google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

ปราจีนบุรี สาวโรงงานสู้ชีวิตหลังโรงงานเลิกจ้างเพราะโควิด-19 หันหน้ากลับมาบ้านลงทุนเพาะลูกกบขาย

ปราจีนบุรี สาวโรงงานสู้ชีวิตหลังโรงงานเลิกจ้างเพราะโควิด-19 หันหน้ากลับมาบ้านลงทุนเพาะลูกกบขาย

ที่บ้านเลขที่ 49 หมู่ 1 ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี พบนางสาวณัฐสุดา ลีนา อดีตสาวโรงงานคนหนึ่งถูกเลิกจ้างงานเพราะโรคโควิด-19ระบาดอย่างหนักจึงหันหน้ากลับมาอยู่บ้านกับเงินก้อนสุดท้ายที่มาลงทุนซื้อแม่พันธุ์กบ พ่อพันธุ์กบ นำมาเลี้ยงเพาะพันธุ์ในบ่อที่สร้างด้วยตาข่ายกว้าง 2 เมตรคูณด้วย 4 เมตรมีด้วยกันทั้งหมด 4 บ่อด้วยกันโดยการลงทุนซื้อพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ มาปล่อยลงบ่อประมาณ 15 คู่ต่อ 1 บ่อ เมื่อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ผสมกันแล้วก็จะออกลูกมากกว่า 4000-6000 ตัวต่อ 1 บ่อ แล้วก็จะให้อาหารลูกกบอยู่ประมาณ 1 เดือนอาหารที่ให้ตนจะเน้นเป็นอาหารปลาดุกต้นทุนจะถูกและกบจะโตไวและที่ต้องเลี้ยงในสระเพราะว่าในสระจะเลี้ยงง่ายไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยเหมือนเลี้ยงบนบก

ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆกบหรือลูกกบมันก็จะโตช้า พอครบกำหนดจากนั้นก็จะจับขายในราคาตัวละ 1 บาทถึง 1.50 สต.แล้วแต่ขนาดของลูกกบ ส่วนลูกกบที่ขายไม่ได้ตนก็จะเลี้ยงไปเรื่อยๆจนได้ขนาดพอที่จะขายได้ก็จะขายในราคากิโลกรัมละ 80 บาทโลหนึ่งก็จะประณ 4-5 ตัวกำลังเหมาะที่จะนำไปปรุงเป็นอาหาร ส่วนรายได้เดือนหนึ่งก็จะตกอยู่ที่ประมาณ 30,000 กว่าบาทก็พอที่จะมีเงินมาใช้จ่ายและดูแลลูกทั้ง 2 คน
สนใจลูกกบไว้เลี้ยงขาย0806204252 ณัฐสุดา

พังงา-ครูบำนาญปลูกเสาวรสพันธ์หวานแบบออร์แกนิกข้างบ้าน ขายออนไลน์สร้างรายได้หลังเกษียณราชการ

พังงา-ครูบำนาญปลูกเสาวรสพันธ์หวานแบบออร์แกนิกข้างบ้าน ขายออนไลน์สร้างรายได้หลังเกษียณราชการ

วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านเลขที่ 57/3 ม. ต.บ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา ริมถนนสาย พังงา-ทับปุด นางประไพพัฒน์ เผ่าเจริญ ครู กศน.บำนาญ นำผู้สื่อข่าวเข้าชมแปลงเสาวรส ที่ปลูกไว้ในพื้นที่ว่างหลังบ้านเนื้อที่เกือบ 1ไร่ ที่กำลังให้ผลผลิตเต็มเถา พร้อมกับแนะนำอธิบายวิธีการปลูก การบำรุงดูแลรักษาแบบไม่ใช้สารเคมี และการเก็บเกี่ยวผลผลิต วิธีการกินและการแปรรูป ซึ่งเสารสที่ปลูกนั้นเป็นสายพันธุ์เชียงม่วน9 เป็นสายพันธุ์มีความหวานและหอมมากกว่าสายพันธุ์อื่น ราคาขายก็สูงกว่า ปัจจุบันได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ผู้คนได้มาศึกษาเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียงตามศาสตร์ของพระราชา
นางประไพพัฒน์ เผ่าเจริญ เปิดเผยว่า ตนเองเป็นอดีตครู กศน.อำเภอทับปุด ก่อนจะเกษียณราชการได้วางแผนไว้ล่วงหน้า 1 ปี ว่าจะทำอะไรดี ปกติเป็นคนที่สนใจในเรื่องการเกษตรอยู่แล้ว และได้ศึกษาดูงานอยู่ตลอด แต่ไม่เคยลงมือทำเอง เมื่อเกษียณแล้วก็ได้ลงมือปลูกเสาวรสอย่างจริงจัง

