google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

รมว.สุชาติ แถลงผลงานนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19

รมว.สุชาติ แถลงผลงานนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19

 

วันที่ 14 กันยายน 2565 เวลา 14.00 น.นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการแถลงผลการดำเนินงานและทิศทางนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยมี นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้แทนสมาคม องค์กร ภาคประชาสังคม นายจ้าง/สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

 

นายสุชาติ กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ที่เห็นชอบให้การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด
-19 เป็นวาระแห่งชาติ ทั้งในสถานการณ์ที่เป็นอยู่และภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคสิ้นสุดลง
ซึ่งจะต้องฟื้นฟูประเทศในมิติต่าง ๆ อย่างเร่งด่วนโดยกระทรวงแรงงานได้บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงานได้บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ให้สามารถอยู่และทางานได้เป็นการชั่วคราวมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1) การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 2) การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 และ 3) การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ซึ่งการบริหารจัดการดังกล่าวเมื่อคน
ต่างด้าวดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดครบถ้วน จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานถึงวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2566 มีจานวนทั้งสิ้น 1,696,638 คน อันเป็นการแก้ไขข้อขัดข้องการขาดแคลนแรงงานและทำให้นายจ้าง/สถานประกอบการ สามารถจ้างงานคนต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และคนต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทางานได้อย่างถูกต้อง โดยได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ภายหลังวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หากไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อภาคการผลิตและธุรกิจอย่างที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จึงจำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนนายจ้าง/สถานประกอบการ และภาคการผลิตให้สามารถจ้างคนต่างด้าวดังกล่าวซึ่งประสงค์จะทางานสามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานต่อไป

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานจึงได้เสนอ เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ 1) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วยคนต่างด้าว
3 สัญชาติ คือ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทางานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งมีจำนวนกว่า 1.6 ล้านคน หากคนต่างด้าวประสงค์จะทำงานต่อไป จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทางานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 และ 2) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
4 สัญชาติ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาทิ การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานสิ้นสุดโดยผลของกฎหมาย หรือเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงแต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (Over Stay) ซึ่งได้ทำงานกับนายจ้างก่อนวันที่
5 กรกฎาคม 2565 โดยนายจ้าง/สถานประกอบการยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name List) ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 1 – 15 สิงหาคม 2565 มีจำนวน 731,332 ราย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 172,553 คน และพื้นที่ต่างจังหวัด 558,779 คน และเมื่อดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดครบถ้วนจะได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรและทางานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และหากคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะทำงานต่อไป จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานครั้งละ 1 ปี ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
การนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MOU โดยเริ่มดำเนินการนำเข้าตาม MOU
อีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นมา โดยระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 – 9 กันยายน 2565 มีการยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ จำนวน 13,019 คำร้องเป็นคนต่างด้าว จำนวน 330,106 คน (กัมพูชา 73,031 คน ลาว 36,899 คน และเมียนมา 220,175 คน) และได้อนุญาตคำร้องดังกล่าว จำนวน 11,516 คำร้อง เป็นคนต่างด้าว จำนวน 315,804 คน (กัมพูชา 69,558 คน ลาว 32,967 คน และเมียนมา 213,279 คน) โดยมีคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว จำนวน 69,356 คน (กัมพูชา 17,465 คน ลาว 9,108 คน และเมียนมา 42,783 คน)

“จากผลการดำเนินการในครั้งนี้ ทำให้กระทรวงแรงงานได้มีการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้นายจ้าง/สถานประกอบการมีกำลังแรงงานที่เพียงพอในการขับเคลื่อนธุรกิจและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และในอนาคตกระทรวงแรงงานมีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการให้บริการด้านการทำงานของคนต่างด้าวให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การลดขั้นตอน การลดระยะเวลา และการลดการใช้เอกสาร รวมทั้ง การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวอย่างเต็มความสามารถด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยึดประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นที่ตั้ง รวมทั้ง คนต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด”นายสุชาติ กล่าวตอนท้าย

ก.แรงงาน มอบถ้วยรางวัลพระราชทาน ในงาน Thailand Labour Management Excellence Award 2022

กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดพิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงาน Thailand Labour Management Excellence Award 2022 ให้แก่สถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยม ประจำปี 2565 จำนวน 2 แห่ง ที่มุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกจ้าง เป็นต้นแบบให้กับสถานประกอบกิจการอื่นๆ นำไปใช้พัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

