google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

เกษตรปัตตานีติดตามสถานการณ์อุทกภัย เร่งฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรหลังน้ำลด

ข่าว- เกษตรปัตตานีติดตามสถานการณ์อุทกภัย เร่งฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรหลังน้ำลด

วันที่ 4 มีนาคม 2565 นายชาลี สิตบุศย์ เกษตรจังหวัดปัตตานี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัย ณ อำเภอเมืองปัตตานี ทุ่งยางแดง สายบุรี ไม้แก่น แม่ลาน ยะรัง และโคกโพธิ์ โดยได้ร่วมพบปะ รับฟังปัญหา และให้กำลังใจเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ

นายชาลี สิตบุศย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้กำชับเจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหาย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในการดูแลและฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังเกษตรกรควรหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยอาจขุดร่องระบายน้ำให้ไหลออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด หลังน้ำท่วมใหม่ๆขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามบุคคล รวมทั้งสัตว์เข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย เกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ

รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากของพืชทำให้ต้นไม้ทรุดโทรมและอาจตายได้ ควรลดปริมาณการคายน้ำและการใช้ธาตุอาหารของพืช โดยการตัดแต่งกิ่งและผลออก หากต้นล้มให้พยุงต้นให้ตั้งตรง และควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ

นายชาลี สิตบุศย์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า หากสังเกตุว่าดินในพื้นที่เริ่มแห้งแล้ว ให้เร่งทำการฟื้นฟูระบบรากกลับมาให้เร็วที่สุดโดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาหว่านใต้ทรงพุ่ม เป็นการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา และควรพรวนดินหรือใช้เครื่องเติมอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจนแก่รากพืชช่วยในการแตกใหม่ได้ดีขึ้น โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจะได้สนับสนุนเชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อจัดสรรแก่เกษตรกรใช้ฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดต่อไป

ภาพข่าว/ ตอริก สหสันติวรกุล ปัตตานี

นครราชสีมา – อบจ.โคราช ลงนาม MOU ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

นครราชสีมา – อบจ.โคราช ลงนาม MOU ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา และ นายธีระ เอื้ออภิธร นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังและประชาชนในเขตจังหวัดนครราชสีมา สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังได้อย่างเหมาะสม ณ ห้องประชุมสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
MOU ฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่มีการลงนาม โดยมี นายกมลศักดิ์ เกษเมธีการุณ รองนายก อบจ., นายภาสกร สุรมูล เลขาธิการสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ร่วมด้วย ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 ร่วมเป็นสักขีพยาน ทั้งนี้ อบจ.จะดำเนินการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เสริมสร้างความรู้ และสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการผลิต การป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง รวมถึงสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาด หรือ การเข้าถึงข้อมูลแหล่งทุน นำไปสู่ความร่วมมือในการส่งเสริมและไขปัญหาแบบบูรณาการ ภายใต้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังได้อย่างเหมาะสมเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

ภาพ-ข่าว / อภิรักษ์ ศรีอัศวิน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.นครราชสีมา

ปราจีนบุรี อดีตหนุ่มโรงงานผันตัวทำเกษตรกรเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เลี้ยงปลา ปลูกพืชหมุนเวียนไร่นาสวนผสมสร้างรายได้กว่าครึ่งแสนต่อเดือน

ปราจีนบุรี
อดีตหนุ่มโรงงานผันตัวทำเกษตรกรเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เลี้ยงปลา ปลูกพืชหมุนเวียนไร่นาสวนผสมสร้างรายได้กว่าครึ่งแสนต่อเดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบเกษตรกร อดีตหนุมโรงงาน เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งขายไข่ และเลี้ยงไก่ ปลูกผักหมุนเวียนผสมผสานขายสร้างรายได้ ช่วยครอบครัว
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ พบกับ นายวรเชษฐ์ เนตรวิศิษฐ (เชาว์เชาว์) อายุ 45 ปี กับ นางไสว เนตรวิศิษฐ (ป้าอ้วน) อายุ 48 ปี ภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 167 บ้านท่าทองดำ ม. 2 ต.ย่านรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
คุณเชาว์เชาว์ เล่าว่าก่อนเคยทำงานโรงงานมากว่า20ปี ตั้งแต่เรียนจบก็เข้าทำงานโรงงานเลย เดิมทีบ้านเกิดตนอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว เมื่อ5ปีก่อนตนได้ลาออกจากโรงงาน ที่สมุทรปราการ ซึ่งทำมากว่า 20 ปี ซึ่งตนได้เรียนจบการเกษตรมาอีกทางเป็นแรงผักดัน จึงชวนภรรยามาหาที่ทำเกษตรที่อำเภอกบินทร์บุรี และมาซื้อที่ดินที่ดังกล่าว จำนวน 10 ไร่

