google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

รองผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด ติดตามปัญหาเส้นทางกลับรถ (ยูเทิร์น) และอุปสรรคการสัญจร ถนนหมายเลข 23 เส้นทางไปอำเภอธวัชบุรี

รองผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด ติดตามปัญหาเส้นทางกลับรถ (ยูเทิร์น) และอุปสรรคการสัญจร ถนนหมายเลข 23 เส้นทางไปอำเภอธวัชบุรี

สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 10.30 น. นายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย นายมงคล แสนวงษา ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงร้อยเอ็ด ปลัดอำเภอผู้แทนนายอำเภอธวัชบุรี ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี นายกเทศบาลตำบลนิเวศน์ เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดร้อยเอ็ดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมลงพื้นที่ บริเวณถนนหน้าโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด (ถนนหมายเลข 23) เส้นทางไปอำเภอธวัชบุรี เนื่องจากมีประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับความเดือดร้อนในการขับขี่สัญจร โดยมีประชาชนขับขี่ย้อนศรบริเวณหน้าโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ในช่วงรับ – ส่งนักเรียน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง หรือประชาชนทั่วไป รวมถึงจุดกลับรถ (ยูเทิร์น) มีระยะทางไกล เป็นต้น

โดยรองผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด ได้ร่วมหารือ ในการหาทางออกร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งนี้ ได้ข้อสรุปเบื้องต้น ที่จะปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนบริเวณหน้าโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ให้เสริมถนนคู่ขนาน พร้อมติดตั้งป้ายสัญญาณจราจร สร้างความปลอดภัยให้รถเล็กสามารถวิ่งสวนทางกันได้ รวมถึงเพิ่มจุดกลับรถ (ยูเทิร์น) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปได้ขับขี่สัญจรอย่างปลอดภัย ต่อไป

สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/088-573-0542/ ข่าว

ร้อยเอ็ด ฝึกอบรมการเพิ่มทักษะการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา

ร้อยเอ็ด ฝึกอบรมการเพิ่มทักษะการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา

สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้ นายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมการเพิ่มทักษะการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ “โคก หนอง นา” และการสร้างและพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลัก ทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ บทบาทในการเกื้อหนุน ระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยมี นายพิศ นันทพูนพิพัฒน์ พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด นายบุญสรวง พุฒิพัฒน์พาณิชย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วย ท้องถิ่นอำเภอ และผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วม ที่ ห้องประดับแก้ว อาคารแกรนด์บอลรูม โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้นท์ จังหวัดร้อยเอ็ด

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินจัดการฝึกอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด รวมจำนวน 102 แห่ง ได้มีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการส่งเสริมและฟื้นฟูภูมิปัญญาในเรื่องหาเลี้ยงชีพ ที่ตรงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์สู่ “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง” ไปสร้างคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งการประสานความร่วมมือของวัด ชุมชน โรงเรียน และส่วนราชการ สู่การพึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็งและช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น

สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/088-573-0542/ ข่าว

พช.ราชบุรี ประชุมทีมงานเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมงานมหกรรมการออมลดความเหลื่อมล้ำ (ระดับภูมิภาค) ครบรอบ 49 ปี

พช.ราชบุรี ประชุมทีมงานเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมงานมหกรรมการออมลดความเหลื่อมล้ำ (ระดับภูมิภาค) ครบรอบ 49 ปี