เพราะตนเองสนใจในเรื่องของผลไม้ชนิดนี้เพราะได้ศึกษาดูแล้วว่าเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ จึงเริ่มลงมือทำแปลงทดลองปลูกมา3แปลงแล้ว และได้ลองผิดลองถูกมาโดยตลอดจนปัจจุบันสามารถถ่ายทอดประสบการณืให้กับคนอื่นได้ ทุกกระบวนการภายในสวนเป็นเกษตรแบบอินทรีย์และทำด้วยตัวเองทั้งหมด โดยผลผลิตแต่ละรุ่นที่ออกมานั้น ไม่ได้นำออกวางจำหน่าย เพราะยังไม่เพียงพอกับความต้องการที่มีการจองผ่านทางออนไลน์จนหมด จากนี้ก็จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม คิดว่าการปลูกเสาวรสนั้นสามารถทำเป็นอาชีพได้ นอกจากแปลงเสาวรสแล้ว ยังได้ปลูกพืชอีกหลายชนิดภายในสวนยึดแนวเกษตรพอเพียงและโคกหนองนา โมเดล

พะเยา ชาวบ้านแห่ขุดจิ๊กกุ่ง ขายสร้างรายได้ทดแทนโควิด19

พะเยา ชาวบ้านแห่ขุดจิ๊กกุ่ง ขายสร้างรายได้ทดแทนโควิด19

วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ข่าวรายงานว่า ชาวบ้านถ้ำ ต.ถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ต่างพากันนำจอบเสียม ออกหาขุดจิ๊กกุ่งหรือจี้โกร่ง ตาม ไร่สวนป่า เพื่อนำมาขาย สร้างรายได้เสริม ช่วงการแพร่เชื้อโรคโควิด -19 เพราะออกไปทำงานที่ไหนไม่ได้เพื่อนำมาขาย และรับประทาน เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีจิ๊กกุ่ง อยู่ในรูกันเป็นจำนวนมาก ในช่วงหน้าฝนจนถึงช่วงฤดูหนาว หรือช่วง 6 เดือนของทุกปี ชาวบ้านพากันออกขุดหาจิ๊กกุ่งกันเพื่อนำมาขายตัวละ2-2.50บาท ในแต่ละวันแต่ละคนสามารถขุดหาจิ๊กกุ่งได้ถึงวันละ50-100 ตัว ทำให้มีรายได้วันละ500-1,000บาท

นาย นายวิทยา สมศักดิ์ ชาวบ้านถ้ำ ต.ถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา กล่าวว่าในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน จะมีจิ๊กกุ่ง เป็นจำนวนมากและมีตัวโต ได้ขุดรูอาศัยอยู่ เพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ และมีตัวโต จึงได้ออกหาและขุดเพื่อนำมาขายตัวละ2-2.50บาท แต่ละวันจะขุดหาได้50-100ตัว เพื่อนำไปขายสร้างรายได้เสริม และเอาไว้กิน โดยเฉพาะช่วงนี้ ช่วงหน้าฝนไปจนถึงช่วงฤดูหนาว หรือช่วง 6 เดือน จะมีมาก และขุดหาได้ตลอด
จิ๊กกุ่งตัวผู้จะตัวเล็กตัวเมียจะตัวโต สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอดต้ม ตำน้ำพริก ฯลฯ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเป็นที่นิยมชมชอบของ ผู้คนทั่วไป ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มักนิยมรับประทาน เป็นของว่างหรือรับประทานกับข้าว มีรสชาติหอม อร่อย กรอบ มัน