ด้วยเงินจากการเก็บออมที่ทำงานโรงงาน และยังมีน้องสาวตนคอยช่วยเรื่องเงินทุน และเป็นหุ่นส่วน ก็เริ่มต้นขุดสระเล็ก ทำฟรร์มเลี้ยงเป็ด โดยการซื้อเป็ดสาวๆไร่ทุ่ง มาเลี้ยงจำนวนทีแรกก็ไม่มากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ ก็ประมาณ 500 ตัว เริ่มเก็บไข่ขายมาเรื่อย และนำไก่พันธุ์ไข่ มาเลี้ยงอีก ส่วนไก่ก็กำลังจะออกไข่ให้ได้เก็บบ้างแล้ว และตนก็ขุดบ่อขนาดใหญ่กำลังเตรียมจะขยาย ฟาร์เป็ด/ไก่ ลงพายในสระที่ขุด และสร้างฟาร์ม บนแพร ส่วนในน้ำตนก็จะเลี้ยงปลา
คุณเชาว์บอกว่าตอนนี้ตนมีรายได้จากการขายไข่เป็ดและไข่เค็มที่ตนทำไว้ โดยทำแบบสูตรโบราณ โดยการดองเกลือไว้ 15 วัน แล้วก็นำมาต้มเป็นไข่เค็ม โดยตนมีรายได้ต่อเดือน อยู่ราวๆ 40,000 – 50,000 บาท และทุกวันก็จะมีชาวบ้านพ่อค้าแม่ค้ามารับทั้งเป็ดแบบถาดและไข่เค็มไปขายตามตลาดทุกวัน ส่วนใครที่สนใจมาดูงาน อยากทำแบบตน ตนก็ยินดีให้คำปรึกษาเพราะตนก็มีความรู้ทางด้านการเกษตรมาโดยตรง หรือจะมาซื้อไข่เป็ด ไข่เค็ม โทรมาสอบถามที่ สวนลูกสาว โทร.082-2183885

เกษตรจังหวัดนนทบุรีลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ผลผลิตทุเรียนนนท์ ปี 2565

เกษตรจังหวัดนนทบุรีลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ผลผลิตทุเรียนนนท์ ปี 2565

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 นางธมลทัศน์ ทัพพระจันทร์ เกษตรจังหวัดนนทบุรี ร่วมกับนายนรินทร์ อินทวงศ์ เกษตรอำเภอไทรน้อย และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ผลผลิตทุเรียนนนท์ ปี 2565 ณ สวนทุเรียนนายอนุสรณ์ กลอยดี ตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี นางธมลทัศน์ ทัพพระจันทร์ เกษตรจังหวัดนนทบุรี กล่าวระหว่างลงพื้นที่ว่า จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ และมีราคาสูง ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งหมด จำนวน 2,280 ไร่, เกษตรกร 1,162 ครัวเรือน (ข้อมูล ก.พ. ปี 2565 ), ผลผลิตรวมประมาณ 11 ตันต่อปี มูลค่ากว่า 18 ล้านบาทต่อปี และมีเกษตรกรที่ติดตราสัญลักษณ์ GI บ่งบอกความเป็นทุเรียนนนท์ที่มีคุณภาพแล้ว รวมจำนวน 77 ราย มีทุเรียน GI ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา มีทุเรียน GI ออกจำหน่ายรวม 2,807 ลูก ทุเรียนที่ปลูกในจังหวัดนนทบุรีช่วงนี้ กำลังอยู่ในช่วงติดดอกออกผล โดยเกษตรกรชาวสวนทุเรียนนนท์ จะมีการปลูกและดูแลอย่างประณีต ใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอน ไม่ใช่เพียงแค่ตอนตัดเท่านั้น ตามวิถีการปลูกและดูแลรักษาแบบภูมิปัญญาของชาวนนท์ ชาวสวนทุเรียนจะช่วยในการผสมเกสรโดยใช้ไม้กวาดหรือพู่กันปัดเกสรตัวผู้ให้หล่นลงดอกเกสรตัวเมีย ทำให้มีการผสมเกสรที่สมบูรณ์และมีเปอร์เซ็นต์การติดผลมากขึ้น ซึ่งการผสมเกสรทุเรียนเกษตรกรจะได้รับประโยชน์หลายอย่าง เช่น สามารถกำหนดตำแหน่งการติดผลตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ หรือกิ่งที่อยู่ในระดับต่ำได้ ช่วยให้ทุเรียนติดผลดีขึ้น เกษตรกรสามารถกำหนดวันเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เก็บเกี่ยวง่าย ผลทุเรียนแก่ใกล้เคียงกัน รูปทรงผลสวยงาม น้ำหนักและขนาดผลดี หลังจากผสมเกสรแล้วรังไข่จะเจริญเติบโตเป็นผลทุเรียนตามพัฒนาการ โดยชาวสวนจะทำการบันทึกวันผสมเกสรไว้ทุกช่อ ทุกต้น เพื่อความแม่นยำในการตัดทุเรียน และชาวสวนทุเรียนนนท์รับรองมาตรฐานได้ว่าไม่มีการตัดทุเรียนอ่อนแน่นอน การนับอายุหลังจากวันผสมถึง วันเก็บเกี่ยวประมาณ 110 – 120 วัน
สำหรับแนวทางการส่งเสริมการเกษตรด้านการผลิตทุเรียน ของสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอไทรน้อย คือผลักดันให้เกษตรกรมีการผลิตพืชที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบGAP และหากเกษตรกรมีความพร้อมเข้าสู่การผลิตที่เป็นเกษตรอินทรีย์ สำนักงานเกษตรจังหวัดก็มีความยินดีจะผลักดันให้ได้ ซึ่งสวนทุเรียนคุณอนุสรณ์ แห่งนี้ก็ได้รับการรับรองระบบGAP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สำหรับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้น สำนักงานเกษตรอำเภอไทรน้อย จะเป็นผู้ขับเคลื่อนงานในพื้นที่โดยตรงผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยมีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร รับผิดชอบแต่ละตำบล ลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้และช่วยแก้ไขปัญหาการผลิตพืช ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญ ตัวอย่างเช่น การถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชตามหลักมาตรฐานระบบ GAP, การให้คำปรึกษากรณีเกษตรกรประสบปัญหาโรคพืชและแมลง, การให้บริการตรวจวิเคราะห์ดินผ่านศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน อำเภอ ไทรน้อย (ศดปช. ) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งการสนับสนุนปัจจัยการผลิตตามบริบทของโครงการในพื้นที่ และอื่นๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ นโยบายของจังหวัดนนทบุรี ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ได้เล็งเห็นความสำคัญเพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมให้เกิดผลสำเร็จอย่างครบวงจร เป็นการยกระดับสินค้าเกษตรในจังหวัดนนทบุรี ให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นที่รู้จักและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคภายใต้แบรนด์ “นนทบุรีการันตี” ซึ่งทุเรียนนนท์ก็เป็น หนึ่งในสินค้าเกษตรที่เกษตรกรนำมาขอการรับรอง โดยปัจจุบันมีเกษตรกรที่ผ่านการรับรองนนทบุรีการันตี แล้วจำนวน 19 ราย จึงทำให้ทุเรียนนนท์ ยังคงเป็นผลไม้ที่มีความต้องการจากผู้บริโภค ด้วยรสชาติและรูปแบบการผลิตที่ไม่เหมือนจังหวัดใด ตอบโจทย์การทำการเกษตรในพื้นที่น้อย แต่ได้ผลผลิตที่มีมูลค่าสูง

