google.com, pub-2709829493138336, DIRECT, f08c47fec0942fa0

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการ เดินทางลงพื้นที่ติดตามวิถีชีวิตของชาวมอญ

วันที่ 30 ตุลาคม 2564 เวลา 08.45 นาฬิกา ณ หมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส จังหวัดราชบุรี คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา วุฒิสภา นำโดย

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการ เดินทางลงพื้นที่ติดตามวิถีชีวิตของชาวมอญ โดยมี นางอภิคณา ทองเหลือ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 บ้านมอญห้วยน้ำใส และนางศรีสุดา สุภาพพรชัย คณะทำงานชุมชน ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งให้ข้อมูลประวัติความเป็นมา ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวมอญในหมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส มีประชากรประมาณ 70 ครัวเรือนใช้ภาษาไทยและภาษาพื้นบ้านชาวมอญเป็นภาษาในการสื่อสาร หมู่บ้านแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งใหม่ มีกิจกรรมไฮไลท์

คือ การตักบาตร การรำของชาวมอญและการร่อนแร่ ในช่วงวันหยุดจะมีตลาดจำหน่ายอาหารไทยมอญ และผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยหมู่บ้านแห่งนี้เพิ่งเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ไม่นาน ชาวมอญจึงยังต้องปรับตัวในการต้อนรับนักท่องเที่ยวต่อไป
.
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการจะได้นำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ประกอบการพิจารณาตามหน้าที่และอำนาจ และจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภาและรัฐบาลโดยลำดับต่อไป

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

สว.ลงพื้นที่ให้กำลังใจและเยี่ยมชมเกษตรแปลงใหญ่(ลำไย) ณ พื้นที่ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

สว.ลงพื้นที่ให้กำลังใจและเยี่ยมชมเกษตรแปลงใหญ่(ลำไย) ณ พื้นที่ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

วันที่ 30 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ ศูนย์เกษตรแปลงใหญ่ลำไย หมู่ที่ 7 ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนล่าง) นำโดย พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง พร้อมด้วยสมาชิกวุฒิสภา และนางรุ่งรัตนา บุญ-หลง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นและพบปะหัวหน้าส่วนราชการและเกษตรกรสวนลำไย โดยมี นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ให้การต้อนรับ และร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน

.
โดยมีประเด็นข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นของตัวแทนเกษตรกร คือ การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ลำไย ที่ชุมชนขอให้ช่วยประสานเรื่องการประกันราคาลำไยเพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำเกินไป และแหล่งรับซื้อเมื่อผลผลิตออกสู่ท้องตลาดขาดผู้รับซื้อทำอย่างไรจะสามารถแปรรูปลำไยเพื่อสร้างมูลค่าได้ อีกประการหนึ่งเกษตรกรบางส่วนไม่สามารถเข้ารับการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ลำไยได้เพราะเหตุมีข้อจำกัดในคุณสมบัติเรื่องที่ดินเป็น สปก. ซึ่งไม่ตรงตามที่ราชการกำหนด จึงขอให้มีการช่วยเหลือแนะนำพร้อมทั้งสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจังเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีมีคุณภาพของเกษตรกรสวนลำไย
.
จากนั้น คณะเข้าเยี่ยมชมสวนลำไยของสมาชิกในกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ จากการลงพื้นที่ครั้งนี้นั้น ประชาชนให้ความสนใจและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างดี คณะจะได้รวบรวมและดำเนินการตามกลไกของกฎหมายตามหน้าที่และอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาต่อไป

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (ตสร.)

วันที่ 29 ตุลาคม 2564 ระหว่างเวลา 10.00 – 16.00 นาฬิกา ณ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (ตสร.) ด้านสาธารณสุข ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา เดินทางลงพื้นที่ศึกษาดูงาน