สัมภาษณ์นายวิทยา สมศักดิ์ ชาวบ้านขุดจิ๊กกุ่ง บ้านถ้ำ ต.ถ้ำ อ.เมือง จ.พะเยา

ตราด-เกษตรกรเลี้ยงเป็ดไข่โอด ฝนชุกเป็ดหยุดไข่ อาหารแพงลิ่ว

ข่าว-ตราด-เกษตรกรเลี้ยงเป็ดไข่โอด ฝนชุกเป็ดหยุดไข่ อาหารแพงลิ่ว

ภาพ/ข่าว ไข่เป็นอาหารหลักช่วงวิกฤตโควิด 19 ที่ประชาชนเริ่มซื้อตุนไว้เป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นไข่ เป็ด หรือไข่ไก่ นางลําดวน เกษี อายุ 70 ปี 61 หมู่ 5 บ้านห้วงบอน ต.ไม้รูด แม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นอีกหนึ่งผู้เลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข่ขายสร้างรายได้ ให้กับครอบครัว โดยส่งลูกสาวเรียนจนจบปริญญาตรี ปัจจุบันทำงานแล้ว เป็นที่น่าชื่นชม โดยนางลำดวน เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ตนได้เลิกรากับสามี ก็ต้องหาอาชีพเลี้ยงลูกเรียน เริ่มแรกเลี้ยงเป็ดไข่อนุบาลตัวละ 25 บาท และได้เลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีเป็ดพันธุ์ไข่อยู่ประมาณ 450 ตัว สามารถให้ไข่วันละ 150 ฟองต่อวัน โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้าจากจันทบุรีมารับซื้อ ไข่ใหญ่แผงละ 120 บาท ขนาดไข่กลางราคาแผงละ 100 บาท อาทิตย์ ละ 1 โดยจะมารับซื้ออาทิตย์ละ 1 ครั้ง

นอกจากนี้นางลำดวน ยังบอกอีกว่า ได้เก็บไข่เป็ดนำไปขายปลีกราคาแผงละ 120 บาท เช่นเดียวกัน แยกขายใบละ 4 บาท เลี้ยงเป็ดมานานกว่า 7-8 ปีแล้ว สามารถทำรายได้วันละกว่า 500 บาท แต่มาปีนี้แย่ที่สุดเป็นเพราะฝนตกไม่หยุด เป็ดจะไม่ออกไข่ ออกแต่น้อยช่วงนี้ขาดทุนมาตลอด อาหารเป็ดก็แพงลิ่วกระสอบละ 505 บาท นํ้าหนัก 30 กิโลกรัม ใช้ประมาณ 2 กระสอบต่อวันเช้า เย็น มีอาชีพเลี้ยงเป็ดอย่างเดียวไม่มีรายได้เสริมอยู่บ้านหลังเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวต่อสู้ชีวิตมาหลายปีดีบ้างไม่ดีบ้างต่อสู้ต่อไป

/ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด

ผบ.ร.7 พัน.5 ช่วยเกษตรกรช่วงโควิดระบาด รับซื้อข้าวโพดหวาน แจกจ่ายกำลังพลและครอบครัว สร้างความสุขใจ- อิ่มท้อง

“ผบ.ร.7 พัน.5 ช่วยเกษตรกรช่วงโควิดระบาด รับซื้อข้าวโพดหวาน แจกจ่ายกำลังพลและครอบครัว สร้างความสุขใจ- อิ่มท้อง”