ทุเรียนนนท์การปลูกต้องมี8ดีตามแบบภูมิปัญญาปราชญ์ชาวนนท์

ทุเรียนนนท์การปลูกต้องมี8ดีตามแบบภูมิปัญญาปราชญ์ชาวนนท์

ราชาแห่งผลไม้ที่เป็นสัญลักษณ์คู่เมืองนนท์ แต่ในปัจจุบันกำลังจะเลือนหายเหลือแต่ในความทรงจำ เพราะน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ที่สร้างความเสียหายแก่สวนทุเรียนในพื้นที่เกือบหมด หลายคนถอดใจเลิกทำสวนไปเพราะกว่าจะปลูกให้ได้ผลผลิตนั้นใช้เวลายาวนานมาก แต่อย่างไรก็ดียังมีสวนแห่งหนึ่ง “สวนปามี98” ของคุณสุเทพ กังเกียรติกุล แห่งสวนปามี 98 ต.บ้านใหม่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ได้ขยายพันธุ์ทุเรียนนนท์กว่า 1000 ต้น ทุเรียนที่ปลูกอายุ 2 ปี 5 เดือน กำลังออกดอกกหลายต้น คุณสุเทพ กังเกียรติกุล กล่าวว่า ทุเรียนแก่แดด 2 ปีครึ่ง การปลูกทุเรียนต้องมี8ดี ประกอบด้วย 1.ดินดี ระบายน้ำดี 2.น้ำดี 3.อากาศดี อุณหภูมิ 20-35 องศาเซลเซียส 4 .แดดดี รับแสง 60 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น 5. ความชุ่มชื้นดี 6.พันธุ์ดี รากมาก ต้นแข็งแรง 7.สิ่งแวดล้อม 8.จัดการดี ปัจจุบันทุเรียนที่ปลูกในจังหวัดนนทบุรีกำลังอยู่ในช่วงติดดอกออกผล เกษตรจังหวัดนนทบุรี มีวิถีการปลูกและดูแลรักษาแบบภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวนนท์ ชาวสวนทุเรียนจะช่วยในการผสมเกสรโดยใช้ไม้กวาดหรือพู่กันปัดเกสรตัวผู้ให้หล่นลงดอกเกสรตัวเมีย ทำให้มีการผสมเกสรที่สมบูรณ์และมีเปอร์เซ็นต์การติดผลมากขึ้น ซึ่งการผสมเกสรทุเรียนเกษตรกรจะได้รับประโยชน์หลายอย่าง เช่น สามารถกำหนดตำแหน่งการติดผลตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ หรือกิ่งที่อยู่ในระดับต่ำได้ ช่วยให้ทุเรียนติดผลดีขึ้น เกษตรกรสามารถกำหนดวันเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เก็บเกี่ยวง่าย ผลทุเรียนแก่ใกล้เคียงกัน รูปทรงผลสวยงาม น้ำหนักและขนาดผลดี หลังจากผสมเกสรแล้วรังไข่จะเจริญเติบโตเป็นผลทุเรียนตามพัฒนาการ โดยชาวสวนจะทำการบันทึกวันผสมเกสรไว้ทุกช่อ ทุกต้น เพื่อความแม่นยำในการตัดทุเรียน และชาวสวนทุเรียนนนท์รับรองมาตรฐานได้ว่าไม่มีการตัดทุเรียนอ่อนแน่นอน การนับอายุหลังจากวันผสมถึง วันเก็บเกี่ยวประมาณ 110 – 120 วัน ซึ่งจังหวัดนนทบุรี นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียง และเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ และมีราคา ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งหมด จำนวน 2,280 ไร่ เกษตรกร 948 ครัวเรือน ให้ผลผลิตแล้ว 284 ไร่

