google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

พังงา//ฮา…รมว.เกษตรฯ ยืมเงินอธิบดีช่วยซื้อเมล่อนเกษตรกร พร้อมชื่นชมเกษตรแปลงใหญ่พังงา หนุนการผลิตสู่ครัวอันดามัน

ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)บ้านนากลาง หมู่ 9 ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามภาพรวมการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ แปลงใหญ่ผัก จังหวัดพังงา โดยมีนางสาวนิรชา บัณฑิตย์ชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่ และกลุ่มเกษตรกร

ร่วมให้การต้อนรับ โดยได้ร่วมกันเก็บผลผลิตผักสลัด พร้อมชิมกันแบบสดๆ และมีเรื่องฮาๆเมื่อรัฐมนตรีตัดเมล่อนเบิกฤกษ์ให้กับกลุ่มเกษตรกรยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ พร้อมกับซื้อเมล่อนที่ตัดในราคา3,000บาท แต่เมื่อล้วงเงินจ่าย ปรากฏว่าในกระเป๋ามีแต่กระดาษ ไม่มีเงิน จึงยืมเงินจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรจ่ายให้กับเกษตรกรสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับผู้ร่วมงาน

นส.เบญจมาศ ส่องแสง ประธานกลุ่มยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดพังงา กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกผักของจังหวัดพังงา ผ่านระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ผักจังหวัดพังงาขึ้นโดยขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับเกษตรกรรุ่นใหม่ ปัจจุบันแปลงใหญ่ผักจังหวัดพังงามีเกษตรกรที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 5 กลุ่ม ใน 5 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพังงา อำเภอทับปุด อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง มีจำนวนสมาชิกรวม 169 ราย พื้นที่รวม 131 ไร่ 3 งาน โดยได้ปลูกพืชตามความต้องการของตลาด เช่น ผักสลัด ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือ มะนาว บวบ กวางตุ้ง แตงกวา ตะไคร้ ผักเหลียง เป็นต้น

ในปีพ.ศ. 2566 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแปลงใหญ่ผักทั้ง 5 แปลงและได้ดำเนินงานเริ่มตั้งแต่การสร้างกระบวนการกลุ่ม การประชุมเพื่อวางแผนการผลิตของกลุ่ม การบริหารจัดการถ่ายทอดความรู้ และการประสานงาน ด้านการตลาดล่วงหน้าโดยเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันความต้องการของตลาดด้านพืชผักปลอดภัยมีทั้งตลาดในท้องถิ่นโรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล รวมทั้งโมเดลเทรด แต่เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่มียังไม่เพียงพอและไม่สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถรองรับความต้องการของตลาดได้ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผน เพื่อขยายกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้น จากการขับเคลื่อนร่วมกันของหลายภาคส่วนทำให้รู้ว่าจะต้องรวบรวมปัญหาที่พบและวิธีจัดการ และทำเป็นโครงการเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์จังหวัดพังงา ในการจัดทำคำของบประมาณโครงการ เพื่อการขยายพื้นที่การผลิต รวมทั้งการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการพัฒนาจุดรวบรวมผลผลิต โรงคัดบรรจุตามมาตรฐาน GMP และกิจกรรม Phangnga wellness Festival ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อให้เกษตรกรได้รู้จักกับผู้ประกอบการ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างการท่องเที่ยวและการเกษตร/โดยโครงการต่างๆ/จะเป็นการวางรากฐาน/เพื่อให้เกิดโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ซึ่งได้รับการบรรจุเป็นคำของบประมาณจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้ว

ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้ จังหวัดพังงาได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 2,275,000 ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตผัก การฝึกอบรม การจัดทำแปลงต้นแบบการปลูกผัก ระบบเกษตร Smart Farm ยุคดิจิทัล การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การสนับสนุนโรงเรือนปลูกผักแบบยกพื้น และปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การปลูกผักโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรสามารถขยายกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในอนาคต ทั้งนี้ จังหวัดพังงามีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 61 แปลง แบ่งเป็น ด้านพืช จำนวน 54 แปลง ปศุสัตว์ จำนวน 6 แปลง และด้านประมง จำนวน 1 แปลง ซึ่งทุกแปลงยังคงดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการคือ เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกัน ทำให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน และเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีนักส่งเสริมการเกษตรคอยให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา

สุราษฎร์ธานี//ผู้ว่าสุราษฎร์ฯ ประชุมขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ผ่านระบบ VCS .