วันที่ 6 ส.ค.64 เวลา 09.00 น. พ.อ.สันติพงษ์ ชิงดวง ผบ.ร.7 พัน.5 ได้สั่งการให้ฝ่ายกิจการพลเรือน ดำเนินการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรเป็นข้าวโพดหวานพันธุ์ชูก้า จำนวน 100 กิโลกรัม เพื่อช่วยเหลือเกษตกร บ้านทุ่งโป่ง ต.ทุ่งยาว อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัส (โควิด-19) โดยรับซื้อในราคาตลาด ซึ่งผลผลิตดังกล่าวที่รับซื้อทั้งหมดจะได้นำไปมอบให้แก่กำลังพลและครอบครัวไว้รับประทาน สร้างความสุขใจอิ่มท้อง และมีโภชนาการ รวมถึงเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจต่อไป

พ.อ.สันติพงษ์ ชิงดวง กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัส (โควิด-19)ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง พืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ไม่สามารถนำออกสู่ตลาดเพื่อจำหน่ายได้ ถึงแม้ผลผลิตจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถระบายผลผลิตออกได้ทัน เนื่องจากการประกาศยกระดับมาตรการป้องกันโควิด-19 ห้ามการเดินทางข้ามพื้นที่ตอนกลางคืนซึ่งมีผลกระทบต่อการขนส่งสินค้า ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาปัญหาดังกล่าว ทางกองพันทหารราบที่ 5 กรมทหารราบที่ 7 จึงได้สั่งการให้กำลังพลได้ช่วยเหลือประชาชนโดยการรับซื้อผลผลิตเกษตรจากเกษตรกรผู้ปลูกถึงที่ โดยรับซื้อตามราคาตลาด และยินดีรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรตามศักยภาพของหน่วย โดยการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง และขอเป็นกำลังใจให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤตโควิดนี้อย่างปลอดภัย

สหกรณ์จังหวัดลำพูน ร่วมกิจกรรมกระจายผลไม้ของสมาชิก สู่ผู้บริโภครายย่อย

สหกรณ์จังหวัดลำพูน ร่วมกิจกรรมกระจายผลไม้ของสมาชิก สู่ผู้บริโภครายย่อย

วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางชมนาถ บุญคมรัตน์ สหกรณ์จังหวัดลำพูน กล่าวว่า ได้ร่วมกิจกรรมการกระจายผลไม้ตามฤดูกาลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 เพื่อช่วยลดปัญหาการกระจุกตัวและราคาตกต่ำ
สำหรับการกระจายผลผลิตมังคุดจากภาคใต้มาถึงจังหวัดลำพูนในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของเกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ โดยใช้ขบวนการสหกรณ์เป็นกลไกในการกระจายมังคุดจากเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ชาวสวนผลไม้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการหยุดรับซื้อผลผลิตของพ่อค้าโดยตรง

ซึ่งทำการกระจายโดยมีสหกรณ์การเกษตรบ้านโฮ่ง จำกัด ที่ได้รวบรวมมะม่วงส่งจำหน่ายไปยังภาคใต้ก่อนหน้านี้ ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูนเป็นผู้จำหน่ายผลไม้มังคุดแก่สหกรณ์ในจังหวัดลำพูน จำนวน 7 ตัน จำนวน 700 ตะกร้า มูลค่าเกือบ 200,000 บาท ซึ่งมังคุดที่นำมาจำหน่ายครั้งนี้ ส่งตรงมาจากสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะแลกเปลี่ยนผลผลิตลำไย กับข้าวสาร ระหว่างกันกับสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม และชุมนุมสหกรณ์การเกษตรบุรีรัมย์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนกว่า 2 ตัน มูลค่ากว่า 50,000 บาท และกระจายผลผลิตลองกองของพี่น้องเกษตรกรภาคใต้ ต่อไปอีกด้วย

ฟงหวิน ศักดิ์อัศวิน/// รายงาน

สหกรณ์ จังหวัดลำพูนใส่ใจเกษตรกรจับมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนกระจายสินค้าผลไม้ ฝ่าวิกฤต โควิด19