จากข้อมูล ณ ปี 2564 และมีเกษตรกรที่ติดตราสัญลักษณ์ GI บ่งบอกความเป็นทุเรียนนนท์ที่มีคุณภาพแล้ว รวมจำนวน 77 ราย มีทุเรียน GI ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา และในปี 2564 มีทุเรียน GI ออกจำหน่ายรวม 2,807 ลูก อีกทั้งยังได้มีการยกระดับมาตรฐานสินค้าทุเรียน ภายใต้แบรนด์ “นนทบุรีการันตี” จึงทำให้ทุเรียนนนท์ เป็นที่เฝ้ารอจากผู้บริโภคที่หนึ่งปีจะได้ลิ้มรสชาติสักครั้งถึงขั้นต้องสั่งจองที่สวนเท่านั้น ซึ่งคำว่า “ทุเรียนนนท์” หรือ “ทุเรียนสวน” นั้น เป็นชื่อเรียกรวมทุเรียนทุกสายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ดินของจังหวัดนนทบุรี ไม่ว่าจะเป็น ก้านยาว หมอนทอง พวงมณี ฯลฯ ซึ่งสิ่งที่ทำให้ทุเรียนนนท์นั้นมีรสชาติหอมอร่อย เนื้อหวาน เพราะสภาพภูมิศาสตร์ของดินและปัจจัยการปลูก เช่น การปลูกแบบยกร่อง และปลูกผสมผสานกับผลไม้อื่นๆ ซึ่งจังหวัดนนทบุรี นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียง และเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ และมีราคาสูงของประเทศ ทุเรียนนนท์ เป็นทุเรียนที่มีรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคมัการสั่งจองล่วงหน้าตลอดหรือข้ามปีเลยทีเดียว

ทุเรียนนนท์การปลูกต้องมี8ดีตามแบบภูมิปัญญาปราชญ์ชาวนนท์

ทุเรียนนนท์การปลูกต้องมี8ดีตามแบบภูมิปัญญาปราชญ์ชาวนนท์

ราชาแห่งผลไม้ที่เป็นสัญลักษณ์คู่เมืองนนท์ แต่ในปัจจุบันกำลังจะเลือนหายเหลือแต่ในความทรงจำ เพราะน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ที่สร้างความเสียหายแก่สวนทุเรียนในพื้นที่เกือบหมด หลายคนถอดใจเลิกทำสวนไปเพราะกว่าจะปลูกให้ได้ผลผลิตนั้นใช้เวลายาวนานมาก แต่อย่างไรก็ดียังมีสวนแห่งหนึ่ง “สวนปามี98” ของคุณสุเทพ กังเกียรติกุล แห่งสวนปามี 98 ต.บ้านใหม่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ได้ขยายพันธุ์ทุเรียนนนท์กว่า 1000 ต้น ทุเรียนที่ปลูกอายุ 2 ปี 5 เดือน กำลังออกดอกกหลายต้น คุณสุเทพ กังเกียรติกุล กล่าวว่า ทุเรียนแก่แดด 2 ปีครึ่ง การปลูกทุเรียนต้องมี8ดี ประกอบด้วย 1.ดินดี ระบายน้ำดี 2.น้ำดี 3.อากาศดี อุณหภูมิ 20-35 องศาเซลเซียส 4 .แดดดี รับแสง 60 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น 5. ความชุ่มชื้นดี 6.พันธุ์ดี รากมาก ต้นแข็งแรง 7.สิ่งแวดล้อม 8.จัดการดี ปัจจุบันทุเรียนที่ปลูกในจังหวัดนนทบุรีกำลังอยู่ในช่วงติดดอกออกผล เกษตรจังหวัดนนทบุรี มีวิถีการปลูกและดูแลรักษาแบบภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวนนท์ ชาวสวนทุเรียนจะช่วยในการผสมเกสรโดยใช้ไม้กวาดหรือพู่กันปัดเกสรตัวผู้ให้หล่นลงดอกเกสรตัวเมีย ทำให้มีการผสมเกสรที่สมบูรณ์และมีเปอร์เซ็นต์การติดผลมากขึ้น ซึ่งการผสมเกสรทุเรียนเกษตรกรจะได้รับประโยชน์หลายอย่าง เช่น สามารถกำหนดตำแหน่งการติดผลตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ หรือกิ่งที่อยู่ในระดับต่ำได้ ช่วยให้ทุเรียนติดผลดีขึ้น เกษตรกรสามารถกำหนดวันเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เก็บเกี่ยวง่าย ผลทุเรียนแก่ใกล้เคียงกัน รูปทรงผลสวยงาม น้ำหนักและขนาดผลดี หลังจากผสมเกสรแล้วรังไข่จะเจริญเติบโตเป็นผลทุเรียนตามพัฒนาการ โดยชาวสวนจะทำการบันทึกวันผสมเกสรไว้ทุกช่อ ทุกต้น เพื่อความแม่นยำในการตัดทุเรียน และชาวสวนทุเรียนนนท์รับรองมาตรฐานได้ว่าไม่มีการตัดทุเรียนอ่อนแน่นอน การนับอายุหลังจากวันผสมถึง วันเก็บเกี่ยวประมาณ 110 – 120 วัน ซึ่งจังหวัดนนทบุรี นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียง และเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ และมีราคา ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งหมด จำนวน 2,280 ไร่ เกษตรกร 948 ครัวเรือน ให้ผลผลิตแล้ว 284 ไร่

