภาพ และชื่อเสียงของทุเรียนไม้รูดที่ผ่านมาหลายปี

ผลผลิตไม่พอจำหน่าย และเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนทุเรียนจากท้องที่อื่นเช่นกัน โดยพ่อค้าจะเหมาซื้อผลผลิตทั้งสวน สำหรับพันธุ์หมอนทอง ในราคากก.ละ 220 บาท และพันธุ์ชะนี กก.ละ 180 บาท คาดว่าปีนี้ชาวสวนจะได้เงินจากการขายทุเรียนเป็นกอบเป็นกำไปตามๆกัน
นายชายดาว บอกว่าตนเองทำสวนทุเรียนตั้งแต่อายุ 21 ปี จนปีนี้อายุ 55 ปีแล้ว หลังประสบความสำเร็จเกษตรกรทำสวนทุเรียน มีเกษตรกรชวาสวน พากันปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ทำให้ถนนสาย 3 ต่อจากศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทยเขาล้าน เลียบเชิงเขาบรรทัดมีสวนทุเรียนปลูกเรียงราย เป็นวิวทิวทัศน์เชิงเขาบรรทัดที่สวยงาม นักท่องเที่ยวจะได้เที่ยวชมภาพความสวยงามของสวนทุเรียนเชิงเขาบรรทัดระหว่างเดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอคลองใหญ่ด้วย

/ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด

สุดปัง พ่อค้าแย่งซื้อ ทุเรียน น้ำแร่พบพระ ราคาสูงกิโล 210บาท เตรียมขึ้นเครื่องส่งออกขายต่างประเทศ

สุดปัง พ่อค้าแย่งซื้อ ทุเรียน น้ำแร่พบพระ ราคาสูงกิโล 210บาท เตรียมขึ้นเครื่องส่งออกขายต่างประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
อำเภอพบพระจังหวัดตากเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ปลูกทุเรียนกันเป็นจำนวนมาก
และให้ผลผลิตดี
จนขึ้นชื่อ “พบพระทุเรียนน้ำแร่”

ทุเรียนน้ำแร่จากอำเภอพบพระ จ.ตากเนื้อหอม พ่อค้าจากเมืองจันทรบุรีมารับซื้อถึงสวนราคาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 210 บาท

“สวนเมืองหนาว” ที่มีคุณ“ธนาพนต์(เสรี) ไชยนอก” เป็นเจ้าของสวน ซึ่งปลูกทุเรียนมาประมาณ 12 ปี วันนี้ก็ได้ให้ผลผลิตที่ดี โดยนอกจากทุเรียนพันธุ์หมอนทอง แล้วก็ยังมีพันธุ์ก้านยาว และพวงมณีที่นำพันธุ์มาจากเมืองจันทน์ให้คนรักทุเรียนได้ลิ้มรสในความอร่อยกัน

สำหรับจุดเด่นของทุเรียนพบพระคือ เม็ดเล็กลีบ เนื้อเยอะฟู รสชาติอร่อย หวานเนียน มัน ลูกโต ต้นเตี้ยเก็บผลง่าย ส่วนข้อด้อยคือ เนื้อทุเรียนมีสีซีด และเนื่องจากวันนี้ยังเป็นทุเรียนสาวอยู่ จึงมีเปลือกหนา ไส้หนา

นอกจากนี้ทุเรียนพบพระยังมีจุดเด่นสำคัญ อีก 2 ข้อ คือ ข้อแรก เป็นทุเรียนทวาย หรือ ทุเรียนนอกฤดู ที่ออกผลช้ากว่าฤดูทุเรียนปกติในภาคตะวันออก ทุเรียนที่นี่จะออกผลให้เก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ต.ค. ข้อสองคือ ทุเรียนพบพระ กลิ่นไม่แรง บางลูกถ้าไม่แกะหรือปอกเปลือกจะไม่ได้กลิ่นเลย
คุณธนาพนต์ ไชยนอก(เสรี)
333หมู่9 ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก
อายุ 55ปี
กล่าวว่าตนเองเป็นเจ้าของสวน
สวนเมืองหนาว
มีพื้นที่294ไร่
เริ่มปลูกทุเรียนมาประมาณ 12ปีแล้ว

สวนทุเรียนที่ให้ผลผลิตประมาณ 100ไร่ และ กำลังปลูกเพิ่มอีก 100ไร่
ทุเรียน รุ่นแรก ทุเรียนนอกฤดูหรือ บางครั้งชาวสวน จะเรียกว่า ทุเรียนทวาย มันจะออกนอกฤดู

ทุเรียนสวนไม้เมืองหนาว พร้อมตัด มีประมาณ 600 -800ลูก พร้อมตัด ขาย
โดยในวันนี้พ่อค้ามารับซื้อถึงในไร่ราคากิโลกรัมละ 210บาท