วันที่ 1 กันยายน 2565 นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2565 (Thailand Labour Management Excellence Award 2022) ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน โดยนายสุรชัย กล่าวว่า การจัดพิธีมอบรางวัลในวันนี้เกิดขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ที่ต้องการประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติให้แก่สถานประกอบกิจการที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านแรงงานจนประสบผลสำเร็จและเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยในปีนี้กระทรวงแรงงานได้ขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ให้กับสถานประกอบกิจการที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสถานประกอบกิจการที่มีความมุ่งมั่นในการบริหารแรงงานอย่างเป็นมาตรฐานครบ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน และด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อันจะเป็นเกียรติยศและความภาคภูมิใจร่วมกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าสถานประกอบกิจการนั้นได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน และสร้างความตระหนักรู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงานในทุกมิติ จนสามารถเป็นต้นแบบให้กับสถานประกอบกิจการอื่นๆ นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ด้าน นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่าในปีนี้มีสถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทาน ประจำปี 2565 จำนวน 2 รางวัล คือ สถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ได้แก่ บริษัท แมคคีย์ ฟู้ด เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ และสถานประกอบกิจการขนาดกลาง ได้แก่ บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินการของสถานประกอบกิจการของทั้ง 2 แห่ง ส่งผลให้นายจ้าง ลูกจ้าง มีความสัมพันธ์อันดี ลูกจ้างมีขวัญกำลังใจในการทำงาน เสริมสร้างศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยทั้งสองฝ่ายสามารถปรับตัวเข้ากับบริบทด้านแรงงานที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ป้องกัน และลดช่องว่างการขัดแย้งด้านแรงงานที่อาจเกิดขึ้นได้ อันจะเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

“นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานได้มอบรางวัลเกียรติยศให้แก่สถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินการในกิจกรรมแต่ละด้านมาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 18 รางวัล ได้แก่ รางวัลเกียรติยศสถานประกอบกิจการที่ธำรงรักษาระบบมาตรฐานแรงงานไทยต่อเนื่อง ปีที่ 15 จำนวน 2 รางวัล รางวัลเกียรติยศสูงสุดยิ่งสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานระดับประเทศ ปีที่ 20 จำนวน 5 รางวัล และรางวัลเกียรติยศสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ ปีที่ 20 จำนวน 11 รางวัล เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูสถานประกอบกิจการที่สามารดำเนินการในแต่ละด้านได้อย่างดียิ่ง อันจะเป็นต้นแบบให้สถานประกอบกิจการอื่นๆ นำไปเป็นต้นแบบในการดำเนินสถานประกอบกิจการ เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นสถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานให้อยู่ระดับยอดเยี่ยมต่อไป” นายนิยม กล่าวตอนท้าย

รมว.สุชาติ จับมือ โลตัสอมตะนคร จำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการแรงงานพันธุ์ดีฯ หวังสร้างรายได้ให้แรงงานในสถานประกอบการ

รมว.สุชาติ จับมือ โลตัสอมตะนคร จำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการแรงงานพันธุ์ดีฯ
หวังสร้างรายได้ให้แรงงานในสถานประกอบการ

 

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอพียง ณ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัสสาขาอมตะนคร) จ.ชลบุรี ในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีภูมิคุ้มกัน โดยส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพาะปลูกพืชผักสวนครัว พืชผลทางการเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์ นำผลผลิตมาบริโภคเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการครองชีพ

           นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้กระทรวงแรงงานดำเนินการ เพื่อส่งเสริมให้นายจ้าง ลูกจ้างใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างมูลค่าด้วยการใช้ที่ดินหรือพื้นที่ว่างเปล่า และใช้เวลาหลังเลิกงานหรือในวันหยุด ทำการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ทำการเกษตร โดยพืชผลที่ได้ลูกจ้างนำมาแลกเปลี่ยน แบ่งปันกันแล้วนำกลับไปบริโภคและจำหน่ายเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ปัจจุบันมีสถานประกอบกิจการทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ จำนวน 402 แห่ง สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้มากถึง 21.55 ล้านบาท นับเป็นความก้าวหน้าอีกระดับหนึ่งที่สามารถพัฒนาต่อยอดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสำหรับการเพาะปลูกเพื่อการบริโภค ขยายไปถึงการเพาะปลูกเพื่อจำหน่าย นอกจากนี้ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส สาขาอมตะนคร)จ.ชลบุรี ยังได้รับรางวัลเกียรติยศสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี พ.ศ.2565 ระดับประเทศ เป็นปีที่ 12 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ และสถานประกอบกิจการ เพื่อที่จะดูแลให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีอันเป็นพื้นฐานของ การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกระทรวงแรงงานจะดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

          ด้าน นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า การจัดงานโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ในวันนี้ มีสถานประกอบกิจการ 10 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการนำผลผลิตที่ได้จากโครงการ เช่น พืชผักสวนครัว ไข่ไก่ ฯลฯมาแสดงและจัดจำหน่ายในราคาถูก เป็นการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำพืชผักสวนครัวและผลผลิตทางการเกษตรของลูกจ้างที่ได้จากการเพาะปลูกมาจำหน่าย เพื่อสร้างมูลค่าและเพิ่มรายได้ในครัวเรือนให้แก่ลูกจ้าง โดยผลของการจัดโครงการดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ให้แก่สถานประกอบกิจการทั่วประเทศ สำหรับเป็นแนวทาง ในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป สถานประกอบกิจการใดสนใจเข้าร่วมโครงการ ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการแรงงาน โทร. 0 2660 2177

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com