จากข้อมูล ณ ปี 2564 และมีเกษตรกรที่ติดตราสัญลักษณ์ GI บ่งบอกความเป็นทุเรียนนนท์ที่มีคุณภาพแล้ว รวมจำนวน 77 ราย มีทุเรียน GI ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา และในปี 2564 มีทุเรียน GI ออกจำหน่ายรวม 2,807 ลูก อีกทั้งยังได้มีการยกระดับมาตรฐานสินค้าทุเรียน ภายใต้แบรนด์ “นนทบุรีการันตี” จึงทำให้ทุเรียนนนท์ เป็นที่เฝ้ารอจากผู้บริโภคที่หนึ่งปีจะได้ลิ้มรสชาติสักครั้งถึงขั้นต้องสั่งจองที่สวนเท่านั้น ซึ่งคำว่า “ทุเรียนนนท์” หรือ “ทุเรียนสวน” นั้น เป็นชื่อเรียกรวมทุเรียนทุกสายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ดินของจังหวัดนนทบุรี ไม่ว่าจะเป็น ก้านยาว หมอนทอง พวงมณี ฯลฯ ซึ่งสิ่งที่ทำให้ทุเรียนนนท์นั้นมีรสชาติหอมอร่อย เนื้อหวาน เพราะสภาพภูมิศาสตร์ของดินและปัจจัยการปลูก เช่น การปลูกแบบยกร่อง และปลูกผสมผสานกับผลไม้อื่นๆ ซึ่งจังหวัดนนทบุรี นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียง และเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ และมีราคาสูงของประเทศ ทุเรียนนนท์ เป็นทุเรียนที่มีรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคมัการสั่งจองล่วงหน้าตลอดหรือข้ามปีเลยทีเดียว

สุราษฎร์ธานี // เกษตรอำเภอดอนสัก จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ บรรยากาศคึกคัก..!

รายงาน : พจน์ คำจันทร์

ศูนย์ข่าวภาคใต้ตอนบน

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 นางณฐวรรณ บัวแก้ว เกษตรอำเภอดอนสัก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ดำเนินการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2565 ได้รับเกียรติจากนายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด นายจักรกฤษณ์ ฝั่งชลจิตร์ นายอำเภอดอนสัก กล่าวต้อนรับ นายธีรวีร์ ตันติพงศ์ ประธานเครือข่าย ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (มาดาวีฟาร์ม) กล่าวรายงานภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ สำนักงานเกษตรดอนสักจึงกำหนดจัดงานฯ Field Day ขึ้น ณ มาดาวีฟาร์ม ฟาร์มเกษตรผสมผสานสมัยใหม่ กิจกรรมภาคการเกษตรครบทุกมิติ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการจากส่วนราชการต่างๆ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานเอกชน และกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ได้แก่ แปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน และเครือข่าย YSF สุราษฎร์ธานี ร่วมจัดบูธแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรสมัยใหม่พร้อมจำหน่ายสินค้า และมีฐานเรียนรู้ จำนวน 5 ฐาน เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้ ดังนี้

• ฐานที่ 1 การเลี้ยงแพะ

• ฐานที่ 2 การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดย เครือข่าย YSF สุราษฎร์ธานี

• ฐานที่ 3 อาชีพเสริมเพิ่มรายได้

• ฐานที่ 4 การผลิตพืชปลอดภัย

• ฐานที่ 5 การเลี้ยงปลาพร้อมนี้มีการจัดแข่งขันการประกวดโคแม่พันธุ์โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ และแข่งขันส้มตำลีลา จากตัวแทนหมู่บ้าน กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอดอนสัก โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม 27 หน่วยงาน เกษตรกรร่วมงาน 252 ราย ณ เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (มาดาวีฟาร์ม) หมู่ 2 ตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี .

ตราด /ฝนมา ป่าชุ่มชื้น แห่เก็บเห็ดรายได้ดีที่บ้านไม้รูดวันละกว่าพันบาท

ตราด /ฝนมา ป่าชุ่มชื้น แห่เก็บเห็ดรายได้ดีที่บ้านไม้รูดวันละกว่าพันบาท


คุณยายสายบัว คุ้มวงษ์ดี อายุ 71 ปี อยู่บ้านเลขที่ 45 ม.6 ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด นางสาคร พุทธา อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 62/2 ม.4 ต.ไม้รูด พร้อมชาวบ้านหลายสิบคน พากันเดินทางเข้าป่ายูคาลิปตัสและป่าเสม็ด ในตำบลไม้รูด หลังจากหลายวันที่ผ่านมาเกิดฝนตกติดต่อกันแทบทุกวัน ทำให้ป่ามีความชุ่มชื้น และมีเห็ดเจริญงอกงามขึ้นอยู่ตามโคนต้นไม้


.
โดยชาวบ้านนำภาชนะต่างๆ มาใส่เห็ดที่เก็บได้ ซึ่งก็มีทั้งเห็ดยูคาและเห็ดเสม็ด เริ่มเก็บตั้งแต่ช่วงเช้า ใช้เวลาครึ่งวันก็หยุดพัก หลังจากนั้นจะนำเห็ดที่เก็บได้ ไปคัดแยก ทำความสะอาด ก่อนใส่ถุงขายให้ลูกค้าหรือชาวบ้านบางรายก็ขายส่งให้กับพ่อค้า แม่ค้า นำไปขายที่ตลาดสดอีกที โดยขายเห็ดได้ กิโลกรัมละ 150 บาท แต่หลังจากเห็ดมีมากขึ้น แม่ค้าก็จะรับซื้อ กิโลกรัมละ 80-100 บาท ชาวบ้านหลายรายจึงนำเห็ดที่เก็บได้ ไปปรุงอาหารรับประทาน และที่เหลือก็นำไปตากแดดให้แห้งเสียก่อน เพราะเห็ดตากแห้งจะได้ราคาดี กิโลกรัมละ 400-500 บาทเลยทีเดียว


.
ชาวบ้านบอกว่าเห็ดเสม็ดและเห็ดยูคา จะนำไปทำอาหารพื้นบ้านได้หลายอย่าง ทั้งแกงกะทิใส่กุ้ง เห็ดทอด เห็ดนึ่งจิ้มน้ำพริก แม้แต่เลียงเห็ด ตอนนี้ถือว่าเห็ดช่วยชาวบ้านช่วงโควิดจริงๆ เพราะชาวบ้านหลายรายไม่มีรายได้จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ฝนตกลงมาหลายวัน ทำให้ป่าชุ่มชื้นมีเห็ดให้ชาวบ้านเก็บกิน เก็บขายมีรายได้ช่วยครอบครัว ผ่อนคลายความเดือดร้อนลงไปได้บ้าง

 

/ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด

สุดต๊าช! กาแฟอะราบิกา 2 พันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตสูง ต้านโรค กลิ่นรสแปลกใหม่หอมสมุนไพรและคาราเมล

สุดต๊าช! กาแฟอะราบิกา 2 พันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตสูง ต้านโรค
กลิ่นรสแปลกใหม่หอมสมุนไพรและคาราเมล

กรมวิชาการเกษตร ลุยปรับปรุงพันธุ์กาแฟปั๊มอะราบิกา 2 พันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตสูง ทนทานโรคขาประจำราสนิม ผ่านการทดสอบคุณภาพการชิมจากหน่วยงานที่ได้ใบรับรองมาตรฐานของสมาคมกาแฟพิเศษแห่งอเมริกา ปลื้มนักชิมยกนิ้วให้ทั้ง 2 พันธุ์กลิ่นรสแปลกใหม่เชียงราย 1 กลิ่นรสคาราเมล เชียงราย 2 กลิ่นรสสมุนไพร

นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กาแฟอะราบิกาเป็นพืชที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยที่ผ่านมามีการนำเข้าพันธุ์กาแฟอะราบิกาหลายพันธุ์มาปลูกกันแพร่หลาย แต่เนื่องจากพันธุ์เหล่านั้นมีความอ่อนแอต่อโรคราสนิม ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตกาแฟอะราบิกาและพบระบาดในแหล่งปลูกที่สำคัญของโลก ดังนั้นคณะนักวิจัยซึ่งมี นางสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เป็นหัวหน้าคณะวิจัย จึงได้ทำการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟอะราบิกาเพื่อให้ได้พันธุ์กาแฟอะราบิกาที่ต้านทานต่อโรคราสนิมและให้ผลผลิตสูง โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์ คือ มีความต้านทานต่อ โรคราสนิมสูงกว่า 96 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิมดี คะแนน สูงกว่า 65 -70 คะแนน ผลผลิตปานกลางถึงสูง และให้ปริมาณสารกาแฟเกรด A ไม่น้อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์