โดยมี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และบุคลากรด้านสาธรณสุขในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ให้การต้อนรับ พร้อมร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปเขตสุขภาพ (Sandbox) เขตสุขภาพนำร่อง โดยเฉพาะการจัดระบบบริการในพื้นที่เขตสุขภาพให้มีระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการคล่องตัวและการร่วมรับผิดชอบ โดยพบว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ได้เคยดำเนินการบริหารจัดการการให้บริการของสถานบริการภายในจังหวัดในลักษณะคณะกรรมการบริหารจัดหวัดเชียงราย (Chiangrai Service Provider Board) ในลักษณะเดียวกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปางที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งการบริหารจัดการในลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดผลเชิงบวกในทางปฏิบัติ เช่น การส่งเสริมให้โรงพยาบาลชุมชน มีศักยภาพในการผ่าตัดบางกรณี โดยไม่ต้องส่งต่อเข้ามายังโรงพยาบาลจังหวัด หรือการสร้างกองทุนร่วมจังหวัด เพื่อใช้งบประมาณสำหรับการจัดหายา และการตรวจพิเศษ แต่ขณะเดียวกันก็พบปัญหาและอุปสรรคที่อาจส่งผลต่อการดำเนินการ เช่น ฝ่ายการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงอาจจะไม่สนับสนุนการดำเนินการที่ผ่านมา

.
โอกาสนี้ คณะกรรมาธิการ และอนุกรรมาธิการ ตสร. ด้านสาธารณสุข ได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิรูปเขตสุขภาพนำร่องว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 ควรจัดตั้งทีมงานศึกษาวิจัย ระหว่างการดำเนินการ (Action Research) การปฏิรูปเขตพื้นที่นำร่อง (Sandbox) โดย อนุกรรมาธิการ ตสร. ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา พร้อมประสานความร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้าเพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบบริการจัดการที่เกี่ยวข้องกับกรอบอัตรากำลัง กรอบอัตราค่าตอบแทน หรือการกระจายทรัพยากร เช่น ยา ไปแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจจะต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคเอกชน ตลอดจนการเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังควรศึกษากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การกำหนดข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2564

วันที่ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 16.00 นาฬิกา ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2564

ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

รมว.แรงงาน มอบ ผู้ช่วยฯ ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการปฏิรูประบบสาธารณสุข Big Rock 1 อำนวยความสะดวกผู้ประกันตน

รมว.แรงงาน มอบ ผู้ช่วยฯ ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการปฏิรูประบบสาธารณสุข Big Rock 1 อำนวยความสะดวกผู้ประกันตน

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ร่วมงานแถลงข่าวความร่วมมือการปฏิรูประบบสาธารณสุข Big Rock 1 จัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขรวมถึงโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม
วันที่ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ร่วมงานแถลงข่าวความร่วมมือการขับเคลื่อน
แผนการปฏิรูประบบสาธารณสุข Big Rock 1
“ยุติโรคระบาดด้วยนวัตกรรม โดยการเชื่อมต่อ
ฐานข้อมูลสาธารณสุขแบบบูรณาการ” ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ โรงแรมบัดดี้ โอเรียนทอล ริเวอร์ไซต์ นนทบุรี โดย นายสุรชัย กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงแรงงานพบว่าระบบการบริหารจัดการด้านฐานข้อมูลผู้ประกันตน และฐานข้อมูลนายจ้างนั้นยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องปรับปรุง แก้ไข รวมถึงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย ด้านการบริการ รวมถึงด้านการเบิกจ่ายต่างๆ การมีฐานข้อมูลและระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการให้บริการประชาชน ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว เกิดความพึงพอใจ และท่านต่อการรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น

นายสุรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การปฏิรูประบบประเทศด้านสาธารณสุข Big Rock 1 ภายใต้โครงการ “ยุติโรคระบาดด้วยนวัตกรรม โดยการเชื่อมต่อฐานข้อมูลสาธารณสุขแบบบูรณาการ (Ending Pandemics through Innovation Program)” ถือได้ว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง หากสามารถดำเนินงานได้ตามแผนงานที่ทุกท่านร่วมหารือกันในวันนี้ จนสามารถพัฒนาและขับเคลื่อนได้สำเร็จ หากฐานข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้รับประโยชน์และการอำนวยความสะดวกต่างๆ สามารถใช้สิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลข้ามสถานพยาบาลได้ การเบิกจ่ายก็จะเป็นไปได้อย่างง่ายดาย มีประสิทธิภาพ สามารถนำฐานข้อมูลต่างๆ มาช่วยปรับปรุงการบริการและสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลได้ในอนาคตตามนโยบายการปฏิรูปและการบูรณาความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน
“กระผมในฐานะผู้แทนกระทรวงแรงงาน ขอขอบคุณ ทั้ง 4 กระทรวงที่ร่วมมือกันในการขับเคลื่อนแผนงานดังกล่าว และเชื่อว่าการดำเนินงานในครั้งนี้ จะสามารถขยายผลและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆ ต่อไปในอนาคต” นายสุรชัย กล่าวในตอนท้าย