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และ กิจกรรมงานสร้างสรรค์พลังสตรีจังหวัดราชบุรี เนื่องในวันสตรีสากล
เมื่อวันพุธที่ 1 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชน ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี
นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมงานมหกรรมการออมลดความเหลื่อมล้ำ (ระดับภูมิภาค) ครบรอบ 49 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จัด และ กิจกรรมงานสร้างสรรค์พลังสตรีจังหวัดราชบุรี เนื่องในวันสตรีสากล โดยมี นายณัฎฐิพล วงศ์เมธี ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายปฏิพัทธ์ พวงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ในการนี้ พัฒนาการจังหวัดได้มอบหมายให้ ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ ได้ชี้แจง กิจกรรม ขั้นตอน กระบวนการ และมอบหมายภารกิจให้กับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด ท้ายนี้ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์
กิจกรรมงานมหกรรมการออมลดความเหลื่อมล้ำ (ระดับภูมิภาค) ครบรอบ 49 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กำหนดจัดในวันที่ 7 มีนาคม 2566 ณ โรงแรม ณ เวลา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออมและการมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
2. เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ด้านการส่งเสริมการออม และการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
3. เพื่อให้ประชาชนทราบและเข้าใจถึงประโยชน์ของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ จำนวน 60คน คณะกรรมการ/สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 30 คน หน่วยงานภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 10 คน (ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี)
กิจกรรมงานสร้างสรรค์พลังสตรีจังหวัดราชบุรี เนื่องในวันสตรีสากล กำหนดจัดในวันที่ 8 มีนาคม 2566 ณ โรงแรม ณ เวลา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกด้าน
2. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
3. ประชาสัมพันธ์ “ผ้าไทย ใส่ให้สนุก” ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
4. เพื่อรณรงค์ให้ร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าทอไทย ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันมานิยมสวมใส่และอนุรักษ์ผ้าไทยหรือผ้าในพื้นถิ่น
5. เพื่อเสริมสร้างพลังสตรีให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ตัวแทนสตรี 10 อำเภอ รวม 200 คน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบงานสตรี/พัฒนาการอำเภอ 10 อำเภอ รวม 10 คน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด จำนวน 20 คน
การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชนในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างองค์กรคุณภาพ คนคุณธรรม สร้างสรรค์งาน พช.ราชบุรี 4.0 โดยมี 4 แนวทาง ประกอบด้วย
แนวทางการพัฒนาเรื่องที่ 1 พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เก่ง ดี มีความสุข
แนวทางการพัฒนาเรื่องที่ 2 พัฒนางานแบบสมาร์ทงาน สมาร์ททีม
แนวทางการพัฒนาเรื่องที่ 3 พัฒนาระบบงานให้องค์กรมีคุณภาพ คนมีคุณธรรม
แนวทางการพัฒนาเรื่องที่ 4 พัฒนาบุคลิกภาพ สุขอนามัย และเสริมสร้างความผาสุกความสามัคคี
ในการจัดประชุมฯ ครั้งนี้ ได้ถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยเคร่งครัด

สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน

“อลงกรณ์”วอนนายกรัฐมนตรีนำโครงการช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยภาคเหรือภาคตะวันออกเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบสัปดาห์หน้าอย่าโยนไปรัฐบาลหน้า

“อลงกรณ์”วอนนายกรัฐมนตรีนำโครงการช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยภาคเหรือภาคตะวันออกเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบสัปดาห์หน้าอย่าโยนไปรัฐบาลหน้า

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้
(ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board)กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2564/2565ว่า ขณะนี้รอเพียงนายกรัฐมนตรีนำโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ประสบความเดือดร้อนจากผลกระทบของวิกฤติโควิด-19ในฤดูกาลผลิตปี2564/2565 เข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบเท่านั้น
จึงฝากท่านนายกรัฐมนตรีให้ช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยเป็นการด่วนโดยสามารถนำเข้าคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในสัปดาห์หน้าก่อนที่จะมีการยุบสภาเนื่องจากรอการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วแต่กลับถูกดึงเรื่องจนถึงวันนี้กลับบอกว่าไม่มีเงิน

“โครงการนี้ฟรุ้ทบอร์ดได้มีมติเห็นชอบโครงการตามข้อเสนอของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนลำไยในภาคตะวันออกและภาคเหนือโดยการนำของ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีเกษตรฯ. นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญาอดีต ส.ส.จันทบุรี นายขยัน วิพรหมชัย อดีตส.ส.ลำพูน และ นายพสิษฐ์ สุขสวัสดิ์ ประธานแปลงใหญ่ลำไยจังหวัดลำพูนร่วมกับเครือข่ายชาวสวนลำไยทุกกลุ่มโดยดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามเห็นชอบโครงการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนผ่านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีลงนามเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ถ้านายกรัฐมนตรีนำเข้าคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปีที่แล้ว ชาวสวนลำไยก็คงได้รับเงินเยียวยาไปเรียบร้อยแล้ว”

นายอลงกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นข้ออ้างว่า เงินช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยใช้เงินจำนวนมากนั้นฟังไม่ขึ้นเพราะกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณใช้เงินหลายแสนล้านในโครงการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆในขณะที่การเยียวยาชาวสวนลำไยใช้เงินเพียง3พันล้านเท่านั้น

ส่วนประเด็นข้ออ้างเรื่องวงเงินช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ใช้เต็มวงเงินนั้นขอยืนยันว่าการดูแลช่วยเหลือเกษตรกรจะมีเพดานเงินไม่ได้เพราะหากเกิดภัยแล้งวันนี้ต้องใช้เงินช่วยเหลือเกษตรกรแล้วบอกว่าวงเงินไม่มี พูดแบบนี้อย่าเป็นรัฐบาล ขอแนะนำว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาง่ายมากโดยคณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งทำได้อยู่แล้ว เพราะคณะรัฐมนตรีเคยดำเนินการมาแล้วเป็นเงินหลายแสนล้าน จึงขอให้เห็นใจชาวสวนลำไยซึ่งรอเงินเยียวยาโดยกระทรวงเกษตรฯ.เสนอไปตั้งแต่6เดือนที่แล้ว