การปรับปรุงพันธุ์กาแฟอะราบิกาเริ่มจากกรมวิชาการเกษตรได้รับเมล็ดพันธุ์กาแฟอะราบิกาลูกผสมที่ได้คัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ ซึ่งปัจจุบันเป็นหน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยกรมวิชาการเกษตรเริ่มการพัฒนาพันธุ์จากลูกผสมรุ่นที่ 2 ที่ได้รับจากศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟมาดำเนินการทดสอบที่สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ปี ‪2525-2532‬ นำเมล็ดพันธุ์กาแฟอาราบิกาลูกผสมรุ่นที่ 3 จำนวน 9 สายพันธุ์ปลูกแบบต้นต่อแถว จำนวน 100 ต้น ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม จำนวน 6 สายพันธุ์ ปี ‪2532-2543‬ นำเมล็ดพันธุ์กาแฟอะราบิกาลูกผสมรุ่นที่ 4 จำนวน 6 สายพันธุ์ ปลูกแบบต้นต่อแถว จำนวน 200 ต้น ณ ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม จำนวน 3 สายพันธุ์ ปี ‪2543-2546‬ นำเมล็ดพันธุ์กาแฟอะราบิกาลูกผสมรุ่นที่ 5 จำนวน 3 สายพันธุ์ ปลูกแบบต้นต่อแถว จำนวน 50 ต้น คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม จำนวน 20 สายพันธุ์เพื่อใช้เมล็ดไปปลูกเปรียบเทียบในรุ่นที่ 6 จำนวน 20 สายพันธุ์ ปลูกแบบต้นต่อแถว จำนวน 50 ต้น คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม จำนวน 7 สายพันธุ์เพื่อใช้เมล็ดไปปลูกเปรียบเทียบสายพันธุ์รุ่นที่ 7 ในพื้นที่ 2 แห่ง คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จนถึงปี 2564 ได้สายพันธุ์ดีเด่นจำนวน 2 สายพันธุ์ เสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 2 พันธุ์ใช้ชื่อว่า กาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 1 และกาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 2

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 1 มีลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรคราสนิมสูง เมื่ออายุ 8 ปี ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ 569.6 กรัมต่อต้น ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A เฉลี่ย 81.8 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิม ‪78-79.5‬ คะแนน ชิม โดยได้นำตัวอย่างกาแฟอะราบิกาเชียงราย 1 ไปทดสอบคุณภาพที่ Acaemia do Café, Lisboa โปรตุเกส ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ใบรับรองมาตรฐานของสมาคมกาแฟพิเศษแห่งอเมริกาพบว่า กาแฟอะราบิกาเชียงราย 1 ได้คะแนนการประเมินของพันธุ์ซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย 79.5 คะแนน (จาก 100 คะแนน) โดยมีกลิ่นคาราเมลและหวาน กลิ่นรสชอคโกแล็ตนม (milk chocolate) รสชาติถั่วอ่อนๆ มี รสเปรี้ยวของนมเปรี้ยว ส่วนที่ปลูก ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ได้ 78 คะแนน (จาก 100 คะแนน) พบว่า มีกลิ่นรสหอมคาราเมล (caramel) กลิ่นถั่วธัญพืช และรสชาติหวานอ่อน

กาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 2 มีลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรคราสนิมสูง เมื่ออายุ 8 ปี ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ 623.65 กรัมต่อต้น ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A เฉลี่ย 81.89 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิม ‪76 – 79‬ คะแนน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับดีมาก ส่วนรสชาติและกลิ่นนั้นพบว่าแต่ละสถานที่มีรสชาติและกลิ่นต่างกัน โดยกาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 2 ซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ได้ 79 คะแนน (จาก 100 คะแนน) มีกลิ่นรสสมุนไพรรสหวาน (sweet spice) กลิ่นเครื่องเทศ และรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อยแต่กลมกล่อม ส่วนที่ปลูก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ได้ 76 คะแนน (จาก 100 คะแนน) พบว่า มีกลิ่นผลไม้ (fruity) กลิ่นหอมคาราเมลเข้มข้น รสชาติหอมหวาน

สถาบันวิจัยพืชสวนมีแปลงผลิตเมล็ดและต้นกล้าพันธุ์ที่เสียบยอด และขยายพันธุ์แนะนำที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงรายและศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ คาดว่าจะผลิตต้นพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปปลูกเป็นทางเลือกใหม่และสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นได้ประมาณปลายปี 2565 นี้

สุดต๊าช! กาแฟอะราบิกา 2 พันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตสูง ต้านโรค กลิ่นรสแปลกใหม่หอมสมุนไพรและคาราเมล

สุดต๊าช! กาแฟอะราบิกา 2 พันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตสูง ต้านโรค
กลิ่นรสแปลกใหม่หอมสมุนไพรและคาราเมล

กรมวิชาการเกษตร ลุยปรับปรุงพันธุ์กาแฟปั๊มอะราบิกา 2 พันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตสูง ทนทานโรคขาประจำราสนิม ผ่านการทดสอบคุณภาพการชิมจากหน่วยงานที่ได้ใบรับรองมาตรฐานของสมาคมกาแฟพิเศษแห่งอเมริกา ปลื้มนักชิมยกนิ้วให้ทั้ง 2 พันธุ์กลิ่นรสแปลกใหม่เชียงราย 1 กลิ่นรสคาราเมล เชียงราย 2 กลิ่นรสสมุนไพร

นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กาแฟอะราบิกาเป็นพืชที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยที่ผ่านมามีการนำเข้าพันธุ์กาแฟอะราบิกาหลายพันธุ์มาปลูกกันแพร่หลาย แต่เนื่องจากพันธุ์เหล่านั้นมีความอ่อนแอต่อโรคราสนิม ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตกาแฟอะราบิกาและพบระบาดในแหล่งปลูกที่สำคัญของโลก ดังนั้นคณะนักวิจัยซึ่งมี นางสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เป็นหัวหน้าคณะวิจัย จึงได้ทำการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟอะราบิกาเพื่อให้ได้พันธุ์กาแฟอะราบิกาที่ต้านทานต่อโรคราสนิมและให้ผลผลิตสูง โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์ คือ มีความต้านทานต่อ โรคราสนิมสูงกว่า 96 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิมดี คะแนน สูงกว่า 65 -70 คะแนน ผลผลิตปานกลางถึงสูง และให้ปริมาณสารกาแฟเกรด A ไม่น้อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์

การปรับปรุงพันธุ์กาแฟอะราบิกาเริ่มจากกรมวิชาการเกษตรได้รับเมล็ดพันธุ์กาแฟอะราบิกาลูกผสมที่ได้คัดเลือกมาจากศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ ซึ่งปัจจุบันเป็นหน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยกรมวิชาการเกษตรเริ่มการพัฒนาพันธุ์จากลูกผสมรุ่นที่ 2 ที่ได้รับจากศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟมาดำเนินการทดสอบที่สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ปี ‪2525-2532‬ นำเมล็ดพันธุ์กาแฟอาราบิกาลูกผสมรุ่นที่ 3 จำนวน 9 สายพันธุ์ปลูกแบบต้นต่อแถว จำนวน 100 ต้น ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม จำนวน 6 สายพันธุ์ ปี ‪2532-2543‬ นำเมล็ดพันธุ์กาแฟอะราบิกาลูกผสมรุ่นที่ 4 จำนวน 6 สายพันธุ์ ปลูกแบบต้นต่อแถว จำนวน 200 ต้น ณ ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม จำนวน 3 สายพันธุ์ ปี ‪2543-2546‬ นำเมล็ดพันธุ์กาแฟอะราบิกาลูกผสมรุ่นที่ 5 จำนวน 3 สายพันธุ์ ปลูกแบบต้นต่อแถว จำนวน 50 ต้น คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม จำนวน 20 สายพันธุ์เพื่อใช้เมล็ดไปปลูกเปรียบเทียบในรุ่นที่ 6 จำนวน 20 สายพันธุ์ ปลูกแบบต้นต่อแถว จำนวน 50 ต้น คัดเลือกได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม จำนวน 7 สายพันธุ์เพื่อใช้เมล็ดไปปลูกเปรียบเทียบสายพันธุ์รุ่นที่ 7 ในพื้นที่ 2 แห่ง คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จนถึงปี 2564 ได้สายพันธุ์ดีเด่นจำนวน 2 สายพันธุ์ เสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 2 พันธุ์ใช้ชื่อว่า กาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 1 และกาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 2

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 1 มีลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรคราสนิมสูง เมื่ออายุ 8 ปี ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ 569.6 กรัมต่อต้น ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A เฉลี่ย 81.8 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิม ‪78-79.5‬ คะแนน ชิม โดยได้นำตัวอย่างกาแฟอะราบิกาเชียงราย 1 ไปทดสอบคุณภาพที่ Acaemia do Café, Lisboa โปรตุเกส ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ใบรับรองมาตรฐานของสมาคมกาแฟพิเศษแห่งอเมริกาพบว่า กาแฟอะราบิกาเชียงราย 1 ได้คะแนนการประเมินของพันธุ์ซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย 79.5 คะแนน (จาก 100 คะแนน) โดยมีกลิ่นคาราเมลและหวาน กลิ่นรสชอคโกแล็ตนม (milk chocolate) รสชาติถั่วอ่อนๆ มี รสเปรี้ยวของนมเปรี้ยว ส่วนที่ปลูก ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ได้ 78 คะแนน (จาก 100 คะแนน) พบว่า มีกลิ่นรสหอมคาราเมล (caramel) กลิ่นถั่วธัญพืช และรสชาติหวานอ่อน

กาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 2 มีลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรคราสนิมสูง เมื่ออายุ 8 ปี ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ 623.65 กรัมต่อต้น ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A เฉลี่ย 81.89 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการชิม ‪76 – 79‬ คะแนน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับดีมาก ส่วนรสชาติและกลิ่นนั้นพบว่าแต่ละสถานที่มีรสชาติและกลิ่นต่างกัน โดยกาแฟอะราบิกาพันธุ์เชียงราย 2 ซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ได้ 79 คะแนน (จาก 100 คะแนน) มีกลิ่นรสสมุนไพรรสหวาน (sweet spice) กลิ่นเครื่องเทศ และรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อยแต่กลมกล่อม ส่วนที่ปลูก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ได้ 76 คะแนน (จาก 100 คะแนน) พบว่า มีกลิ่นผลไม้ (fruity) กลิ่นหอมคาราเมลเข้มข้น รสชาติหอมหวาน

สถาบันวิจัยพืชสวนมีแปลงผลิตเมล็ดและต้นกล้าพันธุ์ที่เสียบยอด และขยายพันธุ์แนะนำที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงรายและศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ คาดว่าจะผลิตต้นพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปปลูกเป็นทางเลือกใหม่และสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นได้ประมาณปลายปี 2565 นี้

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com