สมาคมสื่อมวลชนศรีราชาจัดงานวันสถาปนาครอบรอบ 14 ปี ทำบุญเลี้ยงเพลพระ แจกข้าวกล่องผู้ประสบภัยโควิด-19 เลี้ยงอาหารสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง

สถาปนาสมาคมสื่อมวลชนศรีราชา ครบ 14 ปี

สมาคมสื่อมวลชนศรีราชาจัดงานวันสถาปนาครอบรอบ 14 ปี ทำบุญเลี้ยงเพลพระ แจกข้าวกล่องผู้ประสบภัยโควิด-19 เลี้ยงอาหารสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง

วันที่ 31 ต.ค.64 มีรายงานว่า สมาคมสื่อมวลชนศรีราชา นำโดย นายไพบูลย์ เสริมศาสต์ นายกสมาคม พร้อมสมาชิก ได้ร่วมกันจัดงานกิจกรรมเนื่องในวันสถาปนาสมาคมสื่อมวลชนศรีราชา ครบรอบ 14 ปี

โดยในช่วงเช้าได้จัดพิธีทำบุญเลี้ยงเพลพระ ที่สำนักสงฆ์เขาบรมพุทโธ ก่อนที่ทางสมาชิกสมาคมจะร่วมกันแจกจ่ายข้าวกล่องรวมใจ สู้ภัยโควิด-19

ให้กับผู้พบเห็น เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 รวม 30 กล่อง

จากนั้น ทางคณะสมาคมสื่อมวลชนศรีราชาได้เดินทางมามอบเครื่องใช้และสิ่งจำเป็นให้กับทางสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง ไว้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปด้วย

อาสาร่วม200 คนตามหาแม่ชีหายจากวัดป่า2วัน

อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
นายสำราญ แสงสงค์ ข่าว
อาสาร่วม200 คนตามหาแม่ชีหายจากวัดป่า2วัน

31 ตุลาคม 2564
นายอุทัย สอนจีน ปลัดอาวุโส อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ รับแจ้งว่ามีแม่ชีซึ่งเป็นคนมาปฏิบัติธรรมที่วัดถ้ำผาผึ้ง วัดป่าธรรมยุต หมู่ที่ 11 บ้านถ้ำผาผึ้ง ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ แล้วหายไปจากวัด ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2564 ช่วงตอนเย็น จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ยังหาไม่พบ ในเวลานี้มีกำนันผู้ใหญ่บ้านหนองบัว ชาวบ้านหน่วยกู้ภัย เทศบาลหนองบัว เทศบาลไชยปราการ มูลนิธิสงเคราะห์เชียงหม่จุดฝาง เหยี่ยวแดง นะทุกหน่วย ฝาง ไชยปราการ และเหยียวแดงปกครอง อาสาสมัคร และทหารกองบังคับการควบคุมที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 4 กองกำลังผาเมือง(บก2 ฉกม4 ผาเมือง) ร่วมในพื้นที่จำนวนประมาณ 200 คน ได้ตามหา ยังไม่พบ ทางพระอธิการวันทีปิยะวัณโน เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาผึ้ง ได้กล่าวว่า แม่ชีพรรณ อายุ 56 ปีคนบ้านหนองบัว หมู่ที่ 3 อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดได้ประมาณ 3 เดือนเศษ ตั้งแต่เริ่มเข้าพรรษา จนถึงออกพรรษา และได้อดอาหารปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 7 วัน และได้ออกมาขออาหารจากแม่ชีอีกท่านหนึ่งเพื่อรับประทานในเย็นวันที่ 28 ตุลาคม 2564 และได้เล่าว่าในการปฏิบัติธรรมได้มีวิญญานมารบกวนทั้ง 7 วัน ซึ่งแม่ชีพรรณจะต้องปฏิบัติธรรมเพิ่มเพื่อบำเพ็ญบุญให้วิญญาณเหล่านั้น จากนั้นก็หายไปชาวบ้านญาติพี่น้องได้ตามหาไม่พบ จึงได้แจ้งให้ทางนายทองวัน กิติแก้ว กำนันตำบลหนองบัวทราบเพื่อติดต่อทางส่วนราชการและหน่วยงานกู้ภัย ทหารชาวบ้านตามหาช่วยกัน และยังมีจิตอาสาไชยปราการได้นำเอาโดรนมาบินตามหาอีกแรง ส่วนทางญาติพี่น้องแม่ชีพรรณ เปรมจิต ได้นำอาหารน้ำดื่มมาช่วยสมทบให้กับทางอาสาสมัครค้นหาที่มาร่วมตามหาค้นหาแม่ชี