รายงาน : สุนิตา วิชัยดิษฐ์

วันนี้ (31 ม.ค. 66) เวลา 13.30 น. นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการและผู้แทน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คณะที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ตลอดจน หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยประจำภูมิภาค จากทั่วประเทศ ร่วมประชุมผ่านระบบวีดิโอทางไกล

โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสที่ นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง จากนั้นได้มอบนโยบายสำคัญ ประกอบด้วย การเตรียมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ดำเนินตามปฏิทินการเลือกตั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศ โดยสั่งการให้ สนับสนุนการเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร้องขอ และเน้นย้ำให้ข้าราชการ ที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง รวมถึง ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ในส่วนของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น สามารถช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนเองสนับสนุนได้ แต่ต้องเป็นเวลานอกเวลาราชการ และต้องไม่ใช้เครื่องมือซึ่งเป็นวัสดุอุปกรณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปใช้

นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำ ถึงการขับเคลื่อนนโยบายการจัดทำหมู่บ้านยั่งยืน ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวสร้างความมั่นคงด้านอาหารเพื่อเป็นไปตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร เป็นสำคัญ และการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน โดยยกตัวอย่าง บ้านดอนกอย ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ที่ได้รับการสนับสนุนและขับเคลื่อนจากจังหวัดสกลนคร ตลอดจน ส่วนราชการ จนเกิดผลเป็นรูปธรรม ช่วยกันเผยแพร่กระจายข่าวสารให้กำลังใจบ้านที่ทำดีอยู่แล้วให้ทำดีต่อไป
พร้อมทั้ง เน้นย้ำหน้าที่สำคัญ ของข้าราชการกระทรวงมหาดไทย คือ การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชนได้อย่างยั่งยืน โดย ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญเอาใจใส่ในการขับเคลื่อน

ผ่านการผลักดันให้ นายอำเภอเป็น “ผู้นำ” เป็น “แม่ทัพ” สร้างทีมหรือขับเคลื่อนทีมที่มีอยู่แล้ว สู่เป้าหมาย “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนดังกล่าว.

สุราษฎร์ธานี//แรงงานเมียนมา ไม่เชื่อคำเตือนถูกคลื่นซัดตกโขดหินหายใต้ทะเล.

รายงาน : พ.ท.อำนาจ ปาทะกาญจน์

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายจิรภัทร ชูจันทร์ ปลัดฝ่ายความมั่นคง อำเภอเกาะสมุย ว่าเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 30 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุแรงงานชาวเมียนมาถูกคลื่นซัดตกทะเลจมน้ำทะเลหายบริเวณจุดชมวิวลาดเกาะ ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติถ่ายคลิปไว้ได้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณจุดชมวิวลาดเกาะได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ก่อนเกิดเหตุได้มีแรงงานชาวเมียนมาสามคนมากับรถจักรยานยนต์มาจอดด้านบนของจุดชมวิวลาดเกาะ จากนั้นทั้งสามคนได้เดินลงไปด้านล้างเห็นทั้งสามคนนั่งคุยกันบริเวณโขดหิน จึงได้เดินไปเตือนว่าอย่าลงไปด้านล้างที่มีคลื่นซัดถึงจะเกิดอันตราย เนื่องจากช่วยนี้ทะเลอ่าวไทยบริเวณเกาะสมุยทะเลมีคลื่นกำลังแรงซัดเข้าฝั่ง จากนั้นไม่นานก็ได้ยินเสียงตะโกนขอความช่วยเหลือ โดยมีเพื่อนๆ ของชาวเมียนมากระโดดลงทะเลเพื่อช่วยเพื่อนแต่ไม่สามารถช่วยได้ เพื่อนจึงว่ายน้ำกลับขึ้นฝั่ง ส่วนเพื่อนที่ถูกคลื่นซัดตกโขดหินได้ถูกคลื่นซัดห่างออกจากฝั่ง ซึ่งเพื่อนชาวเมียนมาทั้งสองคนหลังจากเพื่อนหายไปกับทะเลแล้วได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากที่เกิดเหตุ และได้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ่อผุด ให้รีบมาตรวจสอบดังกล่าว

ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้จึงได้สนธิกำลังไปตรวจสอบที่เกิดเหตุประกอบด้วยฝ่ายปกครองอำเภอเกาะสมุย ตำรวจน้ำเกาะสมุย ตำรวจจาก สภ.บ่อผุด และเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อำเภอเกาะสมุย ได้เข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุ โดยได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอำเภอเกาะสมุยออกค้นหาบริเวณใกล้เคียงแต่ไม่พบ ซึ่งการค้นหาเป็นไปด้วยความลำบากเนื่องจากสภาพอากาศที่คลื่นมีกำลังแรงซัดเข้าฝั่ง

โดยวันนี้เจ้าหน้าที่จะได้ออกค้นหาชายชาวเมียนมาที่ถูกคลื่นซัดตกโขดหินอีกครั้ง นายจิรภัทร ชูจันทร์ ปลัดฝ่ายความมั่นคง อำเภอเกาะสมุย ได้ฝากเตือนถึงนักท่องเที่ยวว่าช่วงนี้คลื่นลมในทะเลรอบเกาะสมุยมีกำลังแรง โดยห่างฝั่งคลื่นสูงสองถึงสามเมตรขอให้เชื่อคำเตือนหรือสัญญาลักษณ์ธงแดงห้ามลงเล่นน้ำทะเลที่ปักบริเวณชายหาดอย่างจริงจังด้วย เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะตามมาเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้

สุราษฎร์ธานี//ชุดปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวบเครือข่ายยาเสพติด กลางเมือง ได้ผู้ต้องหา 2 ราย พร้อมยาบ้า 24,000 เม็ด

รายงาน : สุนิตา วิชัยดิษฐ์

เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา ชุดปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้การอำนวยการของ นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี, พันเอกฐิติพงษ์ อินวะษา รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 45 ในฐานะรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่าที่ร้อยโทสมชาย เรืองจันทร์ ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายชัยณรงค์ วจนะเสถียร ป้องกันจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สั่งการให้ นายณัฐวงค์ เกตุแทน หัวหน้าชุดฯ, นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าจับกุมเป้าหมายเครือข่ายยาเสพติด ตามเบาะแสจากสายข่าว โดยสามารถจับกุมได้ที่ สี่แยกบางกุ้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ได้ผู้ต้องหา 2 ราย คือ นายสมหวัง หรือบ่าวคงหีต อายุ 30 ปี ชาวอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายบัญชา หรือเอ็กซ์ มิตรเมือง อายุ 34 ปี ชาวอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง พร้อมของกลาง ยาบ้า 24,000 เม็ด โทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง

จากนั้น ได้ควบคุมตัวไปสอบสวนเพื่อขยายผล หาแหล่งที่มาและผู้ค้ารายใหญ่ ก่อนส่งตัวผู้ถูกจับกุม พร้อมของกลาง ให้กับพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อดำเนินคดีต่อไป.

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกตรวจเยี่ยมงานการส่งกำลังบำรุง กองบัญชาการช่วยรบที่ 3

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกตรวจเยี่ยมงานการส่งกำลังบำรุง กองบัญชาการช่วยรบที่ 3เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ที่ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการส่งกำลังบำรุง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 โดยมี พลโท สุริยะ เอี่ยมสุโร แม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมด้วย พลตรี กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ร่วมให้การต้อนรับ โดยผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและคณะ ได้เข้ารับฟังบรรยายสรุปภารกิจของกองพันซ่อมบำรุงที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ปัญหาข้อขัดข้องทางการซ่อมบำรุงของหน่วย พร้อมกับรับทราบความก้าวหน้าของงานด้านการซ่อมบำรุง
จากนั้นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกเดินทางไปตรวจเยี่บมคลัง สป. 2 – 4 ของกองพันส่งกำลังบำรุงที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ทั้งนี้ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้เน้นย้ำให้หน่วย ได้ใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า พัฒนาระบบการส่งกำลังบำรุงให้สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพบกได้.

ทรงวุฒิ ทับทอง

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกตรวจเยี่ยมงานการส่งกำลังบำรุง กองบัญชาการช่วยรบที่ 3

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกตรวจเยี่ยมงานการส่งกำลังบำรุง กองบัญชาการช่วยรบที่ 3เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ที่ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการส่งกำลังบำรุง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 โดยมี พลโท สุริยะ เอี่ยมสุโร แม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมด้วย พลตรี กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ร่วมให้การต้อนรับ โดยผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและคณะ ได้เข้ารับฟังบรรยายสรุปภารกิจของกองพันซ่อมบำรุงที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ปัญหาข้อขัดข้องทางการซ่อมบำรุงของหน่วย พร้อมกับรับทราบความก้าวหน้าของงานด้านการซ่อมบำรุง
จากนั้นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกเดินทางไปตรวจเยี่บมคลัง สป. 2 – 4 ของกองพันส่งกำลังบำรุงที่ 23 กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ทั้งนี้ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้เน้นย้ำให้หน่วย ได้ใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า พัฒนาระบบการส่งกำลังบำรุงให้สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพบกได้.ทรงวุฒิ ทับทอง