“อย่าพยายามอ้างเหตุผลการโยนเรื่องกลับมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เสนอรอบ2ทั้งที่ไม่มีเหตุผลความจำเป็นใดๆ เนื่องจากเป็นโครงการที่เคยเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเยียวยาชาวสวนลำไยฤดูกาลผลิตปี 2563/2564มาครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ใช่โครงการแรกเมื่อ2ปีก่อนก็ไม่เคยต้องเสนอ2รอบแบบนี้ แต่เพื่อให้ทุกอย่างราบรื่นไม่มีข้ออ้างใดๆอีก
กระทรวงเกษตรฯ.ก็ยอมปฏิบัติตามโดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ.ลงนามเสนอรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ได้ลงนามถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีและรอเพียงนายกรัฐมนตรีนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบ
ดังนั้นการอ้างว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการล่าช้าหรือการอ้างว่าใช้วงเงินเต็มแล้วจึงเป็นเหตุผลข้ออ้างที่ไม่ถูกต้องเพราะเสนอมาตั้งแต่6เดือนที่แล้ว ซึ่งหากมีความจริงใจที่จะช่วยเหลือชาวสวนลำไยเพียง 3 พันล้านก็สามารถทำได้ทันที จึงขอให้ชาวสวนลำไยในภาคเหนือและภาคตะวันออกได้เข้าใจความจริงในเรื่องนี้ อย่าให้มีใครมาบิดเบือนหรือเตะถ่วงให้ไปรอรัฐบาลหน้าเพราะรัฐบาลนี้สามารถอนุมัติได้ทันที
นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด
สำหรับโครงการเยียวยาชาวสวนลำใยครั้งนี้มีแนวทางช่วยเหลือที่กำหนดไว้ ดังนี้ ขนาดพื้นที่ปลูกรายละ ไม่เกิน 25 ไร่ ในอัตรา 2,000 ต่อไร่ กรอบวงเงินทั้งหมด 3,821.54 ล้านบาท.

ร้อยเอ็ดคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็ก “น้ำแก้จน ทุกคนมีน้ำ”

ร้อยเอ็ดคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็ก “น้ำแก้จน ทุกคนมีน้ำ”

สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 น.ณ หอประชุมจังหวัดร้อยเอ็ดนายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้นายชูศักดิ์ ราชบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมให้การต้อนรับนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการฯ และคณะอนุกรรมาธิการฯ ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงาน ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และจัดการเสวนา เรื่อง การกำหนดนโยบายเชิงพื้นที่ด้านการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กพื้นที่นอกเขตชลประทาน “น้ำแก้จน ทุกคนมีน้ำ”

โดยมีส่วนราชการ หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำและที่ดิน อำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าร่วมการเสวนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสนอความคิดเห็นในการบริหารจัดการแหล่งน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทานของจังหวัดร้อยเอ็ดที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อไป

สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/088-573-0542/ ข่าว

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธา ส่งมอบขนมมงคล กว่า 6 หมื่นห่อ แก่สถานสงเคราะห์เด็กและคนชรา 15 แห่ง และผู้ขาดแคลน เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2566

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธา ส่งมอบขนมมงคล กว่า 6 หมื่นห่อ แก่สถานสงเคราะห์เด็กและคนชรา 15 แห่ง และผู้ขาดแคลน เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2566

.
ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ และ 2 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ พร้อมด้วย นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ นำทีมสังคมสงเคราะห์ลงพื้นที่ส่งมอบขนมมงคล ที่ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมทำบุญเนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2566 ให้กับสถานสงเคราะห์เด็กและคนชรารวม 15 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน บ้านอุเบกขา บ้านสิรินธร บ้านมุทิตา และบ้านกาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม สถานสงเคราะห์เด็กกำพร้าแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ สถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด (ภูมิเวท) สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านราชาวดี จังหวัดนนทบุรี สถานสงเคราะห์เยาวชนมูลนิธิมหาราช สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี สถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพร สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต และมูลนิธิมิตรภาพสงเคราะห์คนชราคนชราหญิงติวานนท์ จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เป็นผู้รับมอบ อีกทั้งทางมูลนิธิฯ ยังได้แจกจ่ายให้กับผู้ประสบปัญหารายเดือนให้ได้รับประทานขนมมงคลต่อไป รวมจำนวนขนมเปี๊ยะและขนมจันอับที่แจกจ่ายทั้งสิ้น 65,587 ห่อ

