google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

คณะกมธ.คมนาคม วุฒิสภา จัดพิธีลงนาม MOU “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการการจราจรและขนส่ง” ระหว่าง 3 หน่วยงาน แก้ปัญหาจราจรในเขตกทม. และปริมณฑล

(newspaper) คณะกมธ.คมนาคม วุฒิสภา จัดพิธีลงนาม MOU “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการการจราจรและขนส่ง” ระหว่าง 3 หน่วยงาน แก้ปัญหาจราจรในเขตกทม. และปริมณฑล

.
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ 406-407 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) คณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการการจราจรและขนส่ง” ระหว่าง กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการ และสมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยนางสาวนภาภรณ์ ใจสัจจะ เลขาธิการวุฒิสภา นายประพาส เหลืองศรินภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร พลตำรวจตรี จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รศ.ประดนเดช นีละคุปต์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วม
.
ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ปัจจุบันระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (ITS) ได้นำมาใช้อย่างกว้างขวางในประเทศต่าง ๆ มีการศึกษาถึงประโยชน์ว่าระบบ ITS สามารถแก้ปัญหาจราจรได้ จึงเชื่อว่าการจราจรและขนส่งของประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและเมืองใหญ่ในภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาการจราจรติดขัด จะได้มีการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาให้มีการจราจรขนส่งที่มีคุณภาพดีขึ้นด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการจราจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โอกาสนี้ ได้แสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการการจราจรและขนส่ง เชื่อมั่นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้เดินทางและจะนำพาไปสู่การแก้ไขปัญหาจราจรได้อย่างยั่งยืนต่อไป

.
พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร ซึ่งที่ผ่านมาได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการพิจารณาศึกษามาตรการ แก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา การบริหารจัดการจราจร โดยใช้ระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (ITS) โดยศึกษาและทบทวนแนวทางการพัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมศึกษาการพัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน องค์กรทางสังคม และภาคประชาชน สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในครั้งนี้ เพื่อจะร่วมมือกันในการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัย การพัฒนา และการนำระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com