พลเรือตรี ชัยยงค์ ขุนทา ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือ นำคณะข้าราชการและนักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ ๕๕ ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มอบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้าและของใช้สำหรับเด็กให้กับบ้านอุดรธานี (สถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี)

วันที่ ๓๑ ม.ค.๖๖ พลเรือตรี ชัยยงค์ ขุนทา ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือ นำคณะข้าราชการและนักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ ๕๕

ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มอบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้าและของใช้สำหรับเด็กให้กับบ้านอุดรธานี (สถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี) โดยมีคุณจริญญา วันทาวงศ์ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารร่วมให้การต้อนรับ

สถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง รับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อบำรุงรักษาครุภัณฑ์ของทางหน่วยละงานราชการ

สถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง รับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อบำรุงรักษาครุภัณฑ์ของทางหน่วยละงานราชการ

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 256ุุ6 ณ สถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พ.ต.อ.นภธร วาชัยยุง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง ได้รับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อสนับสนุนภารกิจของสายตรวจมอเตอร์ไซค์ในพื้นที่ โดยมี นายจิระภาคย์ เปรมพิริยธรณ์ ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการฯตำรวจ และ นายกตตน์ชยณัฐ เหลียวตระกูล เลขาธิการสมาคมสื่อธรรมมาธิบาลต้านคอร์รัปชั่น

มอบยางรถจักรยานยนต์สายตรวจ จำนวน 12 เส้นให้ใช้งาน แก่รถจักรยานยนต์สายตรวจ ของสถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง เพื่อเป็นการบำรุงรักษาครุภัณฑ์ของทางหน่วยงานราชการให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ท่านผู้ใหญ่ใจดีทั้งสองได้กล่าว ทิ้งท้ายว่า เจ้าหน้าที่ต้องมีความปลอดภัยก่อนถึงจะพร้อมไปดูแลให้ความปลอดภัยกับประชาชนต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่ทุกนาย

สถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง รับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อบำรุงรักษาครุภัณฑ์ของทางหน่วยงานราชการ

สถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง รับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อบำรุงรักษาครุภัณฑ์ของทางหน่วยงานราชการ

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 256ุุ6 ณ สถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พ.ต.อ.นภธร วาชัยยุง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง ได้รับมอบสิ่งของบริจาคเพื่อสนับสนุนภารกิจของสายตรวจมอเตอร์ไซค์ในพื้นที่ โดยมี นายจิระภาคย์ เปรมพิริยธรณ์ ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการฯตำรวจ และ นายกตตน์ชยณัฐ เหลียวตระกูล เลขาธิการสมาคมสื่อธรรมมาธิบาลต้านคอร์รัปชั่น

มอบยางรถจักรยานยนต์สายตรวจ จำนวน 12 เส้นให้ใช้งาน แก่รถจักรยานยนต์สายตรวจ ของสถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง เพื่อเป็นการบำรุงรักษาครุภัณฑ์ของทางหน่วยงานราชการให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ท่านผู้ใหญ่ใจดีทั้งสองได้กล่าว ทิ้งท้ายว่า เจ้าหน้าที่ต้องมีความปลอดภัยก่อนถึงจะพร้อมไปดูแลให้ความปลอดภัยกับประชาชนต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่ทุกนาย