สหกรณ์ จังหวัดลำพูนใส่ใจเกษตรกรจับมือเครือข่ายแลกเปลี่ยนกระจายสินค้าผลไม้ ฝ่าวิกฤต โควิด19

วันที่ 2 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูนรถบรรทุกขนส่งเงาะจากจังหวัดสุราษฐร์ธานี นางชมนาถ บุญคมรัตน์ สหกรณ์จังหวัดลำพูน กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอก 3 ความรุนแรงมากขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 เป็นต้นมา และคาดการณ์ว่าจะทวีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสัง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสมาชิกอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งการส่งผลผลิตไปจำหน่ายยังต่างประเทศ การปิดตัวของห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่ควบคุมการระบาดสูงสุด ตามมาตรการของภาตรัฐ ส่งผลให้การกระจายตัวของสินค้าเกษตรหยุดชะงักและเกิดความเสียหาย
ในวันนี้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน ร่วมกับขบวนการสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้ช่วยเหลือผลผลิต เงาะ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 345 ตะกร้า โดยที่สหกรณ์การเกษตรบ้านโฮ่ง จำกัด ได้รวบรวมมะม่วง ส่งจำหน่ายไปยังภาคใต้ก่อนหน้านี้ และในวันที่ 6 สิงหาคม 2564 จะมีมังคุดจากจังหวัดนครศรีธรรมราชตามมาให้คนในจังหวัดลำพูนได้ทานกัน

ในขณะที่ลำไยของสหกรณ์จังหวัดลำพูน ก็มีปัญหา จึงได้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน กับจังหวัดมหาสารคาม ทางจังหวัดมหาสารคามได้ส่งจำหน่ายข้าวสารกลับมาเช่นกัน จากการซื้อ/ขาย แลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่างเครือข่ายสหกรณ์ทั่วประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์ผู้ผลิต ได้มีแหล่งจำหน่ายสินค้าของตนเอง ช่วยบรรเทาปัญหาในภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อีกช่องทางหนึ่ง.

ฟงหวิน ศักดิ์อัศวิน///เชียงใหม่

พังงา-ผู้ว่าพังงาปล่อยคาราวานมังคุดส่งภาคอีสาน ช่วยพยุงราคามังคุดด้วยเครือข่ายสหกรณ์

พังงา-ผู้ว่าพังงาปล่อยคาราวานมังคุดส่งภาคอีสาน ช่วยพยุงราคามังคุดด้วยเครือข่ายสหกรณ์

เมื่อวันที่1สิงหาคม 2564 ที่สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.พังงา จำกัด นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วยนายธรรมนูญ ศรีวรรธนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นางสาวสาวดี รักษ์ศิริ สหกรณ์จังหวัดพังงา นางสาววรนิษฐ์ อภิรัฐจิรวงษ์ พาณิชย์จังหวัดพังงา ร่วมปล่อยคาราวานรถบรรทุกมังคุดทิพย์พังงาไปยังสหกรณ์เครือข่ายในภาคอีสาน ตามโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทยสู้ภัยโควิด-19 ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดในจังหวัดพังงาที่กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะจัดส่งมังคุดจากมือเกษตรกรในจังหวัดพังงาไปถึงมือลูกค้าโดยตรง ด้วยขบวนการเครือข่ายสหกรณ์ ซึ่งในครั้งนี้ได้จัดส่งมังคุดรวม 21 ตันไปยังสหกรณ์เครือข่ายในจังหวัดร้อยเอ็ด
นายบรรลือ จริยะเลอพงษ์ ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.พังงา เปิดเผยว่า สหกรณ์