ด้านนายสมยศ สิทธิโกษี อายุ35ปี ซึ่งเป็นตัวแทนบริษัท รับซื้อ ทุเรียนเพื่อส่งไปขายที่ประเทศจีน กล่าวว่า ได้ตระเวนมารับซื้อทุเรียนที่อำเภอพบพระ มาหลายปีแล้ว โดยการเก็บทุเรียนจะต้องใช้คนงานที่มีประสบการณ์ อัตราค่าจ้างอยู่ที่คู่ละ 2000 บาทต่อวัน โดยคนขึ้นปีต้นไปตัดจะได้ค่าแรง 1200 บาท ส่วนที่เหลือ 800 บาท เป็นของคนรับ ส่วนการสังเกตว่าทุเรียนพร้อมตัดไปขายหรือไม่ต้องอาศัยประสบกาณ์

สำหรับใครที่อยากจะลองลิ้มชิมรสทุเรียนจากสวนเมืองหนาว อดใจรออีกไม่นานจะมีการเปิดให้ทานบุฟเฟ่ทุเรียนแต่ถ้าอยากได้กล้าไปปลูกก็ติดต่อได้ที่เบอร์ 0812829810 (เฮียเสรี)
(เจ้าของสวนเมืองหนาว)
หรือจะเดินทางมาด้วยตัวเอง ที่ สวนเมืองหนาว บ้านห้วยนกแล ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก

ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ราคารับซื้อข้าวเปลือกนาปรังของผู้ประกอบการโรงสี/ท่าข้าว

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ราคารับซื้อข้าวเปลือกนาปรังของผู้ประกอบการโรงสี/ท่าข้าว

วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 11.00 น. นายศุภสัณห์ ศิลป์ชูศรี พาณิชย์จังหวัดสุโขทัย ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ราคารับซื้อข้าวเปลือกนาปรังของผู้ประกอบการท่าข้าวพรเทพ และโรงสีโชคชัยธัญกิจ ในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่สุขเกษม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมในการจำหน่ายข้าวเปลือก

และเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการปิดป้ายแสดงราคารับซื้อข้าวเปลือก การวัดความชื้นข้าวเปลือก การหักลดน้ำหนักสิ่งเจือปน และห้ามมิให้คิดค่าชั่งน้ำหนัก ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 56 พ.ศ. 2564 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการรับซื้อ และการแสดงราคารับซื้อ ข้าวเปลือก

ราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้า
ความชื้นไม่เกิน 15 % ราคา 7,500 – 8,500 บาท/ตัน
ความชื้นไม่เกิน 25% ราคา 6,500 – 7,500 บาท/ตัน

กิตติ พรดวงจันทร์ สุโขทัย0821632939

สุราษฎร์ธานี // พ่อเมืองคนดี ปล่อยขบวนคาราวานแตงโมทุ่งอ่าว เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นสวนให้แก่เกษตรกร คอนเซป “แตงโมทุ่งอ่าวคือสายใยสุราษฎร์ธานี เชื่อมใจห่วงใยเกษตรกร”

รายงาน : สุนิตา วิชัยดิษฐ์
ศูนย์ข่าวภาคใต้ตอนบน

วันที่ 8 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 น นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการปล่อยคาราวานแตงโมทุ่งอ่าว จำนวน 10 ตันเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ต.ศรีวิชัย อ.พุนพิน ภายใต้คอนเซป “แตงโมทุ่งอ่าว คือสายใย สุราษฎร์ธานีเชื่อมใจ ห่วงใยเกษตรกร”

โดยมี นายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ,นางช่อทิพย์ วาณิชย์เจริญ หัวหน้าส่วนยุทธ์ศาสตร์การเกษตร,สำนักงานสภาเกษตรจังหวัดฯ,นางโรจนภรณ์ บุญศิริ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดฯ,นายชัยพร นุภักดิ์ เกษตรจังหวัดฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมปล่อยขบวนแตงโมทุ่งอ่าวไปยังภาคีเครือข่าย ในพื้นจังหวัด สงขลา กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง พังงา และอ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ สืบเนื่องเกษตรกรสวนแตงโมทุ่งอ่าว บ้านทุ่งอ่าว ต.ศรีวิชัย อ.พุนพิน จำนวน 41 ราย ในพื้นที่ 585 ไร่ ประสบปัญหาแตงโมล้นตลาด รวมไปถึงผลผลิตแตงโมทั่วประเทศ ให้ผลผลิตพร้อมกัน อีกทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบภัยน้ำท่วมสวนแตงโม ทำให้การกระจายสินค้ามีความยากลำบาก ขณะเดียวกันพ่อค้า-แม่ค้าที่มารับซื้อผลผลิตจากสวนลดน้อยลงเนื่องจากประสบปัญหาโควิด -19 และเกษตรกรขาดทุนจากต้นทุนการผลิตที่สูง และรายได้ที่ลดลง