ในเวลานี้ทุกคนทุกฝ่ายได้ลงมาที่วัดเพื่อตั้งกำลังผสมและทางนายอุทัย สอนจีน ปลัดอาวุโส อำเภอไชยปราการ นายวิชาญ จันทร์พุธ สจ ไชยปราการ นายจักรชัย ใจหนัก หัวหน้ากู้ภัยเทศบาลไชยปราการ ร่วมกับหน่วยอาสาฯกู้ภัย พร้อมทหารได้นั่งวางแผนร่วมกัน และได้ออกตามหาอีกรอบ ในแต่ละเส้นทางที่คิดว่าแม่ชีได้เดินหลงไปในป่า แต่มีคนพบเอกสารแจ้งถ้าแม่ชีตายให้ปฏิบัติเอาร่างกายส่งโรงพยาบาลเป็นครูใหญ่ด่วนและมอบเงินให้ญาติตามที่เขียนมานี้ ให้ญาติ แล้วทำบุญให้พ่อแม่ที่ตายไปแล้วและส่งทำบุญวัดหลวงตาบัว ซึ่งก็เป็นปริศนาว่าถ้าลาตายแล้วหนีไปไหนเพื่ออะไร แต่ทราบจากทางญาติๆที่ตามหาว่าแม่ชีมีปัญหาทางสมองมาก่อน คณะค้นหาออกตามรอบที่สอง และจะกลับมารวมอีกครั้งในเวลา 1600น เพื่อนับจำนวนผู้ค้นหา ถ้าไม่พบพรุ่งนี้ออกค้นหาต่อ

ร้อยเอ็ดประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดร้อยเอ็ด

ร้อยเอ็ดประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดร้อยเอ็ด

/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0957579184-ข่าว

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 10.30 น. นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดร้อยเอ็ด ณ ห้องประชุมพระเวสสันดร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี นายสนอง ดลประสิทธิ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด , นายภิเด่น พงศ์อุดมสุข รักษาราชการแทนปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด , หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม

นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ขณะนี้พี่น้องชาวเกษตรกรของจังหวัดร้อยเอ็ดประสบปัญหาโรคระบาดในสัตว์ ลัมปีสกิน ซึ่งทำให้สัตว์เลี้ยงวัวควายของพี่น้องเกษตรกรเสียชีวิต โดยจะได้รับการจ่ายค่าชดเชย ในช่วงแรกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ช่วยเหลือเยียวยา แต่เนื่องจากภาวะการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อจำกัด ทำให้เกิดความช่วยเหลือได้ไม่เต็มอัตราที่กรมปศุสัตว์กำหนดไว้ ในเรื่องนี้ก็มีหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
ฉะนั้นวันนี้เป็นการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เห็นได้ว่ามีค่าใช้จ่ายที่ท้องถิ่นจ่ายยังไม่ถึงอัตราที่กรมปศุสัตว์กำหนด และส่วนหนึ่งกรมปศุสัตว์ยินดีที่จะช่วยเหลือ แต่จากกระบวนการช่วยเหลือต้องทำผ่านทางคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉินระดับอำเภอ ระดับจังหวัด โดยวันนี้ได้เริ่มต้นขออนุญาต ขอประกาศภัย ตั้งแต่วันที่เกิดโรคระบาดลัมปีสกินในพื้นที่ของจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีข้อจำกัดทางด้านระเบียบปฏิบัติอยู่ว่า เราประกาศภัยเกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิดการระบาดไม่ได้ ต้องไปขอยกเว้นระเบียบ
วันนี้จึงนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมของ กชภจ คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด เพื่อพิจารณาขอดำเนินการยกเว้นหลักเกณฑ์การปฏิบัติกับกรมบัญชีกลางของกระทรวงการคลัง หากได้รับอนุมัติแล้ว เราจะได้ดำเนินการสำรวจความเสียหายในส่วนต่างที่ต้องเร่งช่วยเหลือ แล้วส่งต่อให้ทางกรมปศุสัตว์ สำรวจความเสียหาย ให้กรมปศุสัตว์ใช้เงินงบกลางดำเนินการช่วยเหลือในส่วนต่างตรงนี้ต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับด้านปัญหาอุทกภัย ได้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ขณะนี้เชื่อว่าน้ำจากจังหวัดมหาสารคามได้ท่วมเข้าพื้นที่ของจังหวัดร้อยเอ็ดครบสมบูรณ์แล้ว แต่ระดับน้ำของทางมหาสารคามกับร้อยเอ็ดยังคงไร่เรี่ยกัน คาดว่ามวลน้ำก้อนแรกน่าจะลงไปถึงจังหวัดยโสธรเพราะระดับน้ำในลำน้ำชีที่ยโสธรก็สูงขึ้นแล้ว และในพื้นที่ของจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 8 อำเภอ ระยะทาง 210 กิโลเมตร ที่น้ำชีไหลผ่าน เชื่อว่ามวลน้ำเริ่มเคลื่อนตัวลงสู่ด้านล่างของร้อยเอ็ดแล้ว จุดใหญ่ที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ พื้นที่อำเภอจังหาร เนื่องจากมีพี่น้องประชาชนในชุมชนมีที่อยู่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำชีนอกผนังกั้น ก็จะเกิดภาวะน้ำท่วมบ้านชั้นล่าง ชั้นบนยังอาศัยอยู่ได้
เราได้ก็ติดตามให้ความช่วยเหลือดูแล และอีกส่วนคือน้ำไม่ท่วมบ้านแต่ท่วมทางเข้าออกทำให้การคมนาคมสัญจรในชีวิตประจำวันถูกตัดขาด ก็ได้ช่วยเหลือในเรื่องของยานพาหนะในการเดินทางเข้าออก ช่วยเหลือในเรื่องการอุปโภคบริโภค เครื่องยังชีพต่างๆ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวก ดูแลความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตของพี่น้องชาวร้อยเอ็ด ต่อไป