มุกดาหารปล่อยแถวเปิดปฏิบัติการ ” ยุทธการเปิดฟ้าเมืองมุก

มุกดาหารปล่อยแถวเปิดปฏิบัติการ ” ยุทธการเปิดฟ้าเมืองมุก

มุกดาหาร/เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา10.00 น.นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร, ผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี, รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดมุกดาหาร, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร, ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 4, ปลัดจังหวัดมุกดาหาร, นายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร, หัวหน้าส่วนราชการ,นายอำเภอ ร่วมในพิธีปล่อยแถวเปิดปฏิบัติการ ” ยุทธการเปิดฟ้าเมืองมุก ” ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดปฏิบัติการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะเร่งด่วน 3 เดือน (1 พฤศจิกายน 2565-31 มกราคม 2566) และได้มอบนโยบายว่า ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และเป็น 1 ใน 12 นโยบายสำคัญของรัฐบาล เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหา ยาเสพติดฯ ระยะเร่งด่วน 3 เดือน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ด้านการป้องกัน ให้กระทรวงศึกษาธิการ สร้างภูมิคุ้มกันด้วยความรู้และหลักคิดที่ถูกต้องให้กับเยาวชน สร้างกลไกเฝ้าระวังยาเสพติด เพื่อป้องกันสถานศึกษาให้เป็น “พื้นที่สีขาว” พื้นที่ปลอดภัยอยู่เสมอ และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว และสนับสนุนการบำบัดรักษาโดยชุมชน
ด้านการสกัดกั้น ให้กองทัพ เพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวังการลักลอบนำเข้าและส่งออกยาเสพติด ตามแนวบริเวณชายแดน ด้านการปราบปราม ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการเชิงรุก ในการปราบปรามจับกุมผู้ค้ายาเสพติดในพื้นที่ และจัดส่งข้อมูลให้สำนักงาน ป.ป.ส. ขยายผลไปสู่การทำลายเครือข่ายจับกุมนายทุน และผู้เกี่ยวข้อง ด้านการยึดอายึดทรัพย์สิน ให้สำนักงาน ป.ป.ส. บูรณาการอย่างใกล้ชิดกับ สำนักงาน ปปง. และกรมสรรพากร ในการขยายผลยึดทรัพย์สินผู้ค้ายาเสพติด ที่นำเงินจากยาเสพติดไปฟอกเงิน และให้หน่วยงานศาลและอัยการ เร่งรัดกระบวนการทาง
คดียาเสพติดให้มีความรวดเร็วขึ้น ด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟู ให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดจัดทำกฎหมายลำดับรอง หรืออนุบัญญัติ กฎกระทรวงระเบียบประกาศต่าง ๆ สำหรับใช้ในการบำบัดรักษา คัดกรองผู้เสพผู้ติดยาเสพติด แล้วนำเข้าสู่กระบวนการอย่างเหมาะสมโดยจัดตั้งสถานที่บำบัดรักษา ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาล
ประจำตำบล (รพ.สต. โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง หรือมีอาการทางจิต ที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้มีอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ทำหน้าที่เป็น “คู่บัดดี้” ติดตามผู้ป่วยในชุมชน จนกว่าอาการจะหายขาด ตลอดจนสร้างระบบการบำบัดฟื้นฟู ในรูปแบบ “ชุมชนเป็นฐาน” (Community Based Treatment :CBTX) พร้อมทั้งให้กระทรวงแรงงาน ส่งเสริมให้ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูมีทักษะความรู้ในสาขาวิชาชีพ พร้อมจัดหาตำแหน่งงานให้มีงานทำ
สำหรับการดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย ให้ทำการสนับสนุนการปฏิบัติงานในทุกมิติ เช่น จัดตั้งชุดปฏิบัติการตำบล ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หรือจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน จัดให้มีการลงทะเบียนในระบบ พร้อมทั้งสอดส่องป้องกันเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในแหล่งมั่วสุม เปิดช่องทางสื่อสารเพิ่มเติมจาก “สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567” สำหรับรับแจ้งเบาะแส ร้องเรียน ขอรับความช่วยเหลือ รวมทั้งจัดตั้ง “ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม” ให้ครบทุกจังหวัด และสร้างกลไกต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ที่ผ่านการบำบัดมีงานทำ
จังหวัดมุกดาหารเป็นเมืองที่น่าอยู่ เมืองแห่งความสุข ปราศจากยาเสพติดอย่างแท้จริง เราต้องช่วยกันป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มข้น จริงจัง และต่อเนื่อง ตามแผนยุทธการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างสุดกำลังความสามารถ เพื่อเปิดฟ้าเมืองมุกดาหารให้ขาวสะอาด สว่างไสวไร้ยาเสพติด ไว้เป็นสมบัติให้ลูกหลานชาวเมืองมุกดาหาร
ภายใต้ปฏิบัติการ”เปิดฟ้าเมืองมุก ”

ไกรสมุทร นามโพธิ์ไทร/รายงานจากมุกดาหาร
081-0501177

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com