ได้มีการวางแผนผลิตมังคุดคุณภาพให้แก่สมาชิกสหกรณ์ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐพี่เลี้ยง และพี่เลี้ยงธนาคาร ธ.ก.ส. สาขาพังงา สร้างจิตสำนึกให้ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ในวันนี้สหกรณ์ฯ มีความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการได้ช่วยเหลือพยุงราคา กระจายผลผลิตมังคุดทิพย์พังงาไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ในเดือนกรกฎาคม สหกรณ์ได้กระจายมังคุดไปยังจังหวัดต่างๆ รวมจำนวน 50,940 กิโลกรัม มูลค่า 1,509,274 บาท โดยการประสานงาน ติดต่อขายจากทีมงานสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพังงา สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพังงา และธนาคาร ธกส.พังงา
ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า ทางรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รวมถึงรัฐบาลได้มีความห่วงใยราคาผลผลิตทางการเกษตรผลไม้ที่ออกตามฤดูกาล เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้ราคาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังทั้งเรื่องของโควิด-19ที่มีผลกระทบต่อประเทศทำให้ระบบโลจิสติกส์การส่งออกก็เป็นปัญหา รวมถึงภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศก็เป็นปัญหาอยู่ ในวันนี้ได้การสร้างตลาดร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคประชาชนหรือภาค ธกส. และที่สำคัญคือผู้ผลิตคือพี่น้องประชาชนที่มีสวนมังคุดทำอย่างไรที่จะให้มีผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด เป็นมังคุดคัดคุณภาพพิเศษ และขอยืนยันว่ามังคุดทิพย์พังงาเป็นมังคุดที่มีรสชาติพิเศษ ผิวลายเนื้อขาวรสชาติหวาน อมเปรี้ยวนิดๆ ขอยืนยันว่าอร่อยที่สุดในประเทศไทย
ด้านสหกรณ์จังหวัดพังงา กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดพังงามีพื้นที่ปลูกมังคุดกว่า12,000 ไร่ มีปริมาณผลผลิต มากกว่า6,000 ตัน ออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน 2564 ขณะนี้มีผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ 35 และเริ่มมีปัญหาราคาตกต่ำช่วงปลายเดือนกรกฎาคม เนื่องจากมีผลผลิตมังคุดออกสู่ตลาดพร้อมกันหลายจังหวัด ประกอบกับประเทศจีนเข้มงวดการนำเข้าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ประกอบการรับซื้อจึงชะลอการรับซื้อ และระบบการขนส่งได้ได้หยุดรับส่งผลไม้ในช่วงวันหยุดยาว ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพังงา พาณิชย์จังหวัดพังงา สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.พังงา และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันจัดโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทยสู้ภัย โควิด-19 เพื่อช่วยพยุงราคาผลผลิตให้ชาวสวนมังคุดในจังหวัดพังงา นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับทางหอการค้าจังหวัดพังงา สภาเกษตรกรพังงา และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีพังงา รับซื้อมังคุดจากกลุ่มเกษตรกรส่งไปยังจังหวัดต่างทั่วประเทศอีกด้วย

