google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สุดยอด คิดค้น นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบใหม่สำเร็จ “ครั้งแรกในประเทศไทย”

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สุดยอด คิดค้น นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบใหม่สำเร็จ “ครั้งแรกในประเทศไทย”

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ “เทคฟันด์ เจ๋ง” ให้ทุนสนับสนุนผลิตภัณฑ์พรี-ไอออนิคส์ นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบใหม่สำเร็จ “ครั้งแรกในประเทศไทย” สามารถปรับสูตร N-P-K ในระดับโมเลกุลได้อย่างแม่นยำตามความต้องการของพืชอย่างที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่เคยมีมาก่อน ชี้คือ BCG Model
เชียงใหม่ / ที่ มหาวิทยาลัแม่โจ้ (ตึกสาขาพืชผัก) รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ เทคฟันด์ ลงพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามโครงการพรี-ไอออนิคส์ (Pre-ionics) : ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยไฮโดรอินทรีย์แม่นยำ” บริษัททิวา อินโนเวท จำกัด ที่เทคฟันด์ ให้ทุนสนับสนุน

รศ.ดร.พาสิทธิ์ กล่าวว่า โครงการพรี-ไอออนิคส์ (Pre-ionics) : ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยไฮโดรอินทรีย์แม่นยำ” ที่เทคฟันด์ ให้การทุนสนับสนุนเป็นความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) ดูแลในการสร้างนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบใหม่ ทำให้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถปรับสูตร N-P-K ในระดับโมเลกุลได้อย่างแม่นยำตามความต้องการของพืช อย่างที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่เคยมีมาก่อน โดยแนวคิดการสร้างนวัตกรรมนี้อยู่บนพื้นฐานของ BCG Model ในส่วนของ Circular Economy เลือกใช้วัตถุดิบจากของเหลือทิ้งทางการเกษตร และอุตสาหกรรมประมง เช่น เหง้ามันสำประหลัง มะนาวตกเกรด กระดูกปลาทูน่า กากถั่วเหลือง เป็นต้น นำมาผลิตด้วยเทคโนโลยีการสกัด และคัดแยกเฉพาะโมเลกุลไอออนของธาตุอาหารพืช โดยไม่ต้องรอการย่อยสลายจากจุลินทรีย์อีกต่อไป ด้วยนวัตกรรมการผลิตแบบใหม่นี้ทำให้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เร็วกว่าการหมักแบบเดิมมากถึง 10 เท่า อีกทั้ง น้ำปุ๋ยที่ได้ยังไร้กลิ่นเหม็น ซึ่ง พรี-ไอออนิคส์ บางสูตรกลับมีกลิ่มหอมอีกด้วย จึงทำให้พรี-ไอออนิคส์ ใช้งานได้ง่าย เหมาะสมต่อการปลูกพืชอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ได้ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งระบบไฮโดรโปนิกส์ และการปลูกพืชโดยใช้ดิน หรือวัสดุเพาะปลูกทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยเคมีทั่วไป

ด้านนายทิวา จามะรี กรรมการผู้จัดการบริษัทบริษัท ทิวา อินโนเวท กล่าวว่า เดิมบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้เทคโนโลยี Plant factory ส่งขายในตลาดโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) แต่ต้องพบกับปัญหาการปฏิเสธการเลือกซื้อผักไฮโดรโปนิกส์ของกลุ่มลูกค้า Organic food เพียงเพราะความกังวลใจถึงความไม่ปลอดภัยจากการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกผัก ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นกับผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทยทั้งหมด
“ บริษัทฯ และ รศ.ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในการคิดค้นนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์รูปแบบใหม่ จึงพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ ที่จะเข้ามาทดแทนปุ๋ยเคมีในระบบไฮโดรโปนิกส์ เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับฟาร์มผักไฮโดรโปรนิกส์เป็นฟาร์มผักอินทรีย์ และเกิดโอกาสในการขยายตลาดไปยังกลุ่มตลาด Organic food ได้ รวมถึงการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ที่มีเป้าหมายในการยกระดับประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการผลิตผักให้กับเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ต่าง ๆ ด้วย จนประสบความสำเร็จในการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ที่มีความแม่นยำในการปรับปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ในระดับไอออนได้ อย่างที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่เคยมีมาก่อน และสามารถนำมาปลูกผักในระบบไฮโดรโปนิกส์ทั้งในระดับครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมได้ไม่แพ้กับการใช้ปุ๋ยเคมีแบบดั้งเดิม จึงทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “พรี-ไอออนิคส์”

ซึ่งเป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จของเทคโนโลยีปุ๋ยอินทรีย์ ที่เกษตรกรอินทรีย์ไทยควรมี” นายทิวา กล่าว
สำหรับผลิตภัณฑ์พรี-ไอออนิคส์ได้ผ่านการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ภายใต้โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) ในโปรแกรม“การพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจนวัตกรรม (Ideation Incentive Program) ประจำปี 2563 ทำให้ได้แนวคิดถึงความเป็นไปได้ในการสร้างธุรกิจจากงานวิจัยนี้ และต่อยอดไปยังการได้รับสนับสนุนทุนอีกหนึ่งทุน คือโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup ) ในโปรแกรม Proof of Concept (POC) ประจำปี 2564 จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดจริงได้อย่างมีศักยภาพ จนกระทั่งเกิดการวางจำหน่ายในท้องตลาดจริง และได้เข้าร่วมการแข่งขันในโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ประจำปี 2564 (Research to Market – R2M Thailand 2021) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งในระดับภาคเหนือ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในระดับประเทศ รวมถึงการได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขา “The Best of Adapting innovation and technology to solve problems” ในงาน Chiang Mai Startup Day 2021.

ทรงวุฒิ ทับทอง

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com