/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0957579184-ข่าว

Cr.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด

ปทุมธานี พุทธศาสนิกชนร่วมบุญทอดกฐินเทคอนกรีตฐานอุโบสถวัดสายสุวรรณ

ปทุมธานี พุทธศาสนิกชนร่วมบุญทอดกฐินเทคอนกรีตฐานอุโบสถวัดสายสุวรรณ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ที่วัดสายสุวพรรณ ตั้งอยู่ถนนเลียบคลองแอล 3-4 ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พุทธศาสนิกชนร่วมบุญทอดกฐินสามัคคี ประจำปี พ.ศ.2564 และพิธีเทคอนกรีตปิดฐานรากอุโบสถวัดสายสุวพรรณ โดยมีพระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต พระอารามหลวง ประธานอนุกรรมการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ส่วนกลาง ฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม ประธานดำเนินงานก่อสร้างอุโบสถวัดสายสุวพรรณ เป็นประธานสงฆ์ มีคณะเจ้าภาพประธานกฐิน จำนวน 10 คณะ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต ผู้นำท้องถิ่น พ่อค้านักธุรกิจภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงานในบริเวณพิธีฯ และผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบซูม (Zoom) โดยพร้อมเพรียงกัน
ภายในงานฯ ยังได้มีการถวายจดหมายจากสมเด็จวะนะสิริมหาเถโร สังฆนายก องค์ที่ 29 แห่งประเทศบังคลาเทศ เจ้าอาวาสวัดจันดาโกน ซาบอจอร์นีน เคนเดรีย พุทธวิหาร แคว้นจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ แด่พระธรรมรัตนาภรณ์ ซึ่งในจดหมายมีใจความตอนหนึ่งว่า “กระผมได้ยินข่าวของท่านอยู่เสมอ ในการอุทิศตนเพื่อเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ถือเป็นนวัตกรรมที่จำเป็นอย่างมากในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน ที่เน้นการเสริมสร้างความสามัคคีและศีลธรรมภายในชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กระผมขอกราบถวายกำลังใจนี้ เพื่อสนับสนุนให้ท่านได้ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาที่แท้จริงสืบไป”
นอกจากนี้ ยังมีพิธีถวายรางวัลศานติปฏิมาแห่งโลก (Global Peace Symbol Award) จาก The Neeraja Universal Peace Foundation ประเทศอินเดีย แด่พระธรรมรัตนาภรณ์ เนื่องในโอกาสอายุวัฒนมงคล 71 ปี (31 ตุลาคม พ.ศ.2564) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบแด่บุคคลที่ดำรงตนเป็นแบบอย่างเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น และเป็นบุคคลซึ่งอุทิศตนเพื่อส่งเสริมสันติภาพโลก ค่านิยมทางศีลธรรม สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง ความร่วมมือทางศาสนา ความสามัคคีระหว่างประเทศ สื่อสาธารณะที่มีความรับผิดชอบ และการสถาปนาวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ

สำหรับอุโบสถวัดสายสุวพรรณที่พุทธศาสนิกชนได้รวมศรัทธาทอดกฐินสามัคคีเพื่อดำเนินการก่อสร้างนี้ เป็นอุโบสถ 2 ชั้น ขนาดภายในโถงอุโบสถชั้น 2 กว้าง 15 เมตร ยาว 33 เมตร รวมพื้นที่ระเบียง และลานเวียนประทักษิณรอบอุโบสถ กว้าง 42 เมตร ยาว 85.6 เมตร ส่วนชั้น 1 ใต้อุโบสถเป็นห้องปฏิบัติธรรม กว้าง 30 เมตร ยาว 48 เมตร เพดานสูง5 เมตร ชั้น 1 ของอุโบสถ มีพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยแบบอเนกประสงค์ร่วม 1,500 ตารางเมตร ความสูงอุโบสถ 2 ชั้นรวม 24.8 เมตร สถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยประยุกต์ โดยตัดทอนรายละเอียดเพื่อให้ดูแลรักษาง่าย แต่ยังคงอัตลักษณ์ที่สำคัญทางพุทธศิลป์ เน้นหลักความแข็งแรง คงทน เรียบง่าย แต่สง่างาม รูปแบบหลังคาเป็นทรงจั่วโค้งซ้อนกัน 3 ชั้น ซึ่งความคืบหน้าในการก่อสร้างปัจจุบัน ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญเป็นประธานทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสร้างเสารองรับโรงอุโบสถ โดยสอบถามข้อมูลได้ที่พระธรรมรัตนาภรณ์ ประธานดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดสายสุวพรรณ โทร. 02-533-1120 ถึง 1 หรือร่วมทำบุญผ่านช่องทางโอนปัจจัยเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี วัดสายสุวพรรณ เลขที่บัญชี 028-716099-8.

สญชัย คล้ายแก้ว รายงาน

ร้อยเอ็ดไม่มีผู้เสียชีวิตต่อเนื่องพบผู้ติดเชื้อโควิด19 เพิ่มขึ้น 36 รายในจว.27รายต่างจว.9ราย ยอดผู้ติดเชื้อสะสม 12,550 รายรักษาหายเพิ่ม 20 ราย กำลังรักษาอยู่ 285 ราย เสียชีวิตสะสม 107 ราย