ด้านนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า วันนี้ถือได้ว่าเป็นการ Kick off กระจายแตงโมทุ่งอ่าว ในการช่วยเหลือเกษตรกรกระจายผลผลิต ที่ปีนี้ให้ผลผลิตกว่า 1,170 ตัน จึงจำเป็นที่ช่วยเหลือเกษตรกรในเบื้องต้น ที่สำคัญแตงโมทุ่งอ่าวเป็นแตงโม 2 น้ำ กรอบ หวาน อร่อย และปลอดภัยมีเครื่องหมาย GAP รับรองมาตรฐานว่าทานแล้วปลอดภัยอย่างแน่นอน

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เชิญชวนประชาชน ลองชิมแตงโมทุ่งอ่าวทานแล้วจะติดใจ อีกทั้งเป็นการช่วยเหลือเกษตรในการกระจายรายได้และผลผลิตในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของแท้ต้องมีบาร์โค้ดสแกนได้เลยว่ามาจากแปลงไหน ที่สำคัญตอนนี้พี่น้องประชาชนสามารถซื้อทานได้จากภาคีเครือข่ายได้กันทั่วประเทศ .

สุราษฎร์ธานี // รอง ผวจ.สุราษฎร์ฯ ร่วมประชุมแก้ไขปัญหาแตงโมทุ่งอ่าวล้นตลาด เผยเตรียมปล่อยคาราวานออกสู่ตลาด .

รายงาน : สุนิตา วิชัยดิษฐ์
ศูนย์ข่าวภาคใต้ตอนบน

วันที่ 7 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 น. นายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการหารือแนวทางส่งเสริมการบริโภคแตงโมทุ่งอ่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโครงการ “ขับเคลื่อนการสื่อสารภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม” ที่ห้องประชุมวายุภักดิ์ สำนักงานคลังจังหวัดฯ โดยมีนางช่อทิพย์ วาณิชย์เจริญ หัวหน้าส่วนยุทธ์ศาสตร์การเกษตร สำนักงานสภาเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี,นายศุภพงษ์ เชาว์แล่น ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 ,นางเพ็ญลดา สายสวัสดิ์ คลังจังหวัดฯ,นายจรุงศักดิ์ สุรัฐชนานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดฯ,นางสุนิสา รามแก้ว ประชาสัมพันธ์จังหวัด,สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยว เข้าร่วม

ทั้งนี้ สืบเนื่องเกษตรกรสวนแตงโมทุ่งอ่าว บ้านทุ่งอ่าว ต.ศรีวิชัย อ.พุนพิน จำนวน 41 ราย พื้นที่ 585 ไร่ ประสบปัญหาแตงโมล้นตลาด รวมไปถึงผลผลิตแตงโมทั่วประเทศ ให้ผลผลิตพร้อมกันอีกทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบภัยน้ำท่วมสวนแตงโม ทำให้การกระจายสินค้ามีความยากลำบาก ขณะเดียวกันพ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อผลผลิตจากสวนลดน้อยลงเนื่องจากประสบปัญหาโควิด -19 และเกษตรกรขาดทุนจากต้นทุนการผลิตที่สูง-รายได้ที่ลดลง ประกอบกับภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เกษตรกรจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

โดยในที่ประชุม ได้หารือในการเข้าถึงช่องทางการช่วยเหลือเกษตรกรด้านเงินทุน และการช่วยบริหารจัดการสินค้า และช่องทางการตลาดจากหน่วยงานราชการต่างๆ รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมแตงโมทุ่งอ่าวให้เป็นที่นิยมแก่ผู้บริโภคทั่วประเทศ พร้อมผลักดันให้เป็นสินค้า GI ทั้งนี้ทางจังหวัดได้มีมติในการแก้ไขปัญหาแตงโมล้นสวนเบื้องต้นด้วยการกระจายผลผลิต ไปยังเครือข่ายในพื้นที่ จ.กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีการปล่อยคาราวานแตงโมทุ่งอ่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมในวันอังคาร ที่ 8 มีนาคม 2565 โดย นายวิชวุทย์ จินโต เป็นประธานพร้อมด้วย นายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเวลา 09.30 น หมู่ที่3 บ้านทุ่งอ่าว ต.ศรีวิชัย อ.พุนพิน โดยนายวิชวุทย์ ได้มอบหมายให้ สำนักงานสภาเกษตรจังหวัดฯ เป็นผู้ประสานภาคีเครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรเบื้องต้น .

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com