.
สำหรับเทศกาลตรุษจีน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ประจำปี 2566 ที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมากร่วมสักการะหลวงปู่ไต้ฮง เพื่อเป็นสิริมงคลในเทศกาลปีใหม่จีน และ ทำบุญพะเก่ง เสริมโชคลาภ เสริมดวงชะตา (พะเก่ง คือ การจดชื่อสวดชัยมงคลคาถา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และ ครอบครัว) โดยเมื่อลงชื่อทำบุญพะเก่งแล้ว จะได้รับตั๋วขนม เพื่อแลกขนมจันอับ หรือขนมเปี๊ยะ เพื่อนำไปไหว้พระ ไหว้เจ้า รับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล หรือนำทำบุญทำทานต่อไป
.
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ขอบุญกุศลนี้ส่งผลให้ท่านและครอบครัว มีความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรงตลอดไป

.
.
## ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ##
#แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418

นครนายก – คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดนครนายก ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบอัคคีภัย

นครนายก – คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดนครนายก ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ประสบอัคคีภัย

นางจิตตินันท์ เชาวรินทร์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครนายก มอบหมายให้คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดนครนายก และเจ้าหน้าที่ประจำเหล่ากาชาดจังหวัดนครนายก เข้าร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ประสบอัคคีภัย ร่วมกับ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครนายก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลากดเข้าร่วมฯ เนื่องจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ทำให้บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2 หลังคาเรือน และเสียหายบางส่วน 1 หลังคาเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ทั้งนี้เหล่ากาชาดจังหวัดนครนายกได้มอบสิ่งของดำรงชีพเบื้องต้นชุดถุงยังชีพ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าและเงินช่วยเหลือ จำนวน 2,000 บาทให้กับผู้ประสบภัย พร้อมทั้งกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจความเสียหายและพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบราชการต่อไป

สมบัติ เนินใหม่//รัชชานนท์ เนินใหม่// ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครนายก

จันทบุรี-คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ภาคตะวันออกลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรีติดตามความคืบหน้าโครงการสาธารณูปโภค และติดตามผลสัมฤทธิ์โครงการ ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี

จันทบุรี-คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ภาคตะวันออกลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรีติดตามความคืบหน้าโครงการสาธารณูปโภค และติดตามผลสัมฤทธิ์โครงการ ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี

วันนี้ ( 2 มี.ค.66 ) ที่บริเวณสถานที่ก่อสร้างโครงการปรับปรุงทางแยกจุดตัดท่าจุ้ย อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร เลขานุการคณะกรรมาธิการ และประธานคณะอนุกรรมาธิการ คณะที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และรองประธานคณะกรรมการ คนที่หนึ่งโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกนำคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนภาคตะวันออก ลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยได้ติดตามแผนแม่บทภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัลของจังหวัดจันทบุรีโครงการปรับปรุงทางแยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 3 กับทางหลวงหมายเลข 3152 แยกท่าจุ้ย เข้าอำเภอท่าใหม่ หลังจากนั้นคณะได้แยกเป็น 2 ชุด โดยที่ที่ห้องประชุมตากสิน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน กรรมาธิการและประธานคณะอนุกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา นำคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนภาคตะวันออก ประชุมร่วมกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม โดยนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีนำหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมและบรรยายสรุปนำเสนอบทบาทอำนาจหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย หรือ ศส.ปชต.พร้อมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และรับทราบข้อคิดเห็นแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อน ศส.ปชต. และ ท้องถิ่นจังหวัดชี้แจงการใช้จ่ายเงินอุดหนุน
ส่วนที่ห้องประชุมพลอยจันท์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร เลขานุการคณะกรรมาธิการ และประธานคณะอนุกรรมาธิการ คณะที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง

และรองประธานคณะกรรมการ คนที่หนึ่งโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกนำคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนภาคตะวันออก โดยนายธวัชชัย นามสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีนำหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคมร่วมประชุมนำเสนอแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดจันทบุรี / ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนเส้นเขาไร่ยา – แพร่งขาหยั่ง เส้นโป่งน้ำร้อน ติดตามประเด็นการต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบของจังหวัดจันทบุรี
โอกาสนี้ คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ภาคตะวันออกได้ติดตาม และให้ข้อเสนอแนะความร่วมมือชายแดน การป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านความมั่นคง และติดตาม ผลสัมฤทธิ์โครงการ ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี รับทราบประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจันทบุรี อาทิ ยกระดับศักยภาพการผลิต แปรรูป และเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม / ยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับรวมทั้งผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีมูลค่าสูง ตามอัตลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรี / ยกระดับพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนให้ได้มาตรฐาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและความปลอดภัยสูง / ยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ที่เน้นคุณค่าอัตลักษณ์ และความยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองและพื้นที่ชนบทให้มีความเหมาะสมสาหรับอยู่อาศัยและพักผ่อน ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัย เป็นต้น