กาฬสินธุ์ผุดสวนสมุนไพรพื้นบ้านคลังยาป้องกันช่วยผู้ป่วยต้านเชื้อโควิด

กาฬสินธุ์ผุดสวนสมุนไพรพื้นบ้านคลังยาป้องกันช่วยผู้ป่วยต้านเชื้อโควิด

นายกเทศมนตรีตำบลคำเหมือดแก้ว อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับผู้นำชุมชน อสม. ระดมชาวบ้าน เนรมิตพื้นที่ว่างเปล่า 3 ไร่ เป็นสวนยาสมุนไพรพื้นบ้านและอาหารเสริม โดยนำพืชสมุนไพรนานาชนิด และหน่อกล้วยนานาพันธุ์ เข้ามาปลูก นำผลผลิตเป็นยาสมุนไพรดื่มกินสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายและรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ให้กับประชาชนที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงเข้าสู่ระบบการกักกันตัว และรักษาอาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ที่โรงเรียนวังลิ้นฟ้า เขตเทศบาลตำบล (ทต.) คำเหมือดแก้ว อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งใช้เป็นสถานที่กักกันตัวประชาชน ที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 นายพิบูรณ์ คำแหงพล นายก ทต.คำเหมือดแก้ว, นายโชคดี แก้วเก็ตคำ ปลัด ทต.คำเหมือดแก้ว, นายบพิตร งอมสระคู กำนัน ต.คำเหมือดแก้ว พร้อมด้วยสมาชิกสภา และ 4 ทหารเสือ ลงพื้นที่ตรวจการณ์และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยกักกัน และประชาชนที่เดินทางจากกรุงเทพฯ และจังหวัดพื้นที่เสี่ยง ที่เข้าระบบการกักกัน 14 วัน โดย ตำบลคำเหมือดแก้ว กำหนดให้หอประชุมโรงเรียนวังลิ้นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลชุมชนและอยู่ระหว่างปิดเรียน เป็นสถานที่กักกันตัว โดยปัจจุบันในพื้นที่มีผู้เข้าสู่ระบบการกักกันตัว 4 ราย ผู้ป่วยติดเชื้อยืนยัน 1 ราย และเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1 ราย
จากนั้น นายพิบูรณ์ คำแหงพล นายก ทต.คำเหมือดแก้ว พร้อมคณะ ได้ร่วมกับชาวบ้าน นำพืชสมุนไพรนานาชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว ขิง ข่า ตะไคร้ และสมุนไพรพื้นบ้านต่างๆรวมทั้งหน่อกล้วยนานาพันธุ์ เข้ามาปลูกบนพื้นที่ว่างเปล่า ซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ข้างสำนักงาน ทต.คำเหมือดแก้ว จำนวน 3 ไร่ ทั้งนี้ เพื่อจัดเป็นสวนสมุนไพรพื้นบ้าน โดยจะนำส่วนต่างๆของพืชสมุนไพรที่ปลูกขึ้น เช่น ใบ ลำต้น หัว กิ่งก้าน ไปสกัดเป็นตัวยาตามกรรมวิธีของการแพทย์ทางเลือก และใช้กับประชาชนที่เข้ารับการกักกันตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยได้รับเชื้อโควิด-19

ที่โรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลประจำอำเภอ ได้ดื่มกินเป็นภูมิต้านทานและบำบัดรักษาอาการให้ดีขึ้น
นายพิบูรณ์ คำแหงพล นายก ทต.คำเหมือดแก้ว กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ยังมีแนวโน้มรุนแรง ขณะเดียวกันในแต่ละวันยังพบว่า มีประชาชนเดินทางจากกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดพื้นที่เสี่ยงสูง กลับสู่ภูมิลำเนาเป็นจำนวนมากขึ้น ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ ทต.คำเหมือดแก้วและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งดำเนินการหามาตรการรับมือ ควบคู่กับการป้องกัน ไม่ให้ประชาชนได้รับเชื้อ หรือเกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วย จากโรคติดเชื้อโควิด-19
นายพิบูรณ์ กล่าวอีกว่า อีกแนวทางหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นมาตรการ ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน และภูมิคุ้มกันร่างกาย คือการนำยาสมุนไพรเข้ามาใช้กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งผู้ที่เข้าสู่ระบบการกักกันตัวและผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งยาสมุนไพรถือเป็นโอสถขนานเอกของการแพทย์ทางเลือก มีสรรพคุณบรรเทาอาการและบำบัดรักษาโรคภัยต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยที่ทางการแพทย์แผนใหม่ให้การยอมรับ เช่น ฟ้าทะลายโจรและกระชายขาว ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้ผลเป็นที่ยอมรับทั่วไป
นายพิบูรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดชองโรคติดเชื้อคิด-19 ยังรุนแรง มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงเดินทางเข้ามาในพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงได้ร่วมกับผู้นำชุมชน อสม. ชาวบ้าน ระดมแรงกายแรงใจ จัดหาและนำพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ เข้ามาปลูกในพื้นที่ดังกล่าว โดยจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาให้เจริญเติบโต ทั้งการใส่ปุ๋ยบำรุง รดน้ำ เพื่อที่จะได้นำชิ้นส่วนของพืชสมุนไพรไปต้มดื่มกินหรือสกัดเป็นตัวยาต่อไป ในขณะที่ผลผลิตจากกล้วย ทั้งปลีกล้วยและกล้วยสุก ก็จะนำไปเป็นอาหารเสริมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการใช้สมุนไพร ต้องอยู่ในการกำกับดูแลของหมอสมุนไพรพื้นบ้าน ที่มีความรู้ความชำนาญ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้การใช้ยาได้ผล หรือไม่เกิดผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ยา ทั้งนี้ สิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกัน คือรักษามาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยมีเป้าหมายคือ ทุกคนก้าวข้ามวิกฤติโรคติดเชื้อโควิด-19 ด้วยกัน