ร้อยเอ็ดไม่มีผู้เสียชีวิตต่อเนื่องพบผู้ติดเชื้อโควิด19 เพิ่มขึ้น 36 รายในจว.27รายต่างจว.9ราย ยอดผู้ติดเชื้อสะสม 12,550 รายรักษาหายเพิ่ม 20 ราย กำลังรักษาอยู่ 285 ราย
เสียชีวิตสะสม 107 ราย

/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0957579184-ข่าว

สถานการณ์โรคโควิด19 จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2564 รักษาหายเพิ่ม 20 ราย กำลังรักษาอยู่ 285 ราย
เสียชีวิตสะสม 107 ราย พบผู้ติดเชื้อโรคโควิด19 เพิ่มขึ้น 36 ราย ยอดติดเชื้อสะสมรวม 12,550 ราย ซึ่งผู้ติดเชื้อโควิด 19
รายใหม่ เดินทางมาจากต่างจังหวัด 9 ราย (มาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 9 ราย) และเป็น ผู้ติดเชื้อภายในจังหวัดร้อยเอ็ด 27 ราย (สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด19 ในครอบครัว/ซุมชน 26 ราย , ตรวจคัดกรองทหารกองประจำการผลัดที่2 1 ราย)
ใน 11 อำเภอ ดังนี้
1. อำเภอสุวรรณภูมิ 10 ราย -ติดเชื้อภายในพื้นที่ 10 ราย ต.ทุ่งกุลา 7 ราย สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด19 ในครอบครัว/ เพื่อนบ้าน ต.ดอกไม้ 3 ราย สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด19 ในสถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง เก็บตัวอย่างตรวจหาเชื้อครั้งที่ 2
2. อำเภอโพธิ์ชัย 7 ราย ติดเชื้อภายในพื้นที่ 7 ราย (คลัสเตอร์โรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง)
3. อำเภอเสลภูมิ 6 ราย เดินทางมาจากกรุงเทพฯ 2 ราย มาตรวจที่โรงพยาบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด ผลพบเชื้อโควิด19
– ติดเชื้อใน ต.พรสวรรค์ 4 ราย จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด19 ในครอบครัว เก็บตัวอย่างตรวจหาเชื้อครั้งที่ 2
4. อำเภอจตุรพักตรพิมาน 3 ราย เดินทางมาจากกรุงเทพฯ 3 ราย มาตรวจที่โรงพยาบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด ผลพบเชื้อโควิด19
5. อำเภอเมยวดี 3 ราย เดินทางมาจากกรุงเทพฯ 2 ราย มาตรวจที่โรงพยาบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด ผลพบเชื้อโควิด19
– ติดเชื้อภายในพื้นที่ ต.ชมสะอาด 1 ราย พบผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองทหารกองประจำการผลัดที่ 2

6. อำเภอเมืองร้อยเอ็ด 2 ราย เดินทางมาจาก จ.ฉะเชิงเทรา 1 ราย มีผลตรวจพบเชื้อโควิด19 ขอกลับมารักษา
– ติดเชื้อใน ต. ในเมือง 1 ราย สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด19 ในครอบครัว
7. อำเภอโพนทอง 1 ราย ติดเชื้อใน ต.สระนกแก้ว 1 ราย สัมผัสเสี่ยงสูงจากการรับประทานอาหารร่วมกับผู้ติดเซื้อที่มาจากรุงเทพฯ
8. อำเภอจังหาร 1 ราย ติดเชื้อใน ต. ปาฝา 1 ราย สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในครอบครัว
9. อำเภอธวัชบุรี 1 ราย ติดเชื้อใน ต. อุ่มเม้า 1 ราย สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในครอบครัว
10. อำเภอปทุมรัตต์ 1 ราย เดินทางมาจาก จ.ปราจีนบุรี 1 ราย มาตรวจที่โรงพยาบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด ผลพบเชื้อโควิด19
11. อำเภอหนองพอก 1 ราย ติดเชื้อใน ต. ท่าสีดา 1 ราย สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด19 ในครอบครัว
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
31 ตุลาคม 2564

/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0957579184-ข่าว

Cr.ทองสุข โพนเงิน/กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สสจ.ร้อยเอ็ด/ข้อมูล

Social Media Auto Publish Powered By : XYZScripts.com