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์รวมข่าวภาคตะวันออก

ราษฎรต่างพากันไปเช็คสิทธิ์บัตรประชารัฐจนระบบธนาคารล่มหลายชั่วโมง

ราษฎรต่างพากันไปเช็คสิทธิ์บัตรประชารัฐจนระบบธนาคารล่มหลายชั่วโมง

สืบเนื่องจากที่ทางรัฐบาลได้ประกาศว่าประชาชนที่ถือครองบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้งรายเก่าและรายใหม่ สามารถเช็คสิทธิ์ของตัวเองได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไปที่ธนาคารของรัฐทุกสาขาว่าตนเองยังมีสิทธิ์ได้ใช้หรือไม่ ส่วนผู้ที่มีบัตรเก่าอยู่แล้วสามารถใช้ได้ถึงสิ้นเดือนเมษายน 2566 ส่วนบัตรรุ่นใหม่จะเปิดให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนเมษายน 2566 เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปร่วมสังเกตการณ์ยังธนาคารทั้ง3 สาขา เช่นธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคาร ธกษ. ธนาคารเพื่อการเกษตร ในเขตพื้นที่อำเภอขุนยวม ปรากฏว่าได้มีราษฎรผู้ที่มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการของรัฐทั้งพื้นที่ราบและกลุ่มชาติพันธ์ที่ลงมาจากดอย มานั่งคอยและต่อแถวกันยาวเหยียดเพื่อรับบัตรคิวจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร บ้างก็สมหวังบ้างก็ผิดหวัง จนทำให้ระบบของทางธนาคารล่มไม่สามารถทำการแสกนใบหน้าจากบัตรประชาชนได้ นั่งรอจนอดข้าวอดน้ำ เด็กหนุ่มรายหนึ่งอาศัยอยู่ตัวคนเดียวหลังจากที่ได้ให้เจ้าหน้าที่เช็คสิทธิของตัวเองและทราบว่าผ่านการตรวจสอบดีใจมากได้กล่าวว่าขอบขอบคุณทางรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือคนยากคนจนและขอบคุณท่านากยกมากมากครับ
ในขณะที่ผู้สื่อข่าวกำลังเก็บภาพราษฎรที่มาในทางธนาคารตรวจเช็คสิทธิ

ได้ถูกเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย สาขาขุนยวม รายหนึ่ง ทราบภายหลังว่าทางสำนักงานใหญ่ภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ได้ส่งมาเพื่อสมทบกำลังเจ้าหน้าที่ ที่ได้ลาออกไปจำนวน 3 รายได้ขอร้องไม่ให้ผู้สื่อข่าวช่างภาพบันทึกภาพแถมยังถามว่าขอดูบัตรผู้สื่อข่าวอีกด้วย ไม่ทราบว่าการเช็คสิทธิทะเบียนคนจน(บัตรประชารัฐ)ของราษฎรเป็นความลับไม่อยากให้ทางรัฐบาลได้รับทราบความเคลื่อนไหวหรืออย่างไรจึงมาขอร้องไม่ให้บันทึกภาพแถมยังขอตรวจดูบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวอีกด้วย งง ครับ.

เกียรติศักดิ์ รักสัตย์ / เกียรติยศ รักสัตย์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาพ-ข่าว

จังหวัดมุกดาหารจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และงานวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2566

จังหวัดมุกดาหารจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และงานวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 เวลา 8:30 น นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารเป็นประธานในพิธีถวายเครื่องราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิเบศร มาหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และงาน “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2566” โดยมีส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมพิธี ที่หอประชุม 250 ปีจังหวัดมุกดาหาร

ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ในการถวายพระราชสมัญญา พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย”เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย และทรงพระปรีชาสามารถด้านการช่าง รวมทั้งทรงให้ความสำคัญในการพัฒนาฝีมือแรงงานของช่างไทยให้มีความเป็นมาตรฐาน และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ในการเสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพ และการแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2513 ณ ลุมพินีสถาน จึงได้กำหนดให้วันที่ 2 มีนาคมของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ.

Cr.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com