มนัญญา สั่งกรมวิชาการเกษตร รุดแก้ปมส่งออกลำไยไปจีนต้องไม่สะดุด

มนัญญา สั่งกรมวิชาการเกษตร รุดแก้ปมส่งออกลำไยไปจีนต้องไม่สะดุด

มนัญญา สั่งเร่งแก้ปัญหาส่งออกลำไยหลังรับรายงานจีนแจ้งเตือนตรวจพบศัตรูพืชกว่า 100 ชิปเม้นท์ กรมวิชาการเกษตรเดินหน้าประสานสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่งนัด GACC ประชุมแจงแผนปฏิบัติการแนวทางแก้ไขและมาตรการป้องกันครอบคลุมทุกด้าน ผ่านระบบ Zoom เร็วๆ นี้

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้รับข้อสั่งการด่วนจากนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้กรมวิชาการเกษตรเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีที่สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ได้แจ้งเตือนปัญหาการตรวจพบเพลี้ยแป้งในลำไยจากไทยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 จำนวน 114 ครั้ง ซึ่งเป็นสินค้าลำไยส่งออกไปจีนที่ออกใบรับรองสุขอนามัยพืชก่อนหน้านี้ โดยในจำนวนนี้มีสวนถูกแจ้งเตือน จำนวน 100 แห่ง โรงคัดบรรจุถูกแจ้งเตือน จำนวน 66 แห่ง แบ่งเป็นในพื้นที่ จ. จันทบุรี 28 แห่ง จ.สระแก้ว 1 แห่ง จ.เชียงใหม่ 11 แห่ง และ จ.ลำพูน 26 แห่ง

จีนได้ขอให้กรมวิชาการเกษตรทำการระงับการส่งออกผลไม้ไปจีนที่ผลิตจากสวนและโรงคัดบรรจุที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราวด้วยตนเองก่อน พร้อมรายงานผลการตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขให้ GACC พิจารณาเห็นชอบจึงจะอนุญาตให้สวนและโรงคัดบรรจุดังกล่าวส่งออกผลไม้ไปสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อีกครั้ง ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรได้จัดประชุมหน่วยงานภายในกรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมาตรการป้องกันครอบคลุมตั้งแต่ที่สวน โรงคัดบรรจุ และด่านตรวจพืช เสนอให้ฝ่ายจีนพิจารณา ซึ่งขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้ประสานให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง ขอนัดหมายการประชุมเจรจากับ GACC ด้วยระบบ Zoom แล้ว

“อย่างไรก็ตาม กรมวิชาการเกษตรได้จัดประชุมกับผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ลำไยภาคตะวันออก เพื่อแจ้งให้ทราบถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นแล้วและชี้แจงแนวทางและมาตรการต่างๆ ของกรมวิชาการเกษตรในการส่งออกลำไยในฤดูกาลผลิตนี้ รวมทั้งชี้แจงให้ทราบถึงข้อกังวลของจีนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทย จึงขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการเคร่งครัดในการตรวจสอบและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปพร้อมๆ กับการเข้มงวดตรวจสอบศัตรูพืชด้วยไม่ให้ปนเปื้อนไปกับสินค้าด้วย” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

*************************************
พนารัตน์ เสรีทวีกุล : ข่าว
กลุ่มประชาสัมพันธ์/โทร.0623451821
วันที่ 28 กรกฎาคม 2564
Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com